โพธิฆระ แห่งเมืองศรีสัชนาลัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนกันยายน เรื่อง "โพธิฆระ แห่งเมืองศรีสัชนาลัย"
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ถือเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในตอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ประทับอยู่ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ว่า
พระศรีมหาโพธิ์เป็นสิ่งสักการะบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า เมื่อพุทธศาสนาได้แผ่ขยายมายังศรีลังกา จึงได้มีการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยามาปลูกที่ศรีลังกาด้วย และได้มีการสร้างเรือนหรือฐานสำหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ เรียกว่า “โพธิฆระ” ต่อมาในสมัยสุโขทัยก็ได้มีการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาปลูกภายในอาณาจักรสุโขทัย ดังที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลายหลัก เช่น ศิลาจารึกวัดศรีชุม (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ที่กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีได้อัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาปลูกไว้ยังอาณาจักรสุโขทัย ความว่า “…พระศรีมหาโพธินครสิงหลนั้นก็ดี สมเด็จพระมหาเถรเป็นเจ้า เอามาปลูกเหนือดิน…” และศิลาจารึกนครชุม (พุทธศักราช ๑๙๐๐) กล่าวถึงการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกามาประดิษฐานที่อาณาจักรสุโขทัย โดยปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้านหลังพระมหาธาตุ ความว่า “…พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้น มาดาย เองทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นแลผจญ พลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้...” เป็นต้น
โดยที่เมืองศรีสัชนาลัย พบโบราณสถานที่ปรากฏร่องรอยของการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้แก่
วัดเจดีย์เจ็ดแถวและวัดยายตามีรายละเอียด ดังนี้
ซึ่งวัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยบริเวณด้านหลังของเจดีย์ประธาน นอกกำแพงแก้วของวัด มีฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ ๑๗ x ๑๗ เมตร ก่อล้อมทั้งสี่ด้าน อยู่ในแนวแกนเดียวกับวัด
ส่วนวัดยายตา เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑ ด้านหลังวิหารที่เชื่อมต่อกับมณฑป ปรากฏแนวศิลาแลงก่อในผังแปดเหลี่ยมขนาดประมาณ ๗ x ๗ เมตร โดยเอนออกจากแนวแกนวัดเล็กน้อย
เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของฐานศิลาแลงที่ไม่ใช่ก่อเพื่อสร้างเจดีย์หรืออาคาร และตำแหน่งที่ตั้งที่สร้างอยู่ในแนวแกนเดียวกับวัด สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในวิหาร หรือพระธาตุภายในเจดีย์ประธาน จึงสันนิษฐานว่าฐานศิลาแลงที่ปรากฏอยู่ภายในทั้งสองวัดนี้เป็นโพธิฆระแห่งเมืองศรีสัชนาลัยนั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.
________. ทำเนียบโบราณสถาน ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๓๕.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พุทธศิลป์ลังกา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖.
________.บทบาทของลังกาทวีปในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาต่อพุทธศิลป์ไทย เข้าถึงเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ https://www.sac.or.th/.../sac.../research-item-search.php...
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ถือเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในตอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ประทับอยู่ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ว่า
พระศรีมหาโพธิ์เป็นสิ่งสักการะบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า เมื่อพุทธศาสนาได้แผ่ขยายมายังศรีลังกา จึงได้มีการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยามาปลูกที่ศรีลังกาด้วย และได้มีการสร้างเรือนหรือฐานสำหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ เรียกว่า “โพธิฆระ” ต่อมาในสมัยสุโขทัยก็ได้มีการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาปลูกภายในอาณาจักรสุโขทัย ดังที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลายหลัก เช่น ศิลาจารึกวัดศรีชุม (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ที่กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีได้อัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาปลูกไว้ยังอาณาจักรสุโขทัย ความว่า “…พระศรีมหาโพธินครสิงหลนั้นก็ดี สมเด็จพระมหาเถรเป็นเจ้า เอามาปลูกเหนือดิน…” และศิลาจารึกนครชุม (พุทธศักราช ๑๙๐๐) กล่าวถึงการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกามาประดิษฐานที่อาณาจักรสุโขทัย โดยปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้านหลังพระมหาธาตุ ความว่า “…พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้น มาดาย เองทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นแลผจญ พลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้...” เป็นต้น
โดยที่เมืองศรีสัชนาลัย พบโบราณสถานที่ปรากฏร่องรอยของการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้แก่
วัดเจดีย์เจ็ดแถวและวัดยายตามีรายละเอียด ดังนี้
ซึ่งวัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยบริเวณด้านหลังของเจดีย์ประธาน นอกกำแพงแก้วของวัด มีฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ ๑๗ x ๑๗ เมตร ก่อล้อมทั้งสี่ด้าน อยู่ในแนวแกนเดียวกับวัด
ส่วนวัดยายตา เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑ ด้านหลังวิหารที่เชื่อมต่อกับมณฑป ปรากฏแนวศิลาแลงก่อในผังแปดเหลี่ยมขนาดประมาณ ๗ x ๗ เมตร โดยเอนออกจากแนวแกนวัดเล็กน้อย
เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของฐานศิลาแลงที่ไม่ใช่ก่อเพื่อสร้างเจดีย์หรืออาคาร และตำแหน่งที่ตั้งที่สร้างอยู่ในแนวแกนเดียวกับวัด สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในวิหาร หรือพระธาตุภายในเจดีย์ประธาน จึงสันนิษฐานว่าฐานศิลาแลงที่ปรากฏอยู่ภายในทั้งสองวัดนี้เป็นโพธิฆระแห่งเมืองศรีสัชนาลัยนั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.
________. ทำเนียบโบราณสถาน ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๓๕.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พุทธศิลป์ลังกา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖.
________.บทบาทของลังกาทวีปในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาต่อพุทธศิลป์ไทย เข้าถึงเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ https://www.sac.or.th/.../sac.../research-item-search.php...
(จำนวนผู้เข้าชม 1237 ครั้ง)