เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๓
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๓
.
พระพรหม : เทพผู้สร้างสรรพสิ่ง
.
วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอองค์ความรู้ชุดเทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๓ซึ่งเป็นเรื่องราวของ “พระพรหม เทพผู้สร้างสรรพสิ่ง”
พระพรหม (Brahma) เทพสูงสุด ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ไม่มีนิกายเป็นของตนเอง ทรงมีฐานะเป็นนักบวชเช่นเดียวกับพระอิศวรหรือพระศิวะ พระพรหมมีหน้าที่สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้น มีลักษณะเด่น คือ พระองค์ทรงมี ๔ พักตร์ ๔ กร โดยมักจะถือเครื่องใช้ของนักบวชประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ลูกประคำเพื่อเป็นเครื่องประกอบในการบำเพ็ญพรตของนักบวช คัมภีร์ ช้อนตักเนยสำหรับตักเนยรดบนกองไฟบูชายัญ และหม้อน้ำ เป็นต้น พระองค์ทรงมีพระนางสรัสวตี เทพีแห่งเสียงและความรู้เป็นพระชายา และมีหงส์เป็นพาหนะ
โดยเทวรูปพระพรหมจากเทวาลัยมหาเกษตร มีลักษณะมวยเกศาเป็นรูปพระเจดีย์ซ้อนกันขึ้นไป ๕ ชั้น กรองศอมีลักษณะเป็นแผ่นแบนใหญ่ ตรงกลางทำเป็นลายดอกประจำยาม ทรงกุณฑล (ตุ้มหู) รูปตุ้มที่แบ่งออกเป็นชั้น ๆ ด้านบนของกุณฑลมีลายกลีบบัวและลายเม็ดประคำเข้ามาประกอบ พาหุรัด (กำไลต้นแขน) มีแม่ลายเป็นลายดอกประจำยาม ขอบบนและขอบล่างเป็นลายกลีบบัว ส่วนทองกร (กำไลมือ) มีแม่ลายเป็นลายลูกแก้ว มีลายกาบเป็นตัวกระจังคั่นด้วยลายกลีบบัวเช่นเดียวกันกับพาหุรัด นอกจากนี้ยังทรงผ้ามีริ้ว ๔ ชั้น โดยชายพกด้านหน้าเป็นแผ่นโค้งใหญ่แผ่นเดียว ไม่มีลวดลายประดับ ซึ่งปัจจุบันเทวรูปพระพรหมจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
จากการศึกษาของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล ที่ได้ศึกษารูปแบบของเทวรูปสำริดสมัยสุโขทัยที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น ๑๒ องค์ พบว่าเทวรูปพระพรหมองค์นี้ เป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยหลัง สังเกตจากลวดลายเครื่องประดับและรูปแบบของผ้าทรง กล่าวคือ ในระยะหลังริ้วผ้าข้างหน้าจะแหวกออกมากขึ้นจนกลายเป็นลวดลายเครื่องประดับ นอกจากนี้ริ้วผ้าจะมีลักษณะแข็งกระด้างยิ่งขึ้น ส่วนพาหุรัดและทองกรมีลวดลายประดับเพิ่มมากขึ้น และมีจำนวนมากกว่า ๓ แนวขึ้นไป
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๑ : พระอิศวร https://www.facebook.com/photo/?fbid=719217040010611&set=a.621124623153187
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๒ : พระวิษณุ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=775708547694793&set=a.621124623153187
.
.
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐).
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (๒๕๖๓). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส.
ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล. เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย เข้าถึงเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiscience.info/.../Article/NRCT/10640029.pdf
สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
.
พระพรหม : เทพผู้สร้างสรรพสิ่ง
.
วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอองค์ความรู้ชุดเทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๓ซึ่งเป็นเรื่องราวของ “พระพรหม เทพผู้สร้างสรรพสิ่ง”
พระพรหม (Brahma) เทพสูงสุด ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ไม่มีนิกายเป็นของตนเอง ทรงมีฐานะเป็นนักบวชเช่นเดียวกับพระอิศวรหรือพระศิวะ พระพรหมมีหน้าที่สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้น มีลักษณะเด่น คือ พระองค์ทรงมี ๔ พักตร์ ๔ กร โดยมักจะถือเครื่องใช้ของนักบวชประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ลูกประคำเพื่อเป็นเครื่องประกอบในการบำเพ็ญพรตของนักบวช คัมภีร์ ช้อนตักเนยสำหรับตักเนยรดบนกองไฟบูชายัญ และหม้อน้ำ เป็นต้น พระองค์ทรงมีพระนางสรัสวตี เทพีแห่งเสียงและความรู้เป็นพระชายา และมีหงส์เป็นพาหนะ
โดยเทวรูปพระพรหมจากเทวาลัยมหาเกษตร มีลักษณะมวยเกศาเป็นรูปพระเจดีย์ซ้อนกันขึ้นไป ๕ ชั้น กรองศอมีลักษณะเป็นแผ่นแบนใหญ่ ตรงกลางทำเป็นลายดอกประจำยาม ทรงกุณฑล (ตุ้มหู) รูปตุ้มที่แบ่งออกเป็นชั้น ๆ ด้านบนของกุณฑลมีลายกลีบบัวและลายเม็ดประคำเข้ามาประกอบ พาหุรัด (กำไลต้นแขน) มีแม่ลายเป็นลายดอกประจำยาม ขอบบนและขอบล่างเป็นลายกลีบบัว ส่วนทองกร (กำไลมือ) มีแม่ลายเป็นลายลูกแก้ว มีลายกาบเป็นตัวกระจังคั่นด้วยลายกลีบบัวเช่นเดียวกันกับพาหุรัด นอกจากนี้ยังทรงผ้ามีริ้ว ๔ ชั้น โดยชายพกด้านหน้าเป็นแผ่นโค้งใหญ่แผ่นเดียว ไม่มีลวดลายประดับ ซึ่งปัจจุบันเทวรูปพระพรหมจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
จากการศึกษาของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล ที่ได้ศึกษารูปแบบของเทวรูปสำริดสมัยสุโขทัยที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น ๑๒ องค์ พบว่าเทวรูปพระพรหมองค์นี้ เป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยหลัง สังเกตจากลวดลายเครื่องประดับและรูปแบบของผ้าทรง กล่าวคือ ในระยะหลังริ้วผ้าข้างหน้าจะแหวกออกมากขึ้นจนกลายเป็นลวดลายเครื่องประดับ นอกจากนี้ริ้วผ้าจะมีลักษณะแข็งกระด้างยิ่งขึ้น ส่วนพาหุรัดและทองกรมีลวดลายประดับเพิ่มมากขึ้น และมีจำนวนมากกว่า ๓ แนวขึ้นไป
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๑ : พระอิศวร https://www.facebook.com/photo/?fbid=719217040010611&set=a.621124623153187
เทวรูปจากเทวาลัยมหาเกษตร ตอนที่ ๒ : พระวิษณุ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=775708547694793&set=a.621124623153187
.
.
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐).
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (๒๕๖๓). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส.
ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล. เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย เข้าถึงเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiscience.info/.../Article/NRCT/10640029.pdf
สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
(จำนวนผู้เข้าชม 508 ครั้ง)