พระอิศวรแห่งเทวาลัยมหาเกษตร
พระอิศวรแห่งเทวาลัยมหาเกษตร
.
พระอิศวรหรือพระศิวะ เป็นเทพสำคัญ ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาเทพมีหน้าที่ทำลายล้างโลก (เพื่อให้เกิดการสร้างขึ้นใหม่) โดยเฉพาะในลัทธิไศวนิกายนั้นถือว่า
พระอิศวรเป็นเทพผู้มีอำนาจสูงสุด พระองค์มีลักษณะเด่น คือ มี ๓ พระเนตร มักถือตรีศูลไว้ในพระหัตถ์ มีชายา คือ นางปารวตี และมีโอรส ๒ องค์ ได้แก่ พระสกันทกุมาร และพระคเณศ ส่วนพาหนะ คือ โคนนทิ
.
โดยที่เมืองสุโขทัยก็ปรากฏการนับถือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูด้วยเช่นกัน เทวรูปพระอิศวรเดิมประดิษฐานอยู่ที่ เทวาลัยมหาเกษตร ซึ่งเป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ดังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงที่กล่าวถึง พระยาลิไทโปรดฯ ให้สร้างเทวาลัย โดยพระองค์เสด็จมาประดิษฐานพระอิศวรและพระวิษณุ ณ เทวาลัยแห่งนี้ ซึ่งเทวรูปพระอิศวรองค์นี้มีความสูง ๓.๐๘ เมตร พระเศียรมีลักษณะเป็นมวยผม (ชฎามกุฏ) ประดับด้วยปิ่นรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวร พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรรียาว มีพระเนตรที่สาม สัญลักษณ์แห่งไฟบรรลัยกัลป์และการทำลายล้าง พระนาสิกงุ้ม แย้มพระสรวลเล็กน้อย
พระหนุกลม พระวรกายอวบอ้วน บั้นพระองค์สูง พระอุระกว้าง ทรงภูษายาว และมีผ้าอีกผืนหนึ่งเหน็บเป็นชายพกห้อยออกมาทางด้านหน้าของสายรัดประคดและทิ้งชายทั้งสองข้าง โดยท่าทางของพระหัตถ์ (มุทรา) แบบนี้ อมรา ศรีสุชาติ สันนิษฐานว่า เป็นท่าสำหรับให้ผู้บูชาสวมใส่หรือเสียบดอกไม้สด เรียกว่า กฏกหสฺต (อ่านว่า กะ-ตะ-กะ-หัด-สตะ) หรือ สิงฺหกรณ (อ่านว่า สิง-หะ-กะ-ระ-นะ) ส่วนศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่า น่าจะใช้สำหรับใส่สิ่งของ ซึ่งเป็นส่วนที่หล่อแยกชิ้นต่างหาก แต่ได้สูญหายไปแล้ว โดยข้างหนึ่งอาจเป็นตรีศูล และอีกข้างหนึ่งเป็นลูกประคำ ตามประติมานวิทยาที่ปรากฏโดยทั่วไปของพระอิศวร
ปัจจุบันเทวรูปพระอิศวรองค์นี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ น่าจะมีการประดิษฐานเทวรูปสำริดองค์อื่น ๆ อีกด้วย โดยอาจเป็นการสร้างขึ้นพร้อมกันหรือสร้างขึ้นภายหลัง เช่น พระพรหม พระหริหระ และเทวสตรี เป็นต้น
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐).
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๕๗). “นัยสำคัญ จากเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร.” ศิลปากร ๕๗. ๕ (กันยายน-ตุลาคม): ๙๗-๑๐๗.
.
พระอิศวรหรือพระศิวะ เป็นเทพสำคัญ ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาเทพมีหน้าที่ทำลายล้างโลก (เพื่อให้เกิดการสร้างขึ้นใหม่) โดยเฉพาะในลัทธิไศวนิกายนั้นถือว่า
พระอิศวรเป็นเทพผู้มีอำนาจสูงสุด พระองค์มีลักษณะเด่น คือ มี ๓ พระเนตร มักถือตรีศูลไว้ในพระหัตถ์ มีชายา คือ นางปารวตี และมีโอรส ๒ องค์ ได้แก่ พระสกันทกุมาร และพระคเณศ ส่วนพาหนะ คือ โคนนทิ
.
โดยที่เมืองสุโขทัยก็ปรากฏการนับถือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูด้วยเช่นกัน เทวรูปพระอิศวรเดิมประดิษฐานอยู่ที่ เทวาลัยมหาเกษตร ซึ่งเป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ดังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงที่กล่าวถึง พระยาลิไทโปรดฯ ให้สร้างเทวาลัย โดยพระองค์เสด็จมาประดิษฐานพระอิศวรและพระวิษณุ ณ เทวาลัยแห่งนี้ ซึ่งเทวรูปพระอิศวรองค์นี้มีความสูง ๓.๐๘ เมตร พระเศียรมีลักษณะเป็นมวยผม (ชฎามกุฏ) ประดับด้วยปิ่นรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวร พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรรียาว มีพระเนตรที่สาม สัญลักษณ์แห่งไฟบรรลัยกัลป์และการทำลายล้าง พระนาสิกงุ้ม แย้มพระสรวลเล็กน้อย
พระหนุกลม พระวรกายอวบอ้วน บั้นพระองค์สูง พระอุระกว้าง ทรงภูษายาว และมีผ้าอีกผืนหนึ่งเหน็บเป็นชายพกห้อยออกมาทางด้านหน้าของสายรัดประคดและทิ้งชายทั้งสองข้าง โดยท่าทางของพระหัตถ์ (มุทรา) แบบนี้ อมรา ศรีสุชาติ สันนิษฐานว่า เป็นท่าสำหรับให้ผู้บูชาสวมใส่หรือเสียบดอกไม้สด เรียกว่า กฏกหสฺต (อ่านว่า กะ-ตะ-กะ-หัด-สตะ) หรือ สิงฺหกรณ (อ่านว่า สิง-หะ-กะ-ระ-นะ) ส่วนศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่า น่าจะใช้สำหรับใส่สิ่งของ ซึ่งเป็นส่วนที่หล่อแยกชิ้นต่างหาก แต่ได้สูญหายไปแล้ว โดยข้างหนึ่งอาจเป็นตรีศูล และอีกข้างหนึ่งเป็นลูกประคำ ตามประติมานวิทยาที่ปรากฏโดยทั่วไปของพระอิศวร
ปัจจุบันเทวรูปพระอิศวรองค์นี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ น่าจะมีการประดิษฐานเทวรูปสำริดองค์อื่น ๆ อีกด้วย โดยอาจเป็นการสร้างขึ้นพร้อมกันหรือสร้างขึ้นภายหลัง เช่น พระพรหม พระหริหระ และเทวสตรี เป็นต้น
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. (จัดพิมพ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐).
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๖๒). ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
อมรา ศรีสุชาติ. (๒๕๕๗). “นัยสำคัญ จากเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร.” ศิลปากร ๕๗. ๕ (กันยายน-ตุลาคม): ๙๗-๑๐๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 25262 ครั้ง)