เลี้ยงผีบ่อเหล็ก
// “เลี้ยงผีบ่อเหล็ก” พิธีกรรมโบราณของ “ลัวะทำเหล็กบ้านบ่อหลวง”//
#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา #ลัวะทำเหล็ก #บ้านบ่อหลวง
- เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ
.
- ลัวะ กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของดินแดนล้านนา มีบทบาทสำคัญต่อการก่อกำเนิดรัฐบ้านเมือง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นโดยเฉพาะด้านการทำเหล็ก ดังจะเห็นได้จาก ตำนานพระธาตุดอยตุง ซึ่งระบุว่า ปู่เจ้าลาวจก (ต้นราชวงศ์ของพญามังราย) เป็นผู้นำชาวลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยตุง ที่มี “จก” หรือ “จอบ” (ทำจากเหล็ก) อยู่ในครอบครองถึง 500 เล่ม (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, 2541, น.4) แสดงให้เห็นว่ากลุ่ม ลัวะ มีเทคโนโลยีด้านการถลุงเหล็กที่ก้าวหน้าในยุคนั้น และได้ผลิตเหล็กมาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มคนพื้นราบ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มชนชั้นปกครองในช่วงเวลาต่อมา
.
- การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดีพบว่า ยังคงมีกลุ่มคนลัวะที่สืบทอดองค์ความรู้ด้านการถลุงเหล็กมาจนกระทั่ง 100 ปีที่ผ่านมา คือ กลุ่มลัวะบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า ลัวะบ้านบ่อหลวง มีความรู้เฉพาะด้านการถลุงเหล็กซึ่งเป็นทรัพยากรที่หายากในยุคนั้น จึงเป็นกลุ่มคนที่มีสถานะพิเศษได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน แต่ต้องส่งส่วยเป็น “เหล็ก” ให้แก่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่แทน ส่วยเหล็กจึงเป็นส่วยสำคัญของรัฐและน่าจะมีผลผลิตสูงในยุคนั้น (สรัสวดี อ๋องสกุล, 2559, 94)
.
- จากองค์ความรู้เฉพาะและสถานะทางสังคมที่พิเศษ ส่งผลให้ให้กลุ่มลัวะบ่อหลวง มีพิธีกรรมที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาดังกล่าว คือ พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก ซึ่งในงานศึกษาของ Hutchinson ซึ่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2475 ระบุว่า ลัวะบ้านบ่อหลวงให้ความสำคัญกับการนับถือผีบ่อเหล็ก การประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กจะกระทำกันที่เหมืองซึ่งอยู่ในพื้นที่แม่โถในช่วงเดือน 5 ของทุก ๆ 3 ปี โดยใช้วัวสีครีมตั้งแต่หัวยันหาง เพื่อให้ผีบ่อเหล็กยอมรับเครื่องเส้นไหว้ และชาวลัวะบ้านบ่อหลวงจะยกครอบครัวไปสกัดแร่เหล็กที่แม่โถในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว (Hutchinson, 1934)
.
- ปัจจุบัน ถึงแม้ลัวะบ้านบ่อหลวง จะเลิกการถลุงเหล็กมาไม่ต่ำกว่า 80 ปีแล้ว แต่พิธีกรรมโบราณเลี้ยงผีบ่อเหล็กยังคงกระทำสืบเนื่องกันอยู่ การสัมภาษณ์นายประเสริฐ ทาหล้า กำนันตำบลบ่อหลวง ได้ให้ข้อมูลว่า พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กเป็นเสมือนพันธสัญญาจากบรรพบุรุษ เพื่อตอบแทนผีบ่อเหล็กผู้ดูแลรักษาทรัพยากร ที่ดลบันดาลให้สามารถขุดได้แร่เหล็กได้ในปริมาณมากในอดีต
.
- การลงพื้นที่เก็บข้อมูลของทีมนักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พบว่า การประกอบพิธีกรรมจะกำหนดจัดทุก ๆ 3 ปี การประกอบพิธีกรรมเริ่มต้นโดยผู้เฒ่าชาวลัวะบ้านบ่อหลวงที่เชื้อสายตระกูล "ขุนแก้ว" (ตระกูลผู้นำโบราณของชาวลัวะบ้านบ่อหลวง) ถวายเครื่องเซ่นไหว้ คือ ข้าว ไก่ เหล้า เป็นต้น และบอกกล่าวให้ผีบ่อเหล็ก เตรียมมารับเครื่องสังเวย"ดอกแดง" (วัวตัวผู้ขนสีแดง) ที่จัดไว้ถวาย หลังจากนั้นจะทำการล้มวัวตัวดังกล่าว และแล่เนื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปถวายผีบ่อเหล็กที่มาสื่อสารผ่านร่างทรงบนศาลผีที่ตั้งอยู่กลางดง เมื่อเครื่องสังเวยถูกนำมาตั้งบนศาลผีจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ร่างทรงชาวลัวะจะเชิญผีบ่อเหล็กลงมาประทับร่างเพื่อสื่อสารและรับการสังเวย ซึ่งผีบ่อเหล็กดังกล่าวมีนามว่า "แสงเมือง" หรือ “แสนเมือง” ผีผู้เป็นใหญ่เหนือผีดูแลบ่อเหล็กทั้งหลาย ทำการสื่อสารโดยใช้ “คำเมือง” ไม่ได้ใช้ภาษาลัวะเหมือนที่ร่างทรงเคยพูดอยู่ก่อนหน้า ทั้งนี้หลังจากผีบ่อเหล็กรับเครื่องสังเวยเรียบร้อยแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้ลูกหลานชาวลัวะสอบถามถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของลูกหลานชาวลัวะในช่วงระยะเวลาอีก 3 ปี นับต่อจากนี้ไป หลังจากนั้นจึงให้พรแด่ผู้มาร่วมพิธีกรรมทุกคน ถือเป็นอันเสร็จพิธี
.
- ถึงแม้ในปัจจุบันพิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กของชาวลัวะบ้านบ่อหลวง จะเป็นเพียงประเพณีท้องถิ่นที่กระทำกันเป็นการภายใน แต่ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและความสำคัญสูงยิ่งทั้งในเชิงโบราณคดีและคติชนวิทยา ที่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาเรื่องเหล็กจากโลกยุคโบราณที่เป็นพื้นฐานในการก่อให้เกิดรัฐ บ้านเมือง ซึ่งมีกระทำมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นับเป็นพิธีกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่กี่แห่งในดินแดนล้านนา ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบทอด และรักษาต่อไป
#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา #ลัวะทำเหล็ก #บ้านบ่อหลวง
- เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ
.
- ลัวะ กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของดินแดนล้านนา มีบทบาทสำคัญต่อการก่อกำเนิดรัฐบ้านเมือง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นโดยเฉพาะด้านการทำเหล็ก ดังจะเห็นได้จาก ตำนานพระธาตุดอยตุง ซึ่งระบุว่า ปู่เจ้าลาวจก (ต้นราชวงศ์ของพญามังราย) เป็นผู้นำชาวลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยตุง ที่มี “จก” หรือ “จอบ” (ทำจากเหล็ก) อยู่ในครอบครองถึง 500 เล่ม (อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, 2541, น.4) แสดงให้เห็นว่ากลุ่ม ลัวะ มีเทคโนโลยีด้านการถลุงเหล็กที่ก้าวหน้าในยุคนั้น และได้ผลิตเหล็กมาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มคนพื้นราบ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มชนชั้นปกครองในช่วงเวลาต่อมา
.
- การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดีพบว่า ยังคงมีกลุ่มคนลัวะที่สืบทอดองค์ความรู้ด้านการถลุงเหล็กมาจนกระทั่ง 100 ปีที่ผ่านมา คือ กลุ่มลัวะบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า ลัวะบ้านบ่อหลวง มีความรู้เฉพาะด้านการถลุงเหล็กซึ่งเป็นทรัพยากรที่หายากในยุคนั้น จึงเป็นกลุ่มคนที่มีสถานะพิเศษได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน แต่ต้องส่งส่วยเป็น “เหล็ก” ให้แก่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่แทน ส่วยเหล็กจึงเป็นส่วยสำคัญของรัฐและน่าจะมีผลผลิตสูงในยุคนั้น (สรัสวดี อ๋องสกุล, 2559, 94)
.
- จากองค์ความรู้เฉพาะและสถานะทางสังคมที่พิเศษ ส่งผลให้ให้กลุ่มลัวะบ่อหลวง มีพิธีกรรมที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาดังกล่าว คือ พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก ซึ่งในงานศึกษาของ Hutchinson ซึ่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2475 ระบุว่า ลัวะบ้านบ่อหลวงให้ความสำคัญกับการนับถือผีบ่อเหล็ก การประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กจะกระทำกันที่เหมืองซึ่งอยู่ในพื้นที่แม่โถในช่วงเดือน 5 ของทุก ๆ 3 ปี โดยใช้วัวสีครีมตั้งแต่หัวยันหาง เพื่อให้ผีบ่อเหล็กยอมรับเครื่องเส้นไหว้ และชาวลัวะบ้านบ่อหลวงจะยกครอบครัวไปสกัดแร่เหล็กที่แม่โถในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว (Hutchinson, 1934)
.
- ปัจจุบัน ถึงแม้ลัวะบ้านบ่อหลวง จะเลิกการถลุงเหล็กมาไม่ต่ำกว่า 80 ปีแล้ว แต่พิธีกรรมโบราณเลี้ยงผีบ่อเหล็กยังคงกระทำสืบเนื่องกันอยู่ การสัมภาษณ์นายประเสริฐ ทาหล้า กำนันตำบลบ่อหลวง ได้ให้ข้อมูลว่า พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กเป็นเสมือนพันธสัญญาจากบรรพบุรุษ เพื่อตอบแทนผีบ่อเหล็กผู้ดูแลรักษาทรัพยากร ที่ดลบันดาลให้สามารถขุดได้แร่เหล็กได้ในปริมาณมากในอดีต
.
- การลงพื้นที่เก็บข้อมูลของทีมนักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พบว่า การประกอบพิธีกรรมจะกำหนดจัดทุก ๆ 3 ปี การประกอบพิธีกรรมเริ่มต้นโดยผู้เฒ่าชาวลัวะบ้านบ่อหลวงที่เชื้อสายตระกูล "ขุนแก้ว" (ตระกูลผู้นำโบราณของชาวลัวะบ้านบ่อหลวง) ถวายเครื่องเซ่นไหว้ คือ ข้าว ไก่ เหล้า เป็นต้น และบอกกล่าวให้ผีบ่อเหล็ก เตรียมมารับเครื่องสังเวย"ดอกแดง" (วัวตัวผู้ขนสีแดง) ที่จัดไว้ถวาย หลังจากนั้นจะทำการล้มวัวตัวดังกล่าว และแล่เนื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปถวายผีบ่อเหล็กที่มาสื่อสารผ่านร่างทรงบนศาลผีที่ตั้งอยู่กลางดง เมื่อเครื่องสังเวยถูกนำมาตั้งบนศาลผีจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ร่างทรงชาวลัวะจะเชิญผีบ่อเหล็กลงมาประทับร่างเพื่อสื่อสารและรับการสังเวย ซึ่งผีบ่อเหล็กดังกล่าวมีนามว่า "แสงเมือง" หรือ “แสนเมือง” ผีผู้เป็นใหญ่เหนือผีดูแลบ่อเหล็กทั้งหลาย ทำการสื่อสารโดยใช้ “คำเมือง” ไม่ได้ใช้ภาษาลัวะเหมือนที่ร่างทรงเคยพูดอยู่ก่อนหน้า ทั้งนี้หลังจากผีบ่อเหล็กรับเครื่องสังเวยเรียบร้อยแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้ลูกหลานชาวลัวะสอบถามถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของลูกหลานชาวลัวะในช่วงระยะเวลาอีก 3 ปี นับต่อจากนี้ไป หลังจากนั้นจึงให้พรแด่ผู้มาร่วมพิธีกรรมทุกคน ถือเป็นอันเสร็จพิธี
.
- ถึงแม้ในปัจจุบันพิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กของชาวลัวะบ้านบ่อหลวง จะเป็นเพียงประเพณีท้องถิ่นที่กระทำกันเป็นการภายใน แต่ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและความสำคัญสูงยิ่งทั้งในเชิงโบราณคดีและคติชนวิทยา ที่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้และภูมิปัญญาเรื่องเหล็กจากโลกยุคโบราณที่เป็นพื้นฐานในการก่อให้เกิดรัฐ บ้านเมือง ซึ่งมีกระทำมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นับเป็นพิธีกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่กี่แห่งในดินแดนล้านนา ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบทอด และรักษาต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 1723 ครั้ง)