อะไรในกรุงเทพฯ เล่มที่ ๑
- ย้อนกลับ
- อะไรในกรุงเทพฯ เล่มที่ ๑
ชำนิ แสนทวีสุข. อะไรในกรุงเทพฯ เล่มที่ ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. อุบลราชธานี : สำนักพิมพ์ถิ่นไทยดี, ๒๕๐๗. ๔๓๙ หน้า.
เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่งที่ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับแผ่นดินเมืองไทยคู่กับพระมหาษัตริย์มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ รวม ๔๙ พระองค์ พระราชินี ๔๙ พระองค์ การสร้างพระราชวังตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา มีกำแพงล้อมรอบ จำนวนพระที่นั่งมีรวมทั้งสิ้น ๓๕ พระที่นั่งซึ่งมีความสวยงามที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้าตามแบบศิลปไทยปนแบบะวันตกมี ๓ องค์ ยอดเป็นปราสาทมีมุขกระสันต่อเนื่องกันทั้ง ๓ องค์ สถนที่สำคัญในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีหลายสิ่ง เช่น พระอุโบสถ มณฑป ปราสาทพระเทพบิดร พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสีเขียวมรกต ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ประเทศลาว เป็นมรกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประตูพระบรมมหาราชวัง ชั้นนอกมี ๑๓ ประตู ที่รู้จักเช่น รัตนพิศาล พิมานเทเวศร์ วิเศษไชยศรี มณีนพรัตน์ เป็นต้น ประตูชั้นในมี ๒๕ ประตู เช่น สุวรรณบริบาล พิมนไชยศรี เทวราชดำรงศร ทักษิณสิงหาร พิศาลทักษิณ เป็นต้น มีป้อมรอบกำแพงพระมหาราชวัง ตามขนบธรรมเนียมคนธรรมดาจะไปตายในพระมหาราชวังไม่ได้ ส่วนการเกิดนั้นได้ และมีวังหน้าเป็นที่ประทับของมหาอุปราช ส่วนวังหลวงเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ซึ่งวันหน้าในปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปารก ในปัจจุบันนั่นเอง พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมีทั้งหมด ๒๑ พระที่นั่ง เช่น พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน อิศราวินิจฉัย พุทไธสวรรย์ รัชกาลที่ ๑ มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๑๖ พระองค์ รัชกาลที่ ๒ ๒๐ พระองค์ รัชกาลที่ ๓ ๑๔ พระองค์ รัชกาลที่ ๔ มี ๓๖ พระองค์ รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงกรมมี ๒๘ พระองค์ การสร้างหลักเมืองจะของคู่กันกับเมืองที่สร้าง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ขึ้น ๑๐ ค่ำ ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที คือ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้สร้างหลักเมืองขึ้นใหม่และให้บรรจุดวงชาตาพระนครเข้าไว้ภายในหลักเมืองนี้ด้วย โดยบรรจุดวงชาตาพระนครด้วยแผ่นทองคำหนัก ๑ บาท และให้ปรกอบพิธีภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเทพารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เช่น เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระสยามเทวาธิราช การฉลองพระนครได้กระทำกันมาแล้ว ๒ ครั้ง สมัยรัชกาลที่ ๑ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเพณีการเลียบพระนครมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีกล่าวถึงเงินปี กฎมณเทียรบาล เครื่องราชูปโภค เครื่องนมัสการ พระราชยาน ราชรถ เรือพระที่นั่ง พระราชสถาน พระราชมณเทียร การยิงสลุต ฉัตร มีตั้งแต่ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น การเรียงลำดับชั้นสกุลยศ วงศ์กษัตริย์ไทยมี ๗ วงศ์ ด้วยกัน ปัจจุบันคือวงศ์จักรี ซึ่งพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ใช้นามสกุล “จักรี” ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่น่าสนใจ(จำนวนผู้เข้าชม 1109 ครั้ง)