ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร
ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร
.
ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ พื้นที่ปราสาทพระราชวังในสมัยก่อน หรือแม้กระทั่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบันก็มักจะมีองครักษ์ หรือทหารยามคอยเฝ้าระวังรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้เพื่อไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะศาสนสถาน
.
ทวารบาลในศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย เมื่ออาณาจักรเขมรแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย รวมไปถึงการรับเอารูปแบบของประติมากรรมทวารบาล โดยในศิลปะเขมรมักปรากฏทวารบาลเป็นคู่ อยู่หน้าประตูทางเข้าหลักของเทวาลัย ประตูฝั่งขวาจะเป็นที่สถิตของนนทิหรือนนทิเกศวร เทพบุตรซึ่งเป็นบริวารเอกแห่งพระศิวะ ผู้มีใบหน้ายิ้ม เปี่ยมด้วยความเมตตา ส่วนประตูฝั่งซ้ายเป็นที่สถิตของกาลหรือมหากาล ซึ่งเป็นภาคหนึ่งที่โหดร้ายของพระศิวะ หรือบางตำรากล่าวว่ามหากาลคือพระกาฬ เทพแห่งกาลเวลาผู้กลืนกินทุกอย่าง จึงแสดงออกในรูปที่ดุร้าย มีเขี้ยว และมีใบหน้าที่แสยะยิ้มน่ากลัว เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าทุกทิศของปรางค์ประธาน ปรากฏหลุมสำหรับติดตั้งประติมากรรมขนาบอยู่สองข้างสำหรับประติมากรรมทวารบาล ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทพเจ้า ดังที่พบประติมากรรมจำลองบริเวณประตูทางเข้าด้านทิศใต้ของปรางค์ประธาน เป็นประติมากรรมลอยตัวรูปบุคคล มีลักษณะแสดงความเมตตากรุณา น่าจะเป็นประติมากรรมรูปนนทิเกศวร ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างศาสนสถานปราสาทพนมรุ้งเนื่องในไศวนิกาย
.
ความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลที่ประดับเพื่อสื่อถึงความหมายในการปกป้องศาสนสถานที่เมืองกำแพงเพชร ปรากฏประติมากรรมทวารบาลในบริเวณทางเข้าศาสนสถานทั้งที่เป็นรูปบุคคลและรูปสัตว์ โดยที่วัดช้างรอบ ด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธานบริเวณเชิงบันไดเพื่อขึ้นสู่ลานประทักษิณ พบร่องรอยประติมากรรมทวารบาลรูปบุคคล มีลักษณะของโกลนศิลาแลงเป็นเค้าโครงบุคคลแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจนที่สามารถบ่งบอกได้ว่าโกลนศิลาแลงดังกล่าวเป็นทวารบาลรูปเทพหรืออสูร และยังพบโกลนศิลาแลงรูปสิงห์ตั้งอยู่ด้านหน้าทวารบาลรูปบุคคลและทำหน้าที่เป็นทวารบาลเช่นเดียวกัน รูปแบบดังกล่าวยังปรากฏที่วัดสิงห์โบราณสถานวัดสิงห์ แต่พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ นอกจากนี้ที่วัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย บริเวณซุ้มประตูด้านทิศใต้ทางเข้าของกลุ่มเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ปรากฏโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และยังปรากฏชิ้นส่วนปูนปั้นที่สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูปสิงห์ทำหน้าที่เป็นทวารบาลของศาสนสถานแห่งดังกล่าวด้วย
.
นอกจากการประดับประติมากรรมทวารบาลแบบลอยตัวบริเวณทางเข้าศาสนสถานแล้ว ยังพบการทำรูปทวารบาลสำหรับประจำบนบานประตูและบานหน้าต่าง ซึ่งมีทั้งที่จำหลักลงบนไม้และชนิดที่เป็นงานเขียนสี นิยมเป็นภาพเทวดาแต่งกายตามขนบนิยมอย่างไทย
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาหลายแห่งยังคงสืบต่อคติความเชื่อเรื่องทวารบาลต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของทวารบาลที่ในอดีตมักจะปรากฏเฉพาะเทพ อสูร หรือสัตว์ในนิยายเท่านั้น แต่บางพื้นที่ยังพบการทำทวารบาลให้กลายเป็นบุคคลใส่เครื่องแบบทหารถืออาวุธ เช่นที่พบบริเวณหน้าประตูทางเข้าวิหารของวัดโพธิ์ชัยศรี (วัดหลวงพ่อนาค) อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
.
จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบรูปแบบของทวารบาลที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่วัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามการปรากฏลักษณะของทวารบาลบริเวณประตูทางเข้าศาสนสถานหรือสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างสะท้อนความเชื่อเรื่องการปกป้องคุ้มครองสถานที่แห่งดังกล่าว ด้วยรูปแบบประติมานวิทยาที่แสดงถึงความมีพลังอำนาจจากอสูร เทวดา สัตว์ในเทพนิยาย และทหาร
...
..
.
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๔๖.
กรมศิลปากร. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. ๒๕๔๓.
ศุภรัตน์ เรืองโชติ. ประติมากรรมยักษ์ทวารบาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบและคติการสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๐)
ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕)
ปัทมา สาคร. ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓)
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
2 มีนาคม ·
วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๒๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๔ (บ้านใหม่ศรีอุบล) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๘๓ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
1 มีนาคม ·
วันอังคารที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๘.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านถนนน้อย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒๒ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
1 ความคิดเห็น
มีการเลือกความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ดังนั้นความคิดเห็นบางส่วนอาจถูกกรองออก
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
25 กุมภาพันธ์ ·
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๔ คน โดยมีนางสาวพัชราภรณ์ โพธิ์ไกร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๒๓๐ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม... ดูเพิ่มเติม
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
18 กุมภาพันธ์ ·
วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๗๑ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๕๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
ความคิดเห็น 0 รายการ
.
ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ พื้นที่ปราสาทพระราชวังในสมัยก่อน หรือแม้กระทั่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบันก็มักจะมีองครักษ์ หรือทหารยามคอยเฝ้าระวังรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้เพื่อไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะศาสนสถาน
.
ทวารบาลในศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย เมื่ออาณาจักรเขมรแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย รวมไปถึงการรับเอารูปแบบของประติมากรรมทวารบาล โดยในศิลปะเขมรมักปรากฏทวารบาลเป็นคู่ อยู่หน้าประตูทางเข้าหลักของเทวาลัย ประตูฝั่งขวาจะเป็นที่สถิตของนนทิหรือนนทิเกศวร เทพบุตรซึ่งเป็นบริวารเอกแห่งพระศิวะ ผู้มีใบหน้ายิ้ม เปี่ยมด้วยความเมตตา ส่วนประตูฝั่งซ้ายเป็นที่สถิตของกาลหรือมหากาล ซึ่งเป็นภาคหนึ่งที่โหดร้ายของพระศิวะ หรือบางตำรากล่าวว่ามหากาลคือพระกาฬ เทพแห่งกาลเวลาผู้กลืนกินทุกอย่าง จึงแสดงออกในรูปที่ดุร้าย มีเขี้ยว และมีใบหน้าที่แสยะยิ้มน่ากลัว เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าทุกทิศของปรางค์ประธาน ปรากฏหลุมสำหรับติดตั้งประติมากรรมขนาบอยู่สองข้างสำหรับประติมากรรมทวารบาล ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทพเจ้า ดังที่พบประติมากรรมจำลองบริเวณประตูทางเข้าด้านทิศใต้ของปรางค์ประธาน เป็นประติมากรรมลอยตัวรูปบุคคล มีลักษณะแสดงความเมตตากรุณา น่าจะเป็นประติมากรรมรูปนนทิเกศวร ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างศาสนสถานปราสาทพนมรุ้งเนื่องในไศวนิกาย
.
ความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลที่ประดับเพื่อสื่อถึงความหมายในการปกป้องศาสนสถานที่เมืองกำแพงเพชร ปรากฏประติมากรรมทวารบาลในบริเวณทางเข้าศาสนสถานทั้งที่เป็นรูปบุคคลและรูปสัตว์ โดยที่วัดช้างรอบ ด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธานบริเวณเชิงบันไดเพื่อขึ้นสู่ลานประทักษิณ พบร่องรอยประติมากรรมทวารบาลรูปบุคคล มีลักษณะของโกลนศิลาแลงเป็นเค้าโครงบุคคลแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจนที่สามารถบ่งบอกได้ว่าโกลนศิลาแลงดังกล่าวเป็นทวารบาลรูปเทพหรืออสูร และยังพบโกลนศิลาแลงรูปสิงห์ตั้งอยู่ด้านหน้าทวารบาลรูปบุคคลและทำหน้าที่เป็นทวารบาลเช่นเดียวกัน รูปแบบดังกล่าวยังปรากฏที่วัดสิงห์โบราณสถานวัดสิงห์ แต่พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ นอกจากนี้ที่วัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย บริเวณซุ้มประตูด้านทิศใต้ทางเข้าของกลุ่มเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ปรากฏโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และยังปรากฏชิ้นส่วนปูนปั้นที่สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูปสิงห์ทำหน้าที่เป็นทวารบาลของศาสนสถานแห่งดังกล่าวด้วย
.
นอกจากการประดับประติมากรรมทวารบาลแบบลอยตัวบริเวณทางเข้าศาสนสถานแล้ว ยังพบการทำรูปทวารบาลสำหรับประจำบนบานประตูและบานหน้าต่าง ซึ่งมีทั้งที่จำหลักลงบนไม้และชนิดที่เป็นงานเขียนสี นิยมเป็นภาพเทวดาแต่งกายตามขนบนิยมอย่างไทย
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาหลายแห่งยังคงสืบต่อคติความเชื่อเรื่องทวารบาลต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของทวารบาลที่ในอดีตมักจะปรากฏเฉพาะเทพ อสูร หรือสัตว์ในนิยายเท่านั้น แต่บางพื้นที่ยังพบการทำทวารบาลให้กลายเป็นบุคคลใส่เครื่องแบบทหารถืออาวุธ เช่นที่พบบริเวณหน้าประตูทางเข้าวิหารของวัดโพธิ์ชัยศรี (วัดหลวงพ่อนาค) อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
.
จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบรูปแบบของทวารบาลที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่วัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามการปรากฏลักษณะของทวารบาลบริเวณประตูทางเข้าศาสนสถานหรือสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างสะท้อนความเชื่อเรื่องการปกป้องคุ้มครองสถานที่แห่งดังกล่าว ด้วยรูปแบบประติมานวิทยาที่แสดงถึงความมีพลังอำนาจจากอสูร เทวดา สัตว์ในเทพนิยาย และทหาร
...
..
.
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๔๖.
กรมศิลปากร. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. ๒๕๔๓.
ศุภรัตน์ เรืองโชติ. ประติมากรรมยักษ์ทวารบาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบและคติการสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๐)
ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕)
ปัทมา สาคร. ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓)
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
2 มีนาคม ·
วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๒๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๔ (บ้านใหม่ศรีอุบล) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๘๓ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
1 มีนาคม ·
วันอังคารที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๘.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านถนนน้อย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒๒ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
1 ความคิดเห็น
มีการเลือกความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ดังนั้นความคิดเห็นบางส่วนอาจถูกกรองออก
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
25 กุมภาพันธ์ ·
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๔ คน โดยมีนางสาวพัชราภรณ์ โพธิ์ไกร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๒๓๐ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม... ดูเพิ่มเติม
ความคิดเห็น 0 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
18 กุมภาพันธ์ ·
วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้
๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๗๑ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
๒. เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๕๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม
ความคิดเห็น 0 รายการ
(จำนวนผู้เข้าชม 3038 ครั้ง)