หรูอี้
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนมิถุนายน เรื่อง "หรูอี้" สัญลักษณ์แห่งสิริมงคล
วัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยได้ถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่บนผนังวิหารของวัดนางพญา เป็นที่นิยมในศิลปะอยุธยา และล้านนา โดยได้รับอิทธิพลมาจากลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาจีน ลวดลายที่ปรากฏจะพบได้จากงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เช่น ภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาเล่าเรื่องชาดก ภายในอุโมงค์วัดศรีชุม สุโขทัย รวมทั้ง ลวดลายบนเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา โดยการทำลวดลายดังกล่าว ส่งอิทธิพลไปยังล้านนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทั้งนี้ พบว่างานศิลปกรรมล้านนาเริ่มปรากฏลวดลายที่เป็นลายพรรณพฤกษาลักษณะแบบเดียวกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นต้นมา
วัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยได้ถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่บนผนังวิหารของวัดนางพญา เป็นที่นิยมในศิลปะอยุธยา และล้านนา โดยได้รับอิทธิพลมาจากลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาจีน ลวดลายที่ปรากฏจะพบได้จากงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เช่น ภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาเล่าเรื่องชาดก ภายในอุโมงค์วัดศรีชุม สุโขทัย รวมทั้ง ลวดลายบนเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา โดยการทำลวดลายดังกล่าว ส่งอิทธิพลไปยังล้านนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทั้งนี้ พบว่างานศิลปกรรมล้านนาเริ่มปรากฏลวดลายที่เป็นลายพรรณพฤกษาลักษณะแบบเดียวกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นต้นมา
(จำนวนผู้เข้าชม 1083 ครั้ง)