Thai
English
ก
ก
ก
C
C
C
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
The 9th Regional Office of Fine Arts, Ubon Ratchathani
เว็บท่ากรมศิลปากร
สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
ก
ก
ก
C
C
C
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คชลักษมี “พระศรี” แห่งความเจริญรุ่งเรืองของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
พระศรี-ลักษมี เป็นเทพีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะพระชายาของพระวิษณุ และเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความเจริญงอกงาม ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งร่ำรวย โดยมีพื้นฐานความเชื่อมาจากคติการบูชาพระแม่ (Mother Goddess) ในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
ลักษณะของพระศรี-ลักษมี มักปรากฏในรูปของสตรีสวมศิราภรณ์แบบกษัตริย์ พระหัตถ์ทั้งสองถือดอกบัว นอกจากนี้ยังพบรูปพระศรี-ลักษมี ในอีก 8 ปาง หรือที่เรียกว่า อัษฏลักษมี ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคัมภีร์ โดยหนึ่งปางของพระศรี-ลักษมีที่ปรากฏทุกคัมภีร์และมีความสำคัญยิ่ง คือ คชลักษมี
คชลักษมี หรือ อภิเษกลักษมี เป็นตอนที่พระลักษมีปรากฏขึ้นมาตอนกวนเกษียรสมุทร และได้อัญเชิญพระลักษมีชำระล้างร่างกาย ก่อนที่จะถวายพระองค์แก่พระวิษณุ มักปรากฏการแสดงภาพคชลักษมีด้วยภาพพระลักษมีประทับนั่งตรงกลาง ด้านข้างขนาบด้วยช้างสองเชือกกำลังรดน้ำบนพระเศียร
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย พบภาพสลักคชลักษมีบนทับหลัง จากบรรณาลัยของอโรคยศาล ปราสาทโคกงิ้ว อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายมาจากปราสาทหลังอื่นในบริเวณใกล้เคียง และรูปคชลักษมีที่สำคัญอีกภาพ ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายได้นำมาจัดแสดงบริเวณอาคารศิลาจำหลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนหน้าบันรูปคชลักษมี พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่ปราสาทพะโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา แม้รูปพระลักษมีจะแตกหักหาย แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า หน้าบันนี้คงสลักเป็นภาพคชลักษมี เนื่องจากมีการสลักภาพช้างสองเชือกยืนสองขาเพื่อรดน้ำแก่พระลักษมีตรงกลาง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบโดยทั่วไปของคชลักษมี
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวนัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
(จำนวนผู้เข้าชม 16552 ครั้ง)