หนังสือเล่มนึงเปิดเผยเนื้อในเกี่ยวกับ "ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย"
หยิบเอามาเล่า(2)
สวัสดีครับ
เดือนนี้เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว
มีหนังสือเล่มนึงเปิดเผยเนื้อในเกี่ยวกับ
-ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย-
นายเอิบเปรม วัชรางกูร ผู้เขียน
กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.2544
-พาณิชย์นาวี-
หรือ maritime / merchant navy
หมายถึง กิจการ/กิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทะเล
เช่น การเดินทาง การต่อเรือ การค้าขาย การประกันภัย การฝึนฝน การปฎิบัติภารกิจ ฯ
หนังสือย้อนภาพไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายหมื่นปีที่แล้ว ครั้งยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย
ครั้งนั้นอากาศหนาวเย็นมากส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกจับตัวกับน้ำทะเลมากขึ้น
ส่งผลให้น้ำในทะเลน้อยลง
จึงส่งผลอีกต่อหนึ่งถึงระดับน้ำในมหาสมุทรต่างๆ
ลดระดับลง
เมื่อน้ำในสมหาสมุทรลดระดับลง จึงมีผลต่อไปถึงชายฝั่งต่างๆ นั้น เหือดแห้งลงด้วย
ชายฝั่ง/ชายหาด ยืดเหยียดลงไปจากเดิม
ปากแม่น้ำ/ดินดอน/ดินตะกอน แห้งขอดกลายเป็นแผ่นดินใหม่
หมู่เกาะต่างๆ กับ ผืนแผ่นดินใหญ่ ล้วนมีผืนดืนยื่นออกมาทำให้ระยะห่างลดลง/ใกล้กันมากกว่าเดิม
ช่วงเวลานี้เองที่พบว่า มีการเดินทางข้ามไปมาจากแผ่นดินใหญ่ไปเกาะต่างๆ หรือ ข้ามไปมาระหว่างเกาะต่างๆ
เราพบหลักฐานทั้งผู้คนและสิ่งของจากเกาะนึงไปยังอีกเกาะนึง พบการตั้งถิ่นฐานไล่เรียงกันไปเรื่อยๆ
ตรงนี้เองที่มทำให้สันนิษฐานว่า การเดินทางของผู้คนในช่วงเวลานี้ล้วนต้องมี พาหนะ
-พาหนะ-
ที่ใช้ข้ามน้ำข้ามทะเลได้ คือ เรือ/แพ
ไม่ว่าพาหนะนี้จะมีรูปร่างอย่างไร ทำจากวัดสุประเภทไหน ล้วนทำให้เราเห็นภาพว่า พาณิชย์นาวี ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อหลายหมื่นปีก่อน
-ไม่พบหลักฐาน-
แม้ว่าความเป็นไปได้ในการเดินทางข้ามทะเลจะเกิดขึ้นแล้วในช่วงเวลานี้ แต่เรายังไม่พบหลักฐานที่สามารถจับต้องได้
เว้นแต่พาหนะที่ใช้แม่น้ำลำคลองบนผืนแผ่นดินใหญ่
อย่างเช่น เรือคนู เมื่อเกือบหมื่นปีที่แล้ว( The Pesse Canoe ที่ Netherlands)
จนกระทั่ง ได้พบ ซากเรือจม ใกล้กับเกาะ Dokos ในทะเลอีเจียน (ที่มีอายุเกือบห้าพันปีมาแล้ว) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักฐานการพาณิชย์นาวีที่เก่าแก่ที่สุดครับ(ที่มา wikipedia )
เพิ่งเริ่มบทแรกก็สปอยได้มันส์จิงๆครับ
คราวหน้ามาต่อกันด้วยเนื้อหาใกล้ๆบ้านเราครับ
จากหนังสือ
ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย
กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.2544
พิมพ์ที่ บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,กรุงเทพฯ

Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

(จำนวนผู้เข้าชม 773 ครั้ง)

Messenger