...

ประวัติและบทบาทหน้าที่

กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ

 

ความเป็นมา

                    กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติพ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ก วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖หมวด ๔ มาตรา ๒๔ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมศิลปากรกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับกิจการด้านงานจดหมายเหตุ ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สิน คือ

๑. ค่าบริการที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

๒. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี

๓. เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศและเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้

๔. ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

๕. รายได้อื่น

วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ

        เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับภารกิจด้านเอกสารจดหมายเหตุ

กรอบแนวทางการดำเนินงาน

                     ๑. การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

                        ๒. ส่งเสริมให้การดำเนินงานวิชาการจดหมายเหตุที่ถูกต้อง

                        ๓. ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายงานจดหมายเหตุตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖

                        ๔. พัฒนาบุคลากรด้านจดหมายเหตุให้มีความสามารถอย่างมืออาชีพ

แหล่งเงินทุน

                     ๑. รายได้จากการอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ ร้อยละ ๘๕

                     ๒. รายรับการให้บริการ (สำเนา ซ่อม อบเอกสาร) ร้อยละ ๑๕

คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ
๑.   อธิบดีกรมศิลปากร                                                                   ประธานกรรมการ
๒.   รองอธิบดีกรมศิลปากร                                                             รองประธานกรรมการ
๓.   ผู้แทนสำนักงบประมาณ                                                           กรรมการ
๔.   ผู้แทนกระทรวงการคลัง                                                           กรรมการ
๕.   นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย             กรรมการ
๖.   ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการ                                            กรรมการ
๗.   ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจดหมายเหตุ                                                  กรรมการ
๘.   ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์                                                 กรรมการ
๙.   ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ                                กรรมการและเลขานุการ
๑๐. ข้าราชการกรมศิลปากร                                                             กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

(จำนวนผู้เข้าชม 588 ครั้ง)