วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
เผยโฉมหน้าประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก ด้วยภาพภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณอันงดงามโดดเด่นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
……………………………………………………………………………………….
โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เรียกอีกชื่อว่า “วัดใหญ่” หรือ “วัดพระพุทธชินราช” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน และอยู่ภายในพื้นที่ด้านตะวันออกของเมืองพิษณุโลก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๑ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขอบเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๖ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา
.
จากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ทั้งเอกสารทางประวัติศาสตร์ตลอดจนโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ทำให้ทราบว่า โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ โดยมีลักษณะการสร้างตามคติการสร้างพระบรมธาตุเป็นหลักของเมืองที่แพร่หลายในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและดินแดนใกล้เคียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ลงมา เช่นเดียวกับที่วัดมหาธาตุในเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่มักพบในสมัยสุโขทัย ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน และมีวิหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออก โดยวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งคติการสร้างพระอัฏฐารสนี้ เป็นคติการสร้างที่นิยมในสมัยสุโขทัย
.
ต่อมาสมัยอยุธยา ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งซ่อมแซมดัดแปลงมหาธาตุให้เป็นพระปรางค์แบบอยุธยา มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแผนผังของวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ให้หันลงแม่น้ำตามคติการสร้างวัดของกลุ่มคนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อความเหมาะสมกับสภาพเมืองที่มีแม่น้ำผ่ากลาง จากนั้นคงได้มีการบูรณะและก่อสร้างพระวิหาร ระเบียงคด และพระอุโบสถให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงนี้ด้วย
.
วิหารด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทั้งยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญยิ่งที่พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จมาทำการสักการะบูชา ดังปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธชินราชที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ในพระราชนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จไปเมืองพิษณุโลกว่า
“เป็นธรรมเนียมเจ้านายไปถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว ก็ต้องกระทำการสมโภชพระพุทธชินราช”
.
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบพระคุณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณ เผยความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากสุดปรากฎสู่สายตาประชาชน และมีส่วนสำคัญให้แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้คงอยู่อย่างสง่างามคู่กับประเทศไทยสืบไป
.
#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร #วัดใหญ่ #วัดพระพุทธชินราช
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก
#โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง
.
……………………………………………………………………………………….
☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆
กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/fad6sukhothai
Youtube https://www.youtube.com/c/สํานักศิลปากรที่6สุโขทัย
……………………………………………………………………………………….
โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เรียกอีกชื่อว่า “วัดใหญ่” หรือ “วัดพระพุทธชินราช” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน และอยู่ภายในพื้นที่ด้านตะวันออกของเมืองพิษณุโลก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๑ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขอบเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๖ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา
.
จากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ทั้งเอกสารทางประวัติศาสตร์ตลอดจนโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ทำให้ทราบว่า โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ โดยมีลักษณะการสร้างตามคติการสร้างพระบรมธาตุเป็นหลักของเมืองที่แพร่หลายในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและดินแดนใกล้เคียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ลงมา เช่นเดียวกับที่วัดมหาธาตุในเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่มักพบในสมัยสุโขทัย ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน และมีวิหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออก โดยวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งคติการสร้างพระอัฏฐารสนี้ เป็นคติการสร้างที่นิยมในสมัยสุโขทัย
.
ต่อมาสมัยอยุธยา ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งซ่อมแซมดัดแปลงมหาธาตุให้เป็นพระปรางค์แบบอยุธยา มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแผนผังของวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ให้หันลงแม่น้ำตามคติการสร้างวัดของกลุ่มคนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อความเหมาะสมกับสภาพเมืองที่มีแม่น้ำผ่ากลาง จากนั้นคงได้มีการบูรณะและก่อสร้างพระวิหาร ระเบียงคด และพระอุโบสถให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงนี้ด้วย
.
วิหารด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทั้งยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญยิ่งที่พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จมาทำการสักการะบูชา ดังปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธชินราชที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ในพระราชนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จไปเมืองพิษณุโลกว่า
“เป็นธรรมเนียมเจ้านายไปถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว ก็ต้องกระทำการสมโภชพระพุทธชินราช”
.
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบพระคุณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณ เผยความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากสุดปรากฎสู่สายตาประชาชน และมีส่วนสำคัญให้แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้คงอยู่อย่างสง่างามคู่กับประเทศไทยสืบไป
.
#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร #วัดใหญ่ #วัดพระพุทธชินราช
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก
#โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง
.
……………………………………………………………………………………….
☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆
กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่
Facebook Fanpage https://www.facebook.com/fad6sukhothai
Youtube https://www.youtube.com/c/สํานักศิลปากรที่6สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 2013 ครั้ง)