เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นมหามงคลสมัยที่สำคัญยิ่งอีกวาระหนึ่ง ในการจัดพระราชพิธีถวายชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากร โดยหอสมุดแห่งชาติในฐานะที่มีภารกิจในการสนับสนุนส่งเสริมทางด้านการศึกษา จึงมีโครงการจัดสร้างหอสมุดแหงชาติสาขาขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมแห่งความรู้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และด้วยการสนับสนุนของ นายชวน หลีกภัย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐ ที่เห็นสมควรให้จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่จังหวัดตรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง”
ประวัติ
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นมหามงคลสมัยที่สำคัญในการจัดพระราชพิธีชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นการน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนทางด้านการศึกษา จึงมีโครงการสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนซึ่งไม่มีสถานที่ใดจะเหมาะสมกับการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้ที่เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมของชาติ และด้วยการสนับสนุนของ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี (คนที่ ๒๐) ที่เห็นสมควรให้จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่จังหวัดตรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง”
โดยกรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากจังหวัดตรังและเทศบาลเมืองตรัง ที่มีส่วนช่วยในการจัดหาสถานที่ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่า บริเวณที่เดิมเคยเป็นโรงเรียนช่างไม้อยู่ใกล้สถานีรถไฟตรัง มีจำนวนเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๘๒ ตารางวา เป็นสถานที่ที่เหมาะสม โดยจังหวัดตรังแจ้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ แต่เมื่อกรมศิลปากรได้ประสานงานขอใช้ที่ไปยังกรมธนารักษ์ จึงมีการตรวจสอบแล้วพบว่าที่ดินอยู่ในเขตวัดมัชฌิมภูมิ กรมศิลปากรจึงประสานงานกับทางวัดมัชฌิมภูมิ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากพระครูปวัดปิยะศักดิ์ ปัญญาวชิโร รักษาการเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมภูมิในขณะนั้น อนุญาตให้ใช้สถานที่ดังกล่าว เป็นที่ก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงอาคาร งบประมาณทั้งสิ้น ๖,๑๓๗,๐๐๐.๐๐ บาท (หกล้านหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง และมีป้ายชื่อหน่วยงานที่จัดทำด้วยหินแกรนิตแกะสลักอักษรที่มีความแข็งแรงถาวร
ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๓,๘๘๐,๐๐๐ บาท (สามล้านสามแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ลักษณะอาคาร
นายอุดม สกุลพาณิชย์ ผู้อำนวยการส่วนสถาปัตยกรรม สถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบอาคารให้มีรูปลักษณะสอดคล้องกับไทยท้องถิ่นภาคใต้โดยแบ่งเป็นอาคาร ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดกว้าง ๑๐.๘ เมตร ยาว ๑๔.๔ เมตร จัดเป็นห้องเอนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรมต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นอาคาร ๓ ชั้น กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๐.๘ เมตร สำหรับส่วนบริการ รวมพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๐/๒๑ ถนนบ้านหนองยวน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ๙๒๐๐๐
ขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
รับผิดชอบในพื้นที่รวม ๕ จังหวัด คือ ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง
การจัดพื้นที่การให้บริการ
งานบริการ ชั้น ๑
๑. ห้อง E – Libraly ให้บริการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ บริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบริการสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ทุกประเภท
๒. ห้อง Study ROOMให้บริการห้องเพื่อการเรียนรู้ในการติวหนังสือกลุ่มย่อย และชมวีดิทัศน์
๓. ห้องรักการอ่าน ให้บริการสารสนเทศประเภทวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน จุลสาร กฤตภาค มุมหนังสือสำหรับเยาวชนและสื่อส่งเสริมทักษะทางปัญญา
งานบริการชั้น ๒
๑. ห้องหนังสือทั่วไป ๑ ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไปหมวด ๐๐๐ - ๔๐๐ และมุมหนังสือเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน
๒. ห้องหนังสือทั่วไป ๒ ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไปหมวด ๔๐๐ – ๙๐๐ และราชกิจจานุเบกษา
๓. ห้องศรีตรัง ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือท้องถิ่นภาคใต้
๔. ห้องมรดกภูมิปัญญา ให้บริการสารสนเทศประเภทเอกสารโบราณ และสิ่งพิมพ์หายาก
๕. ห้องนวนิยาย ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือนิวนิยาย เรื่องสั้น และวรรณกรรมสำหรับเยาวชน
งานบริการ ชั้น ๓
๑. ห้องค้นคว้าและวิจัย ให้บริการสารสนเทศประเภทหนังสือภาษาอังกฤษ วิทยานิพนธ์ และผลงานวิจัย
๒. ห้องสิ่งพิมพ์ล่วงเวลา ให้บริการสารสนเทศประเภทวารสาร และหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลาแบบชั้นปิด ติดต่อและขอใช้บริการโดยตรงที่บรรณารักษ์
บริการที่น่าสนใจ
๑. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
๒. บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
๓.บริการให้คำแนะนำการจัดทำรายการบรรณานุกรม
๔. บริการยืม – คืน (เฉพาะมุม BOOK CLUB)
๕. บริการ Free Wifi (ขอรหัสผ่านที่เจ้าหน้าที่)
(จำนวนผู้เข้าชม 489 ครั้ง)