ทองแดงจากเรือบางกะไชย 2 ตอนแรก
หากกล่าวถึงสินค้าทีมาจากแหล่งเรือจมแล้ว ก้อนทองแดงนั้นถือว่าเป็นสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
จากการขุดค้นแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ที่ผ่านมาของกองโบราณคดีใต้น้ำนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ทองแดงนั้นเป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่เรือบางกะไชย 2 นั้นบรรทุกมาในระว่างเรือ เป็นปริมาณ ไม่น้อยกว่า 600 ก้อน
โดยจุดที่พบนั้นกระจายอยู่บริเวณกลางลำเรือใกล้ๆกับฐานเสาใบเรือเป็นหลัก ดังนั้นจากตำแหน่งที่พบนั้นอาจสรุปได้ว่ามีการเลือกพื้นที่ในการจัดเรียงทองแดงเหล่านี้ภายในเรือ อันเนื่องมาจากทองแดงนั้นมีน้ำหนักต่อก้อนค่อนข้างมาก จึงสันนิษฐานว่านอกจากทองแดงเหล่านี้จะเป็นสินค้าที่จะต้องถูกขนย้ายโดยเรือแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการเป็นอับเฉาเรือไปโดยปริยาย
เอกลักษณ์สำคัญของทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2
จากการศึกษาจัดจำแนกรูปแบบเบื้องต้นพบว่าหน้าตาทองแดงเหล่านี้มีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้
1.แบบทรงชาม
2.แบบทรงชามที่มีการซ้อนชั้น (พบมากที่สุด)
3.แบบแผ่น
4.แบบทีไม่มีรูปทรงแน่นอน
โดยในแต่ละรูปแบบมีการขึ้นรูปที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดในตอนต่อไปนะครับ
นอกจากนี้ในบางก้อนยังมีตราประทับไว้ด้วย โดยจากการศึกษาร่องรอยการประทับตราด้วยวิธีการทดลองทางโบราณคดีและการใช้กล้องจุลทรรศในการวิเคราะห์ร่องรอย สามารถสรุปได้ว่าทองแดงเหล่านี้ถูกประทับตาด้วยเครื่องมือประเภทสิ่ว และมีการตอกด้วยฆ้อน
ลักษณะของตราประทับเหล่านี้คล้ายกับภาษาจีน แต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้านภาษาแล้วในบางชิ้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาษาจีนและมีลักษณะเป็นการบ่งบอกจำนวน แต่ส่วนมากจะเป็นลัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมาย และจากการแปรความทางโบราณคดีนั้นสัญลักษณ์บนทองแดงเหล่านี้มีความเป็นไปได้มากมายที่ร่องรอยประทับเหล่านี้อาจจะเป็นได้ ดังนี้
1.ตราสัญลักษณ์ หรือยี่ห้อ?
2.จำนวนนับ?
3.อาจจะบ่งบอกสถานที่ที่ทองแดงเหล่านี้จะถูกนำไปส่ง?
4.อาจจะบ่งบอกถึงสถานที่ผลิต?
(จำนวนผู้เข้าชม 1018 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน