โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก
โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกครั้งนี้เป็นโครงการระยะสั้น มีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภายหลังได้มีการขยายเวลาสิ้นสุดโครงการเป็นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔


ความเป็นมา

          ภาวะความเสี่ยงจากนักล่าสมบัติและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลเป็นสาเหตุให้องค์การยูเนสโกเริ่มการดำเนินการทางนิตินัยและพฤตินัยเพื่อส่งเสริมการปกป้องแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ จึงได้เกิดการประชุมองค์กรระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการร่างอนุสัญญาคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ (The 2001 UNESCO – Convention on the Protection of the Underwater Cultural Heritage) ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก ประเทศฝรั่งเศส
          โดยการประชุมพิจารณาร่างอนุสัญญาฯ ดังกล่าว ได้จัดให้มีขึ้นหลายครั้งและกรมศิลปากรได้ส่งผู้แทนจากกลุ่มนิติกรและกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำเข้าร่วมประชุมมาโดยตลอด การประชุมมีการถกเถียงและอภิปรายอย่างกว้างขวางในการรับร่างอนุสัญญาฯ ดังกล่าว ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโครงร่างและรายละเอียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศภาคีสมาชิก กอปรกับแนวทางในการดำเนินการในอนุสัญญาฯ ที่ประชุมกำหนดให้มีทิศทางในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทางวิชาการซึ่งตรงกับมาตรฐานการดำเนินงานของกรมศิลปากร
          ผู้แทนกรมศิลปากรพิจารณาแล้วเห็นว่าอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่จะได้รับประโยชน์ในการประกาศคุ้มครองตามอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ อีกทั้งเนื้อหาสาระสำคัญเป็นการคุ้มครองในทางวิชาการโบราณคดีใต้น้ำ จึงได้ลงคะแนนเสียงให้รับร่างอนุสัญญาฉบับดังกล่าว
ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ซึ่งมีข้อตกลงและข้อพึงปฏิบัติร่วมกันระหว่างประเทศภาคีสมาชิกในการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ ทั้งยังมีการติดตามผลงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง
ตามอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. ๒๐๐๑ กล่าวถึงการคุ้มครองที่บรรลุวัตถุประสงค์ ควรมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคโนโลยี จึงเกิดเป็นแนวคิดให้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำในเขตภูมิภาคต่างๆ
          เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะผู้ประสานงานจากสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี และแจ้งว่า คณะผู้ประสานงานได้มีโอกาสเยี่ยมชมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำในประเทศต่างๆ ในเขตภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกแล้ว พบว่าที่กลุ่มโบราณคดีใต้น้ำมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุด ทั้งด้านแหล่งโบราณคดีใต้น้ำที่เหมาะกับการฝึกอบรม บุคลากร ประสบการณ์ในการทำงานและเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงานใต้น้ำ องค์การยูเนสโกจึงเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำ โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลนอร์เวย์
โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกครั้งนี้เป็นโครงการระยะสั้น มีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ภายหลังได้มีการขยายเวลาสิ้นสุดโครงการเป็นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วัตถุประสงค์
          ตามอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. ๒๐๐๑ กล่าวถึงการคุ้มครองที่บรรลุวัตถุประสงค์ ควรมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคโนโลยี จึงเกิดเป็นแนวคิดให้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำในเขตภูมิภาคต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
          ๑. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปกป้องและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำในระดับภูมิภาคผ่านหลักสูตรการฝึกทักษะภาคปฏิบัติที่แหล่งโบราณคดีใต้น้ำจริง
          ๒. เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคสมาชิกที่มีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและการเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งหมายถึงการรณรงค์ให้เกิด ความร่วมมือในระดับภูมิภาค โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การจัดการมรดกร่วมกัน
          ๓. เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคีสมาชิกในการให้สัตยาบันและการดำเนินการตามอนุสัญญาปี ค.ศ. ๒๐๐๑ และภาคผนวกของอนุสัญญาฯ
องค์การยูเนสโกได้เสนอให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ณ อาคารปฏิบัติการทางทะเล ท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี โดยกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร มีประสบการณ์การทำงานโบราณคดีใต้น้ำที่ยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ทั้งยังเคยร่วมกับกองทัพเรือไทย, ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ สำหรับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO - SPAFA) และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการฝึกอบรมหลักสูตรโบราณคดีใต้น้ำให้กลุ่มประเทศสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้วหลายครั้ง
          ด้วยเห็นถึงความพร้อม ความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด ทั้งด้านแหล่งโบราณคดีใต้น้ำที่เหมาะกับการฝึกอบรม บุคลากรของกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำที่มีประสบการณ์ ความรู้ในการทำงานโบราณคดีใต้น้ำ และเรือปฏิบัติการในทะเลพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานใต้น้ำที่ทันสมัย อีกทั้งอาคารสถานที่สามารถปรับใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมฯ ได้ทันที และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวี การทำงานโบราณคดีใต้น้ำ แบบเรือจำลองและโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อประกอบการฝึกอบรมและการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฯ
การดำเนินงาน
          การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก เพื่อส่งเสริมศักยภาพของแต่ละประเทศในการปกป้องมาดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำและการจัดการแหล่งโบราณคดีใต้น้ำผ่านโครงการฝึกอบรมหลักสูตรโบราณคดีใต้น้ำ โดยมีการฝึกอบรมดังนี้
          ๑. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน (Foundation Course on Underwater Cultural Heritage) มุ่งรับผู้เข้าร่วมจากทั่วภูมิภาคและจากหลากหลายสาขาเพื่อการบ่มเพาะแบบสหวิทยาการเรื่องโบราณคดีใต้น้ำและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ 
          หัวข้อที่เปิดอบรมในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
•Introduction to Archaeology 
•Site Types
•Dating Methods
•Right & Responsibilities (Legislation & UNESCO Convention)
•Introduction to 2D Survey principle session (2D Dry practical / 2D Wet practical)
•Drawing up session
•Case Studies: Project strategies, research designs 
•Diving safety and project logistics
•Area Search and survey methods
•Finds handling / problems with waterlogged material
•Introduction to 3D site surveying
•Dry 3D survey task
•Survey Data Processing
•Documentation, Recording and Dissemination
•Data Management
• Asian Ship Technology
•Iron and steel ship construction and site formation
•Desk Based Assessments
•Significance Assessments
•Material Culture Analysis
•Asian Ceramics Analysis
•Finds handling / Conservation
•Archaeological Publication
•Ethnographic Boatbuilding Practical
•Museology Story Boards Theory and Practice
•Arch Resource
•Managing Underwater Cultural Heritage 
•In-Situ Protection
•GIS for Archaeology
          การฝึกอบรมหลักสูตรขั้นพื้นฐานได้เสร็จสิ้นแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ถึง ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ประกอบด้วย กัมพูชา, ลาว, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, และไทย ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ถึง ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย กัมพูชา, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, บรูไน, บังคลาเทศ, ปากีสถาน และไทย ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ถึง ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย กัมพูชา, คีกิสถาน, เคนย่า, บังคลาเทศ, ฟิจิ, ฟิลิปปินส์, ลาว, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ศรีลังกา และไทย
          ๒.หลักสูตรขั้นสูง (Advanced Training Course on Underwater Archaeology) มุ่งเน้นการฝึกอบรมกลุ่มหัวหน้าหน่วยงานทางโบราณคดีใต้น้ำและผู้จัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำระดับอาวุโสในหัวข้อเฉพาะทาง โดยคณะกรรมการวิชาการระหว่างประเทศว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำแห่งสภาโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Committee on Underwater Cultural Heritage of the International Council on Monuments and Sites : ICOMOS- ICUCH) จะเป็นผู้กำหนดหัวข้อในการฝึกอบรมหลักสูตรขั้นสูงนี้ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ เช่น การจัดการข้อมูลแหล่งโบราณคดีใต้น้ำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS : Geographic Information System) , เครื่องบันทึกภาพพื้นผิวท้องทะเล (Side Scan Sonar), เครื่องมือตรวจหาชั้นตะกอน (Sub - bottom profiling), เครื่องมือวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก (Magnetometer) เป็นต้น โดยหลักสูตรการฝึกอบรมนี้จะใช้เวลาการฝึกอบรมระยะสั้นๆ ประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์
          ๒.๑ การฝึกอบรมหลักสูตรขั้นสูงครั้งที่ ๑ คือ Advanced Training course on Geographic Information System on Underwater Cultural Heritage ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๐ ถึง ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยหัวข้อที่เปิดอบรมในหลักสูตรขั้นสูงครั้งที่ ๑ มีดังนี้
•Overview of GIS
•Application of GIS (in Archaeology)
•Application of GIS (in UCH in Asia)
•GIS data, database and mapping issues
•Practical -Introduction to Arc GIS software
•Underwater GIS-es -MACHU experiences
•Using GIS
• Experiences from MACHU
•Database and GIS
•Practical – working with table
•GIS data management – practical
•Analysis with Arc GIS tools – practical
•Practical -Working with UCH data
•Sharing information - MACHU experiences
•Sharing information: all the possibilities and difficulties, 
CMS – practical exercise
•Field data collection
•Uploading GPS data into GIS – practical
•Data presentation, map layout – practical
•Constructing a Pan Asian GIS
          ๒.๒ การฝึกอบรมหลักสูตรขั้นสูงครั้งที่ ๒ คือ Advanced Training course on In Situ Preservation Underwater Cultural Heritage ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยหัวข้อที่เปิดอบรมในหลักสูตรขั้นสูงครั้งที่ ๒ มีดังนี้
•In Situ first option to consider? 
•The UNESCO Convention. 
•Reasons for in situ preservation. 
•Reasons for not doing in situ preservation. 
•What is needed to make in situ successful? 
•Protection by law.
•What is needed to start in situ preservation? 
•What are you trying to protect against? 
•What are your enemies (threats)? 
•What are the disadvantages of physically protecting this wreck?
•What is the environment like? 
•How can you obtain information about this? 
•What will be the positive side?
•Different environments, different reasons to protect: 
•Different methods of in situ preservation. 
•Brief explanation of different protection techniques. 
•More into detail of sandbagging.
•In detail explanation of using Geotextileon site.
•In detail explanation of using debris netting on site.
•Detailed explanation of using artificial seagrass on site.
•Monitoring as part of in situ preservation.
•What to monitor?
•How to monitor: State of the art and simple cost effective methods

          การดำเนินงานดังกล่าว UNESCO เป็นผู้ดูแลภาพรวมและรับผิดชอบในการติดต่อประสานงานกับผู้บริจาคทุนสนับสนุน และรายงานผลการดำเนินงานให้แก่ประเทศสมาชิกรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          ส่วน Nautical Archaeology Society (NAS) และ ICOMOS – ICUCH จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรการอบรมขั้นพื้นฐาน อีกทั้งจัดหาผู้เชี่ยวชาญพร้อมอุปกรณ์การฝึกอบรม นอกจากนี้ ICOMOS – ICUCH จะให้คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกที่ต้องการก่อตั้งหน่วยงานในการดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมใต้น้ำอีกด้วย

Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

(จำนวนผู้เข้าชม 1883 ครั้ง)

Messenger