หน้าบุคคลทั้ง ๔ บนซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
องค์ความรู้ประจำเดือนตุลาคม เรื่อง "หน้าบุคคลทั้ง ๔ บนซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง"
ซุ้มปราสาทเฟื้อง เป็นชื่อเรียกของปราสาทขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง กำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยคำว่า “เฟื้อง” มีความหมายว่า ขนาดเล็ก มีที่มาจากหน่วยนับเงิน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าสตางค์
หน้าบุคคลทั้ง ๔ มีเค้าโครงของใบหน้าสี่เหลี่ยมและดวงตามองตรง ลักษณะการแสดงออกทางใบหน้าคล้ายคลึงกับประติมากรรมรูปใบหน้าบุคคล ๔ หน้า ที่ปรากฏในศิลปะเขมร สมัยบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ มีข้อสันนิษฐาน ๒ แนวคิด คือ แนวคิดที่ ๑ สันนิษฐานว่า เป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข ผู้คอยดูแลทุกข์สุขของคนโดยทั่วไป คำว่า สมันตมุข แปลว่า มีพระพักตร์รอบทิศหรือเห็นได้โดยรอบ มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงดูแลสรรพสัตว์ ทุกภพทุกภูมิทุกทิศ ช่วยเหลือให้พ้นจากมหันตภัยนานัปการ ส่วนแนวคิดที่ ๒ เชื่อว่าน่าจะหมายถึง ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ซึ่งความหมายหลังนี้น่าจะมีความเป็นได้มากกว่าเพราะซุ้มปราสาทเฟื้องนี้อยู่ที่ประตูทางเข้า
บรรณานุกรม
ธีรนาฎ มีนุ่น, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข ปางสมันตมุข [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔. แหล่งที่มา https://finearts.go.th/promotion/view/๑๖๘๑๔-พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข-ปางสมันตมุข
ศักดิชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพลส,๒๕๖๑.
สงวน รอดบุญ. พุทธศิลป์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๓.
สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย ภูมิหลังทางปัญญา-รูปแบบทาง ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๓๗.
ซุ้มปราสาทเฟื้อง เป็นชื่อเรียกของปราสาทขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง กำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยคำว่า “เฟื้อง” มีความหมายว่า ขนาดเล็ก มีที่มาจากหน่วยนับเงิน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าสตางค์
หน้าบุคคลทั้ง ๔ มีเค้าโครงของใบหน้าสี่เหลี่ยมและดวงตามองตรง ลักษณะการแสดงออกทางใบหน้าคล้ายคลึงกับประติมากรรมรูปใบหน้าบุคคล ๔ หน้า ที่ปรากฏในศิลปะเขมร สมัยบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ มีข้อสันนิษฐาน ๒ แนวคิด คือ แนวคิดที่ ๑ สันนิษฐานว่า เป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข ผู้คอยดูแลทุกข์สุขของคนโดยทั่วไป คำว่า สมันตมุข แปลว่า มีพระพักตร์รอบทิศหรือเห็นได้โดยรอบ มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงดูแลสรรพสัตว์ ทุกภพทุกภูมิทุกทิศ ช่วยเหลือให้พ้นจากมหันตภัยนานัปการ ส่วนแนวคิดที่ ๒ เชื่อว่าน่าจะหมายถึง ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ซึ่งความหมายหลังนี้น่าจะมีความเป็นได้มากกว่าเพราะซุ้มปราสาทเฟื้องนี้อยู่ที่ประตูทางเข้า
บรรณานุกรม
ธีรนาฎ มีนุ่น, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข ปางสมันตมุข [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔. แหล่งที่มา https://finearts.go.th/promotion/view/๑๖๘๑๔-พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข-ปางสมันตมุข
ศักดิชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพลส,๒๕๖๑.
สงวน รอดบุญ. พุทธศิลป์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๓.
สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย ภูมิหลังทางปัญญา-รูปแบบทาง ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๓๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 2785 ครั้ง)