โบราณสถานวัดสระศรี
โบราณสถานวัดสระศรี
วัดสระศรีหรือโบราณสถานร้าง ก.4 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย โดยอยู่ห่างจากวัดมหาธาตุมาทางทิศเหนือประมาณ 350 เมตร วัดสระศรีนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางตระพังตระกวน ซึ่งเป็นตระพังหรือสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดประกอบไปด้วย
1. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ มีรูปทรงสมบูรณ์ ตังอยู่บนฐานสี่แหลี่ยมยกพื้นสูงเพื่อเป็นลานประทักษิณ ล้อมรอบด้วยระเบียงคด
2. วิหาร ขนาด 7 ห้อง ก่อด้วยอิฐ ยกเว้นในส่วนของเสาวิหารที่นำศิลาแลงมาใช้ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย
3. เจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทั้ง 4 ทิศ สภาพสมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธาน และนอกจากนี้ยังพบฐานเจดีย์รายขนาดเล็กตั้งอยู่อีก 5 องค์
4. ฐานโบสถ์ขนาด 2 ห้อง ก่อด้วยศิลาแลง มีใบเสมาหินปักโดยรอบ ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ กลางน้ำ ทางด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานภายในวัด โดยมีสะพานไม้เชื่อมถึงกัน
5. สระน้ำขนาดใหญ่หรือตระพังตะกวน มีเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ ซึ่งเป็นตระพังที่เกาะของโบราณสถานวัดสระศรีตั้งอยู่ เดิมในอดีตสระนี้มีถนนทางหลวงชนบทผ่านกลางสระ แต่ปัจจุบันได้ขุดรื้อถอนไปแล้ว
เจดีย์ประธานของวัดสระศรีเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย หรือเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่เหมือนกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองสุโขทัย ต่างกันในส่วนฐานที่ไม่มีช้างล้อม สันนิษฐานว่ามีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้วัดสระศรีนี้มีการสร้างโบสถ์อยู่บนเกาะที่มีน้ำล้อมรอบตามคตินทีสีมา คือการใช้น้ำเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตวิศุงคามสีมา ซึ่งถือเป็นขอบเขตที่บริสุทธิ์ พบในสุโขทัยหลายแห่ง เช่น ที่วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง เป็นต้น
เจดีย์รายเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน คล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเจดีย์รายที่วัดสระศรีแห่งนี้น่าจะได้อิทธิพลของศิลปะอยุธยามา
.
.
เอกสารอ้างอิง
1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. “การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑” โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร.
2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, ๒๕๖๑.
3. ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
4. ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
วัดสระศรีหรือโบราณสถานร้าง ก.4 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย โดยอยู่ห่างจากวัดมหาธาตุมาทางทิศเหนือประมาณ 350 เมตร วัดสระศรีนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางตระพังตระกวน ซึ่งเป็นตระพังหรือสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดประกอบไปด้วย
1. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ มีรูปทรงสมบูรณ์ ตังอยู่บนฐานสี่แหลี่ยมยกพื้นสูงเพื่อเป็นลานประทักษิณ ล้อมรอบด้วยระเบียงคด
2. วิหาร ขนาด 7 ห้อง ก่อด้วยอิฐ ยกเว้นในส่วนของเสาวิหารที่นำศิลาแลงมาใช้ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย
3. เจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทั้ง 4 ทิศ สภาพสมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธาน และนอกจากนี้ยังพบฐานเจดีย์รายขนาดเล็กตั้งอยู่อีก 5 องค์
4. ฐานโบสถ์ขนาด 2 ห้อง ก่อด้วยศิลาแลง มีใบเสมาหินปักโดยรอบ ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ กลางน้ำ ทางด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานภายในวัด โดยมีสะพานไม้เชื่อมถึงกัน
5. สระน้ำขนาดใหญ่หรือตระพังตะกวน มีเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ ซึ่งเป็นตระพังที่เกาะของโบราณสถานวัดสระศรีตั้งอยู่ เดิมในอดีตสระนี้มีถนนทางหลวงชนบทผ่านกลางสระ แต่ปัจจุบันได้ขุดรื้อถอนไปแล้ว
เจดีย์ประธานของวัดสระศรีเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย หรือเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่เหมือนกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองสุโขทัย ต่างกันในส่วนฐานที่ไม่มีช้างล้อม สันนิษฐานว่ามีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้วัดสระศรีนี้มีการสร้างโบสถ์อยู่บนเกาะที่มีน้ำล้อมรอบตามคตินทีสีมา คือการใช้น้ำเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตวิศุงคามสีมา ซึ่งถือเป็นขอบเขตที่บริสุทธิ์ พบในสุโขทัยหลายแห่ง เช่น ที่วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง เป็นต้น
เจดีย์รายเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน คล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังวัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเจดีย์รายที่วัดสระศรีแห่งนี้น่าจะได้อิทธิพลของศิลปะอยุธยามา
.
.
เอกสารอ้างอิง
1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. “การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑” โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร.
2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, ๒๕๖๑.
3. ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
4. ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
(จำนวนผู้เข้าชม 3307 ครั้ง)