ร่องรอยแหล่งตีเหล็กสมัยล้านนา ในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน
//ร่องรอยแหล่งตีเหล็กสมัยล้านนา ในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน//
- เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
.
- ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนักศิลปากรที่ 7เชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโลหกรรมโบราณมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการค้นพบแหล่งถลุงเหล็กโบราณหลายแห่งในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน กระจายตัวเกาะกลุ่มตามสายแร่เหล็ก เช่น กลุ่มดอยเหล็ก และกลุ่มแม่โถ เป็นต้น
.
- หลักฐานที่ปรากฏแหล่งถลุงเหล็กเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 มีความต้องการทรัพยากรเหล็กค่อนข้างมากจนถึงขนาดตั้งถิ่นฐานชุมชนรอบบ่อเหมืองเหล็กโบราณเพื่อผลิตและใช้สอยทรัพยากร
.
- แต่อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการค้นพบแหล่งผลิตเป็นเครื่องมือหรือแหล่งตีเหล็กเลยแม้แต่แหล่งเดียว
.
- กระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทางทีมนักโบราณคดีเริ่มได้ข้อมูลมุขปาฐะพื้นถิ่น เกี่ยวกับชุมชนยุคก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ ทำหน้าที่ผลิตอาวุธเพื่อทำสงคราม ตั้งอยู่พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน
.
- ด้วยความร่วมมือในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และ เครือข่าย อส.มศ. อำเภอเมืองลำพูน ทำให้มีการค้นพบร่องรอยชุมชนตีเหล็กโบราณ ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
.
- การสำรวจทางโบราณคดีบริเวณร่องรอยชุมชนตีเหล็กดังกล่าว พบหลักฐานสำคัญหลายประการ เช่น ตะกรันก้นเตาตีเหล็ก (phano-convex Slag) และหินลับเครื่องมือเหล็กจำนวนมาก กระจายตัวปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนาและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงอย่างหนาแน่น
.
- หลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นถึงร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กขนาดใหญ่ ที่น่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ร่วมสมัยล้านนา ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 นับเป็นการค้นพบร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กโบราณแหล่งแรก ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกกันต่อไปในอนาคต
#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา
- เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
.
- ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนักศิลปากรที่ 7เชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโลหกรรมโบราณมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการค้นพบแหล่งถลุงเหล็กโบราณหลายแห่งในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน กระจายตัวเกาะกลุ่มตามสายแร่เหล็ก เช่น กลุ่มดอยเหล็ก และกลุ่มแม่โถ เป็นต้น
.
- หลักฐานที่ปรากฏแหล่งถลุงเหล็กเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 มีความต้องการทรัพยากรเหล็กค่อนข้างมากจนถึงขนาดตั้งถิ่นฐานชุมชนรอบบ่อเหมืองเหล็กโบราณเพื่อผลิตและใช้สอยทรัพยากร
.
- แต่อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการค้นพบแหล่งผลิตเป็นเครื่องมือหรือแหล่งตีเหล็กเลยแม้แต่แหล่งเดียว
.
- กระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทางทีมนักโบราณคดีเริ่มได้ข้อมูลมุขปาฐะพื้นถิ่น เกี่ยวกับชุมชนยุคก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ ทำหน้าที่ผลิตอาวุธเพื่อทำสงคราม ตั้งอยู่พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน
.
- ด้วยความร่วมมือในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และ เครือข่าย อส.มศ. อำเภอเมืองลำพูน ทำให้มีการค้นพบร่องรอยชุมชนตีเหล็กโบราณ ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
.
- การสำรวจทางโบราณคดีบริเวณร่องรอยชุมชนตีเหล็กดังกล่าว พบหลักฐานสำคัญหลายประการ เช่น ตะกรันก้นเตาตีเหล็ก (phano-convex Slag) และหินลับเครื่องมือเหล็กจำนวนมาก กระจายตัวปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนาและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงอย่างหนาแน่น
.
- หลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นถึงร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กขนาดใหญ่ ที่น่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ร่วมสมัยล้านนา ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 นับเป็นการค้นพบร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กโบราณแหล่งแรก ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกกันต่อไปในอนาคต
#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา
(จำนวนผู้เข้าชม 2218 ครั้ง)