บ้านเชียงที่โลกลืม
- ย้อนกลับ
- บ้านเชียงที่โลกลืม
พนอ กำเนิดกาญจน์, สิทธา ราชโหดี และไพศาล ปัญญาคำ. บ้านเชียงที่โลกลืม. พิมพ์ครั้งที่ 6. อุดรธานี: ไทยสามัคคี, 2515.
บ้านเชียงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เล่าว่ามีพวกพวนอพยพมาจากประเทศลาวมาตั้งบ้านเรือนในดงแพงซึ่งเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ มี 4 ครอบครัว คือ ท้าวเชียงใหม่ ท้าวเชียงบุญมา ท้าวเชียงคะ และท้าวเชียงพิณ และได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านเชียงตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านเชียงเป็นคนรักสงบ รักความสวยงาม ซื่อสัตย์สุจริต กรมศิลปากรได้เริ่มขุดค้นที่บ้านเชียงซึ่งพบหลักฐานเพื่อการศึกษาและวิจัย และ ได้ทูลเกล้าหม้อลายเขียนสีบ้านเชียงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่า “ของบ้านควรจะเก็บรักษาไว้บ้านเชียง” ลักษณะหม้อลายบ้านเชียงจะไม่มีหู สันณิษฐานว่าหม้อลายเขียนสีที่บ้านเชียงจะได้รับวัฒนธรรมจากคนทาบงแถบแม่น้ำยูเฟตีส เพราะลายเป็นแบบเดียวกันกับคนชาวแถบบาปโลเนีย และยังมีหม้อลายงูที่มีอายุ 7,000 ปี หม้อบางใบที่ฝังอยู่ในวัดในบ้านเชียงมีลายงู ซึ่งมีความเชื่อในการนับถืองูว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของดวงวิญญาณปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งแปลงกายมาเฝ้าทรัพย์นั่นเอง(จำนวนผู้เข้าชม 709 ครั้ง)