เจดีย์ประธานวัดนางพญา
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ เรื่อง "เจดีย์ประธานวัดนางพญา"
วัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ
เจดีย์ประธานวัดนางพญาเป็นตัวอย่างสำคัญวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงระฆังที่ปรากฏในสุโขทัย ประการแรก ได้แก่การเปลี่ยนจากฐานบัวถลา ๓ ชั้น ที่รองรับองค์ระฆังมาเป็นฐานมาลัยเถา (ลูกแก้วกลมซ้อนกันเป็นวง ๓ ชั้น) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา ประการที่สอง มีมุขที่ยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้ามีทางขึ้น และเข้าไปภายในองค์ระฆังได้ การประดับมุขทั้ง ๔ ด้านนี้ไม่เคยปรากฏในเจดีย์ทรงระฆังสุโขทัย แต่ปรากฏที่เจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และประการที่สาม ปล้องไฉนที่มีระยะห่างของแต่ละปล้องที่คั่นด้วยท้องไม้เป็นรูปแบบที่ปรากฏในอยุธยา ในขณะที่ปล้องไฉนของสุโขทัยจะติดกันทุกปล้อง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, ๒๕๓๓).
วิไลรัตน์ ยังรอต และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๑).
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑).
__________. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑).
วัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ
เจดีย์ประธานวัดนางพญาเป็นตัวอย่างสำคัญวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงระฆังที่ปรากฏในสุโขทัย ประการแรก ได้แก่การเปลี่ยนจากฐานบัวถลา ๓ ชั้น ที่รองรับองค์ระฆังมาเป็นฐานมาลัยเถา (ลูกแก้วกลมซ้อนกันเป็นวง ๓ ชั้น) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา ประการที่สอง มีมุขที่ยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้ามีทางขึ้น และเข้าไปภายในองค์ระฆังได้ การประดับมุขทั้ง ๔ ด้านนี้ไม่เคยปรากฏในเจดีย์ทรงระฆังสุโขทัย แต่ปรากฏที่เจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และประการที่สาม ปล้องไฉนที่มีระยะห่างของแต่ละปล้องที่คั่นด้วยท้องไม้เป็นรูปแบบที่ปรากฏในอยุธยา ในขณะที่ปล้องไฉนของสุโขทัยจะติดกันทุกปล้อง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, ๒๕๓๓).
วิไลรัตน์ ยังรอต และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. (กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๑).
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑).
__________. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑).
(จำนวนผู้เข้าชม 647 ครั้ง)