วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะล้านช้าง อิทธิพลศิลปะสุโขทัย
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24
สถานที่พบ พบระหว่างการไถที่ดินของนางสาวปาริชาต อุดมสี บ้านนาดูน ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2549
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงเป็นแถบโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์เป็นทรงกระจับ แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย มีเส้นไรพระศก เม็ดพระศกเป็นตุ่มแหลมแบบก้นหอย อุษณีษะเป็นต่อมสูง พระรัศมีเป็นเปลวมี มีรูสำหรับฝังวัตถุบางอย่าง พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายของสังฆาฏิมีลวดลาย พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ยาวจรดฐาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวในผังหกเหลี่ยม ฐานบัวหงายทำลายกลีบบัว ส่วนรองรับองค์พระทำเป็นลายเกสรดอกบัว ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานเรียบ มีจารึกอักษรธรรมอีสานจำนวน 2 บรรทัดรอบฐาน ส่วนเม็ดพระศกลงรักปิดทอง
(จำนวนผู้เข้าชม 1973 ครั้ง)