ภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ
ภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ พบที่โบราณสถานวัดพระนอน
.
จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ผ่านมาพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟในบริเวณเมืองกำแพงเพชรอันได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดพระนอน วัดมณฑป วัดดงมูลเหล็ก วัดหมาผี และวัดกรุสี่ห้อง โดยพบโบราณวัตถุภายในภาชนะซึ่งคาดว่าเป็นของอุทิศให้กับผู้เสียชีวิตรวมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น วัตถุลักษณะคล้ายกระดูกทำรูปกลีบดอกไม้สีแดงจากการขุดแต่งวัดมณฑป บางภาชนะพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ร่วมกับหอยเบี้ย เงินพดด้วงและแหวนทองคำจากการขุดแต่งวัดดงมูลเหล็ก และพบคันฉ่องสำริดร่วมในไหบรรจุกระดูกภายในบริเวณวัดพระธาตุ
.
คำว่า “อุทิศ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ให้ ยกให้ เช่น อุทิศส่วนบุญให้กับผู้ตายตามประเพณี
.
ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ มีเหตุการณ์ฝนตกหนักที่ชะหน้าดินบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของวัดพระนอน ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นใหม่ ได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ ปรากฏโบราณวัตถุร่วมภายในภาชนะคือ คันฉ่องสำริดจำนวน ๑ ชิ้น และ ชิ้นส่วนโลหะ ๑ ชิ้น แจกแจงรายละเอียดการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีดังนี้
.
ภาภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง มีลักษณะคอยาว ปากผายออก ส่วนลำตัวป่องแล้วลาดสอบลงไปบรรจบกับส่วนฐาน ก้นมีลักษณะแบนเรียบ ภายนอกพบร่องรอยของแป้นหมุนปะปนกับร่องรอยการกดด้วยนิ้วมือและทำการเคลือบสีน้ำตาลบริเวณส่วนปากจนถึงส่วนกลางของลำตัว ขอบของน้ำเคลือบไม่เรียบเสมอกัน บริเวณไหล่พบการปั้นแปะรูปทรงก้อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕ เซนติเมตร จำนวนสองตำแหน่ง มีลักษณะสมบูรณ์หนึ่งตำแหน่ง และหลุดหายไปหนึ่งตำแหน่งโดยจุดปั้นแปะทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน พบรูเจาะรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๑.๓ เซนติเมตร โดยขอบบนของรูดังกล่าวอยู่ในแนวรอยต่อของน้ำเคลือบภาชนะ ผิวภาชนะด้านนอกมีสีเทาลักษณะสีมีความไม่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งใบ คาดว่าเกิดจากสีของดินที่นำมาขึ้นรูปภาชนะ และอุณหภูมิในการเผาภาชนะ ด้านในภาชนะมีการเคลือบสีน้ำตาลบริเวณส่วนปากถึงส่วนกลางของคอภาชนะ มีร่องรอยการย้อยลงของน้ำเคลือบ ภายในพบร่องรอยการกดด้วยนิ้วมือชัดเจนตลอดทั้งภาชนะ ผิวภาชนะด้านในมีสีเทา ด้านตัดของเนื้อดินมีสีเทาบริเวณขอบ และมีสีน้ำตาลบริเวณตรงกลาง เนื้อดินค่อนข้างหยาบ ปะปนด้วยหินขนาดเล็ก คาดว่าเกิดจากการเผาภาชนะไม่สุกโดยสมบูรณ์
.
ภาชนะดินเผาใบนี้มีน้ำหนัก ๑,๑๘๘ กรัม ความสูง ๒๒.๘ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนขอบปาก ๑๓.๒ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนคอ ๙ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนลำตัว ๑๖.๔ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนก้น ๑๐.๓ เซนติเมตร และหนา ๐.๖ เซนติเมตร
.
ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ
ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟที่พบในภาชนะมีจำนวนทั้งหมด ๑๒๑ ชิ้น น้ำหนัก ๑๘๑.๓ กรัม โดยพบร่องรอยการเผาไฟและร่องรอยโลหะเหลวบนผิวชิ้นส่วนกระดูกบางชิ้น ทำการจำแนกประเภทตามหลักกายวิภาคศาสตร์ของกระดูกมนุษย์ด้วยตาเปล่า (gross analysis) เป็นจำนวน ๑๐ ประเภท ดังนี้
๑. กะโหลกศีรษะ (skull) จำนวน ๒๘ ชิ้น ได้แก่
- แผ่นกะโหลกศีรษะ (cranial) จำนวน ๘ ชิ้น น้ำหนัก ๑๕ กรัม
- กระดูกขมับ (temporal) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- กรามล่าง (mandible) ด้านขวา จำนวน ๒ ชิ้น น้ำหนัก ๔ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- กรามล่าง (mandible) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๒ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- ฟัน (teeth) สภาพไม่สมบูรณ์ จำนวน ๑๖ ชิ้น น้ำหนักรวม ๓.๓ กรัม เป็นฟันตัด (incisor) จำนวน ๑ ซี่ ฟันกรามล่าง (mandibular molar) จำนวน ๒ ซี่ ฟันกราม (molar) จำนวน ๔ ซี่ ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ จำนวน ๒ ซี่ และรากฟัน จำนวน ๖ ซี่
๒. กระดูกซี่โครง (ribs) จำนวน ๙ ชิ้น น้ำหนัก ๒๐ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๓. กระดูกไหปลาร้า (clavicle) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๔. กระดูกสะบัก (scapula) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๔ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๕. กระดูกปลายแขนท่อนนอก (radius) จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๖. กระดูกหน้าแข้ง (tibia) ด้านขวา จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๒๗ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๗. กระดูกนิ้ว (phalanx) จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๑ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๘. กระดูกยาวไม่สามารถระบุชิ้นส่วนได้ (long bones) จำนวน ๑๖ ชิ้น น้ำหนัก ๗๖ กรัม
๙. กระดูกที่ไม่สามารถระบุชิ้นส่วนได้ (unidentified) จำนวน ๑๐ ชิ้น น้ำหนัก ๑๐ กรัม
๑๐. เศษชิ้นส่วนกระดูก (fragments) จำนวน ๕๓ ชิ้น น้ำหนัก ๑๐ กรัม
.
โบราณวัตถุร่วมภายในภาชนะคือ คันฉ่องจำนวน ๑ ชิ้น และ ชิ้นส่วนโลหะ ๑ ชิ้น ดังนี้
.
คันฉ่อง แผ่นโลหะทรงกลม บาง ด้านหน้ามีสีดำมันวาว ด้านหลังมีสีอ่อนกว่าด้านหน้าเล็กน้อยและด้าน ด้านตัดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเล็กน้อย พบร่องรอยสนิมสีเขียวบริเวณผิววัตถุทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และมีผิวสีน้ำตาลบริเวณที่มีร่องรอยสนิมดังกล่าว มีน้ำหนัก ๒๔ กรัม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๗.๔-๗.๖ เซนติเมตร และมีความหนา ๐.๑ เซนติเมตร
ชิ้นส่วนโลหะ
.
ชิ้นส่วนโลหะลักษณะทรงกระบอก ไม่สามารถวิเคราะห์และสันนิษฐานรูปทรงของโบราณวัตถุได้ มีลักษณะลีบแบน ปรากฏร่องรอยสนิมสีน้ำตาลคล้ายฟองอากาศอยู่บริเวณโดยรอบ ชิ้นส่วนโลหะมีน้ำหนัก ๓ กรัม ขนาดกว้าง ๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓.๘ เซนติเมตร หนา ๐.๐๑ เซนติเมตร และสูง ๐.๔-๐.๙ เซนติเมตร
________________________________________
เอกสารอ้างอิง
พิทยา ดำเด่นงาม. “รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน เมืองเก่ากำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร”. ใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๑๒. คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถาน วัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดดงมูลเหล็ก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร งบกลาง ปีงบประมาณ ๒๕๔๙. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๕๐.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการขุดแต่งวัดกรุสี่ห้อง ในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งโบราณสถานจังหวัดกำแพงเพชร, ๒๕๔๓.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการขุดแต่งวัดมณฑปในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๓.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระธาตุจังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระนอนจังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๕.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเหมลักษณ์ก่อสร้าง. รายงานการบูรณะโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร วัดหมาผี(น.๑๖) วัดรามรณรงค์(น.๔๐) วัดนาคเจ็ดเศียร(น.๑๓) วัดมะเคล็ด(น.๒๖) วัดสระแก้ว(น.๓๒). กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๐.
อนุวัตร คงจันทร์. โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร รายงานการขุดแต่งโบราณสถาน วัดดงมูลเหล็ก ปีงบประมาณ ๒๕๒๕-๒๕๒๙. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๒๗.
White TD, Black MT, Folkens PA. Human osteology. ๓ed: Academic Press; ๒๐๑๑.
.
จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ผ่านมาพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟในบริเวณเมืองกำแพงเพชรอันได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดพระนอน วัดมณฑป วัดดงมูลเหล็ก วัดหมาผี และวัดกรุสี่ห้อง โดยพบโบราณวัตถุภายในภาชนะซึ่งคาดว่าเป็นของอุทิศให้กับผู้เสียชีวิตรวมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น วัตถุลักษณะคล้ายกระดูกทำรูปกลีบดอกไม้สีแดงจากการขุดแต่งวัดมณฑป บางภาชนะพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ร่วมกับหอยเบี้ย เงินพดด้วงและแหวนทองคำจากการขุดแต่งวัดดงมูลเหล็ก และพบคันฉ่องสำริดร่วมในไหบรรจุกระดูกภายในบริเวณวัดพระธาตุ
.
คำว่า “อุทิศ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ให้ ยกให้ เช่น อุทิศส่วนบุญให้กับผู้ตายตามประเพณี
.
ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ มีเหตุการณ์ฝนตกหนักที่ชะหน้าดินบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของวัดพระนอน ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นใหม่ ได้แก่ ภาชนะดินเผาบรรจุชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ ปรากฏโบราณวัตถุร่วมภายในภาชนะคือ คันฉ่องสำริดจำนวน ๑ ชิ้น และ ชิ้นส่วนโลหะ ๑ ชิ้น แจกแจงรายละเอียดการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีดังนี้
.
ภาภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง มีลักษณะคอยาว ปากผายออก ส่วนลำตัวป่องแล้วลาดสอบลงไปบรรจบกับส่วนฐาน ก้นมีลักษณะแบนเรียบ ภายนอกพบร่องรอยของแป้นหมุนปะปนกับร่องรอยการกดด้วยนิ้วมือและทำการเคลือบสีน้ำตาลบริเวณส่วนปากจนถึงส่วนกลางของลำตัว ขอบของน้ำเคลือบไม่เรียบเสมอกัน บริเวณไหล่พบการปั้นแปะรูปทรงก้อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕ เซนติเมตร จำนวนสองตำแหน่ง มีลักษณะสมบูรณ์หนึ่งตำแหน่ง และหลุดหายไปหนึ่งตำแหน่งโดยจุดปั้นแปะทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน พบรูเจาะรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๑.๓ เซนติเมตร โดยขอบบนของรูดังกล่าวอยู่ในแนวรอยต่อของน้ำเคลือบภาชนะ ผิวภาชนะด้านนอกมีสีเทาลักษณะสีมีความไม่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งใบ คาดว่าเกิดจากสีของดินที่นำมาขึ้นรูปภาชนะ และอุณหภูมิในการเผาภาชนะ ด้านในภาชนะมีการเคลือบสีน้ำตาลบริเวณส่วนปากถึงส่วนกลางของคอภาชนะ มีร่องรอยการย้อยลงของน้ำเคลือบ ภายในพบร่องรอยการกดด้วยนิ้วมือชัดเจนตลอดทั้งภาชนะ ผิวภาชนะด้านในมีสีเทา ด้านตัดของเนื้อดินมีสีเทาบริเวณขอบ และมีสีน้ำตาลบริเวณตรงกลาง เนื้อดินค่อนข้างหยาบ ปะปนด้วยหินขนาดเล็ก คาดว่าเกิดจากการเผาภาชนะไม่สุกโดยสมบูรณ์
.
ภาชนะดินเผาใบนี้มีน้ำหนัก ๑,๑๘๘ กรัม ความสูง ๒๒.๘ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนขอบปาก ๑๓.๒ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนคอ ๙ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนลำตัว ๑๖.๔ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนก้น ๑๐.๓ เซนติเมตร และหนา ๐.๖ เซนติเมตร
.
ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟ
ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์เผาไฟที่พบในภาชนะมีจำนวนทั้งหมด ๑๒๑ ชิ้น น้ำหนัก ๑๘๑.๓ กรัม โดยพบร่องรอยการเผาไฟและร่องรอยโลหะเหลวบนผิวชิ้นส่วนกระดูกบางชิ้น ทำการจำแนกประเภทตามหลักกายวิภาคศาสตร์ของกระดูกมนุษย์ด้วยตาเปล่า (gross analysis) เป็นจำนวน ๑๐ ประเภท ดังนี้
๑. กะโหลกศีรษะ (skull) จำนวน ๒๘ ชิ้น ได้แก่
- แผ่นกะโหลกศีรษะ (cranial) จำนวน ๘ ชิ้น น้ำหนัก ๑๕ กรัม
- กระดูกขมับ (temporal) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- กรามล่าง (mandible) ด้านขวา จำนวน ๒ ชิ้น น้ำหนัก ๔ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- กรามล่าง (mandible) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๒ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
- ฟัน (teeth) สภาพไม่สมบูรณ์ จำนวน ๑๖ ชิ้น น้ำหนักรวม ๓.๓ กรัม เป็นฟันตัด (incisor) จำนวน ๑ ซี่ ฟันกรามล่าง (mandibular molar) จำนวน ๒ ซี่ ฟันกราม (molar) จำนวน ๔ ซี่ ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ จำนวน ๒ ซี่ และรากฟัน จำนวน ๖ ซี่
๒. กระดูกซี่โครง (ribs) จำนวน ๙ ชิ้น น้ำหนัก ๒๐ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๓. กระดูกไหปลาร้า (clavicle) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๔. กระดูกสะบัก (scapula) ด้านซ้าย จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๔ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๕. กระดูกปลายแขนท่อนนอก (radius) จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๓ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๖. กระดูกหน้าแข้ง (tibia) ด้านขวา จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๒๗ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๗. กระดูกนิ้ว (phalanx) จำนวน ๑ ชิ้น น้ำหนัก ๑ กรัม สภาพไม่สมบูรณ์
๘. กระดูกยาวไม่สามารถระบุชิ้นส่วนได้ (long bones) จำนวน ๑๖ ชิ้น น้ำหนัก ๗๖ กรัม
๙. กระดูกที่ไม่สามารถระบุชิ้นส่วนได้ (unidentified) จำนวน ๑๐ ชิ้น น้ำหนัก ๑๐ กรัม
๑๐. เศษชิ้นส่วนกระดูก (fragments) จำนวน ๕๓ ชิ้น น้ำหนัก ๑๐ กรัม
.
โบราณวัตถุร่วมภายในภาชนะคือ คันฉ่องจำนวน ๑ ชิ้น และ ชิ้นส่วนโลหะ ๑ ชิ้น ดังนี้
.
คันฉ่อง แผ่นโลหะทรงกลม บาง ด้านหน้ามีสีดำมันวาว ด้านหลังมีสีอ่อนกว่าด้านหน้าเล็กน้อยและด้าน ด้านตัดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเล็กน้อย พบร่องรอยสนิมสีเขียวบริเวณผิววัตถุทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และมีผิวสีน้ำตาลบริเวณที่มีร่องรอยสนิมดังกล่าว มีน้ำหนัก ๒๔ กรัม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๗.๔-๗.๖ เซนติเมตร และมีความหนา ๐.๑ เซนติเมตร
ชิ้นส่วนโลหะ
.
ชิ้นส่วนโลหะลักษณะทรงกระบอก ไม่สามารถวิเคราะห์และสันนิษฐานรูปทรงของโบราณวัตถุได้ มีลักษณะลีบแบน ปรากฏร่องรอยสนิมสีน้ำตาลคล้ายฟองอากาศอยู่บริเวณโดยรอบ ชิ้นส่วนโลหะมีน้ำหนัก ๓ กรัม ขนาดกว้าง ๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓.๘ เซนติเมตร หนา ๐.๐๑ เซนติเมตร และสูง ๐.๔-๐.๙ เซนติเมตร
________________________________________
เอกสารอ้างอิง
พิทยา ดำเด่นงาม. “รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน เมืองเก่ากำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร”. ใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๑๒. คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถาน วัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดดงมูลเหล็ก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร งบกลาง ปีงบประมาณ ๒๕๔๙. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๕๐.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการขุดแต่งวัดกรุสี่ห้อง ในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งโบราณสถานจังหวัดกำแพงเพชร, ๒๕๔๓.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการขุดแต่งวัดมณฑปในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๓.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระธาตุจังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๔.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระนอนจังหวัดกำแพงเพชร. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๕.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเหมลักษณ์ก่อสร้าง. รายงานการบูรณะโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร วัดหมาผี(น.๑๖) วัดรามรณรงค์(น.๔๐) วัดนาคเจ็ดเศียร(น.๑๓) วัดมะเคล็ด(น.๒๖) วัดสระแก้ว(น.๓๒). กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๔๐.
อนุวัตร คงจันทร์. โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร รายงานการขุดแต่งโบราณสถาน วัดดงมูลเหล็ก ปีงบประมาณ ๒๕๒๕-๒๕๒๙. กรมศิลปากร :อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, ๒๕๒๗.
White TD, Black MT, Folkens PA. Human osteology. ๓ed: Academic Press; ๒๐๑๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 727 ครั้ง)