โบราณคดีเวียงลอ Ep.วัดพระธาตุหนองห้า
องค์ความารู้เรื่อง : โบราณคดีเวียงลอ Ep.วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) ตำบลหงส์หิน อำเภอจุนจังหวัดพะเยา
เรียบเรียงโดย : นายจตุรพร ทิมเทียนกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
- วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) -
วัดแห่งนี้วางตัวตามแกนทิศด้านตะวันออก – ตะวันตก มีเจดีย์ประธานและวิหาร ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ที่เป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า “ดอยจิกจ้อง” ซึ่งพระธาตุหนองห้า ทางด้านตะวันตกของเวียงลอ ประมาณ ๓๗๐ เมตร อยู่พื้นที่ปกครองของ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
ที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ๑๙ องศา ๒๗ ลิปดา ๐๒ ฟิลิปดา เหนือ
ลองติจูด ๑๐๐ องศา ๐๔ ลิปดา ๓๔ ฟิลิปดา ตะวันตก
วัดแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “คามวาสี” และวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า หรือกลุ่ม “อรัญวาสี” ในพระวินัยกำหนดไว้ว่า วัดฝ่ายอรัญวาสีจะต้องตั้งไม่ห่างจากหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดจนเกินไป คือให้อยู่ในระยะประมาณ ๕๐๐ ชั่วคันธนู เพื่อเอื้อให้พระภิกษุสามารถเดินไปรับการบิณฑบาต ซึ่งในปัจจุบันจากการสํารวจพบว่า มีประมาณ ๑๐ วัด วัดในกลุ่มนี้มีที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาและยอดเขา ที่ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง และศึกษาทางโบราณคดี คือ วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) เป็น โบราณสถานแห่งแรกที่ได้รับการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีในปี ๒๕๓๙ นอกจากนี้ยังมี วัดพระธาตุบุนนาค วัดท่าแฉะ และวัดต้นเดื่อที่ได้รับการศึกษาทางโบราณคดีแล้ว
ปี ๒๕๓๙ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ เจดีย์ประธานวัดพระธาตุหนองห้า เป็นเจดีย์แบบล้านนา ส่วนฐาน เริ่มจากผังแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ชั้น ต่อมาชั้นหน้ากระดานยกเก็จ รองรับชั้นบัวคว่ำ หน้ากระดานประดับด้วยชุดลูกแก้วอกไก่และชั้นบัวหงาย ต่อมาเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วรองรับองค์ระฆังในแผนผังแปดเหลี่ยม (ได้มีการเปรียบเทียบเจดีย์ประธานวัดลี ตำบลท่าวังทอง จังหวัดพะเยา และเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) ซึ่งเป็นแบบแผนของเจดีย์ล้านในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และคุณสายันต์ ไพรชาญจิตร ได้สันนิษฐานว่าวัดป่าใหม่ ที่มีชื่อปรากฏในศิลาจารึกวัดป่าใหม่ (พย. ๘) คือ วัดพระธาตุหนองห้า ที่ระบุศักราชที่สร้างวัดป่าใหม่ จุลศักราช ๘๕๙(พ.ศ.๒๐๔๐) ตรงกับช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว(๒๐๓๘ – ๒๐๖๘)
จากการขุดหลุมทดสอบ ๒ หลุม ได้พบเศษภาชนะดินเผาที่มีแหล่งผลิตมาจาก เตาเวียงกาหลง/วังเหนือ จังหวัดลำปาง แห่งเตาพาน/โป่งแดง จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาพะเยา(เวียงบัว/แม่กา) จังหวัดพะเยาที่มีอายุในช่วง ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัย ร.หมิง มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑
**วิหาร ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน ยังไม่ได้ดำเนินการทางโบราณคดี พบร่องรอยของเขื่อนหิน(สร้างเป็นแนวกรอบแล้วนำดินถมเพื่อปรับพื้นที่) และอิฐกระจายตัวอยู่ทั่วไป แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเหลือร่อยรอยไม่มากจากการมีการมาทำกิจกรรมในสมัยต่อมา อนึ่งในรายงานการขุดค้น พบแนวผนังอิฐล้มลงไปบนฐานเจดีย์ประธาน และพบตะปูโลหะ อาจจะมามีความเป็นได้ว่าวิหาร เครื่องบนคงจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง (?)
------------------------------------------------
อ้างอิง
ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้นและบูรณะพระเจดีย์วัดพระธาตุหนองห้า.เอกสารอัดสำเนา ,๒๕๓๙.
สรัสวดี อ๋องสกุล ,ประวัตศาสตร์ล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรุงเทพฯ:อมรินทร์,.2552.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ.ประชุมจารึกเมืองพะเยา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน :, 2538
________,บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพ,
สํานกพิมพ์มติชน ,2538.
เรียบเรียงโดย : นายจตุรพร ทิมเทียนกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
- วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) -
วัดแห่งนี้วางตัวตามแกนทิศด้านตะวันออก – ตะวันตก มีเจดีย์ประธานและวิหาร ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ที่เป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า “ดอยจิกจ้อง” ซึ่งพระธาตุหนองห้า ทางด้านตะวันตกของเวียงลอ ประมาณ ๓๗๐ เมตร อยู่พื้นที่ปกครองของ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
ที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ๑๙ องศา ๒๗ ลิปดา ๐๒ ฟิลิปดา เหนือ
ลองติจูด ๑๐๐ องศา ๐๔ ลิปดา ๓๔ ฟิลิปดา ตะวันตก
วัดแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “คามวาสี” และวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า หรือกลุ่ม “อรัญวาสี” ในพระวินัยกำหนดไว้ว่า วัดฝ่ายอรัญวาสีจะต้องตั้งไม่ห่างจากหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดจนเกินไป คือให้อยู่ในระยะประมาณ ๕๐๐ ชั่วคันธนู เพื่อเอื้อให้พระภิกษุสามารถเดินไปรับการบิณฑบาต ซึ่งในปัจจุบันจากการสํารวจพบว่า มีประมาณ ๑๐ วัด วัดในกลุ่มนี้มีที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาและยอดเขา ที่ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง และศึกษาทางโบราณคดี คือ วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) เป็น โบราณสถานแห่งแรกที่ได้รับการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีในปี ๒๕๓๙ นอกจากนี้ยังมี วัดพระธาตุบุนนาค วัดท่าแฉะ และวัดต้นเดื่อที่ได้รับการศึกษาทางโบราณคดีแล้ว
ปี ๒๕๓๙ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ เจดีย์ประธานวัดพระธาตุหนองห้า เป็นเจดีย์แบบล้านนา ส่วนฐาน เริ่มจากผังแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ชั้น ต่อมาชั้นหน้ากระดานยกเก็จ รองรับชั้นบัวคว่ำ หน้ากระดานประดับด้วยชุดลูกแก้วอกไก่และชั้นบัวหงาย ต่อมาเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วรองรับองค์ระฆังในแผนผังแปดเหลี่ยม (ได้มีการเปรียบเทียบเจดีย์ประธานวัดลี ตำบลท่าวังทอง จังหวัดพะเยา และเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) ซึ่งเป็นแบบแผนของเจดีย์ล้านในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และคุณสายันต์ ไพรชาญจิตร ได้สันนิษฐานว่าวัดป่าใหม่ ที่มีชื่อปรากฏในศิลาจารึกวัดป่าใหม่ (พย. ๘) คือ วัดพระธาตุหนองห้า ที่ระบุศักราชที่สร้างวัดป่าใหม่ จุลศักราช ๘๕๙(พ.ศ.๒๐๔๐) ตรงกับช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว(๒๐๓๘ – ๒๐๖๘)
จากการขุดหลุมทดสอบ ๒ หลุม ได้พบเศษภาชนะดินเผาที่มีแหล่งผลิตมาจาก เตาเวียงกาหลง/วังเหนือ จังหวัดลำปาง แห่งเตาพาน/โป่งแดง จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาพะเยา(เวียงบัว/แม่กา) จังหวัดพะเยาที่มีอายุในช่วง ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัย ร.หมิง มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑
**วิหาร ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน ยังไม่ได้ดำเนินการทางโบราณคดี พบร่องรอยของเขื่อนหิน(สร้างเป็นแนวกรอบแล้วนำดินถมเพื่อปรับพื้นที่) และอิฐกระจายตัวอยู่ทั่วไป แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเหลือร่อยรอยไม่มากจากการมีการมาทำกิจกรรมในสมัยต่อมา อนึ่งในรายงานการขุดค้น พบแนวผนังอิฐล้มลงไปบนฐานเจดีย์ประธาน และพบตะปูโลหะ อาจจะมามีความเป็นได้ว่าวิหาร เครื่องบนคงจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง (?)
------------------------------------------------
อ้างอิง
ศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้นและบูรณะพระเจดีย์วัดพระธาตุหนองห้า.เอกสารอัดสำเนา ,๒๕๓๙.
สรัสวดี อ๋องสกุล ,ประวัตศาสตร์ล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรุงเทพฯ:อมรินทร์,.2552.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ.ประชุมจารึกเมืองพะเยา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน :, 2538
________,บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพ,
สํานกพิมพ์มติชน ,2538.
(จำนวนผู้เข้าชม 1323 ครั้ง)