วัดจุฬามณี 6
#วัดจุฬามณี๖ #การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับพระปรางค์วัดจุฬามณี๑
การก่อสร้างพระปรางค์ประธานวัดจุฬามณีไม่มีประวัติระบุไว้ชัดเจน บ้างว่าอาจจะสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงที่อาณาจักรเขมรโบราณปกครองพื้นที่ภาคกลาง หรือเพิ่งสร้างขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปัจจุบันมีนักวิชาการเสนอแนวคิด เรื่องอายุสมัยการสร้างพระปรางค์วัดจุฬามณีไว้ ๒ ช่วง คือ กลุ่มแรกเชื่อว่าสร้างในช่วงพุทธศตวรรษ ๑๖ – ๑๘ ช่วงที่ภาคกลางอยู่ภายใต้อิทธิพลอาณาจักรเขมร ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าสร้างเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียด เรียงลำดับตามพัฒนาการของแนวความคิดต่อไป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๕๑) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” เมื่อครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ ทรงมีความเห็นในแนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณีเป็นของมีอยู่แต่เดิม ก่อนที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะมาปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมา ดังนี้
“...ในเวลานี้ในวัดจุฬามณียังมีที่ดูได้มาก ของควรดูล้วนอยู่ในลานอันหนึ่ง กว้าง ๑ เส้น ๔ วา ยาว ๒ เส้น ๑๗ วา มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐสูงประมาณ ๒ ศอก กลางลานมีพระปรางค์ใหญ่ก่อด้วยแลงทางด้านตะวันตกมีอุโบสถก่อด้วยอิฐ ด้านตะวันออกมีวิหารใหญ่ ผนังอิฐแต่เสาเป็นแลง ต่อวิหารออกไปทางมุมลานด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีมณฑป ที่ผนังหลังมณฑปมีแผ่นศิลาจารึที่กล่าวถึงแล้วข้างบนนี้ มีซุ้มและกรอบสำหรับศิลานั้นด้วย สังเกตดูสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้เป็นวัดโบราณ มีอยู่แต่ก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๆ ได้มาทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น และทำพระวิหารเพิ่มเติมขึ้น พระเจดีย์กลางนั้นคงเป็นของมีอยู่แต่เดิม...”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๔๖๔) ทรงเสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณีเดิมเป็นเทวสถานของขอม ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้เปลี่ยนจากเทวสถานมาเป็นพระปรางค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน รายละเอียดตามที่ปรากกฎในหนังสือเรื่อง “เที่ยวตามทางรถไฟ” ดังนี้
“วัดจุฬามณีอยู่ริมน้ำฝั่งตะวันออก ใต้เมืองพิษณุโลกลงไปทางเรือสัก ๘ กิโลเมตร วัดนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ทรงสร้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๗ สร้างตรงที่เมืองเดิมแต่ครั้งขอมแปลงเทวสถานของขอมเป็นพระปรางค์ ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง”
ภาพถ่ายเก่าพระปรางค์วัดจุฬามณีเท่าที่สืบค้นได้ น่าจะเป็นภาพฟิล์มกระจกที่ถ่ายเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๕๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จที่วัดจุฬามณี จากนั้นจึงได้ตีพิมพ์ภาพลงในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ส่วนภาพฟิล์มกระจกอื่น ๆ ไม่สามารถระบุปีได้ แต่น่าจะถ่ายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน จากภาพจะเห็นได้ว่า พระปรางค์แต่เดิมนั้นส่วนยอดพังลงมากองอยู่บนพื้นดินด้านทิศใต้ขององค์ปรางค์
ในส่วนของชุดภาพฟิล์มเนกาทีฟขาวดำที่ถ่ายโดย Bernard-Philippe Groslier นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสแห่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นภาพถ่ายหลังจากพระปรางค์วัดจุฬามณี ได้รับการขุดแต่งบูรณะเสริมความมั่นคงโดยกรมศิลปากรแล้ว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙ จะเห็นว่าดินและเศษอิฐที่ทับถมอยู่บริเวณฐานด้านทิศใต้ของปรางค์ได้ขุดแต่งออกไปแล้ว แต่ส่วนยอดที่หักพังลงมายังไม่รับการบูรณะนำขึ้นไปติดตั้งไว้ยังตำแหน่งเดิมแล้วดังสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง:
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2451). เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2484). เที่ยวตามทางรถไฟ. พระนคร:
โรงพิมพ์ออมสิน. [พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางแพ สุขสุภา และนายสมนึก สุขสุภา ณ วัดไตรมิตต์
วิทยาราม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2484]
ที่มาของภาพ:
- ภาพฟิล์มกระจก ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
https://archives.nat.go.th/th-th/
- Bernard-Philippe Groslier photo collection
https://collection.efeo.fr/ws/web/app/report/les-fonds.html
#วัดจุฬามณี #พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า #ภาพฟิล์มกระจก
การก่อสร้างพระปรางค์ประธานวัดจุฬามณีไม่มีประวัติระบุไว้ชัดเจน บ้างว่าอาจจะสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงที่อาณาจักรเขมรโบราณปกครองพื้นที่ภาคกลาง หรือเพิ่งสร้างขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปัจจุบันมีนักวิชาการเสนอแนวคิด เรื่องอายุสมัยการสร้างพระปรางค์วัดจุฬามณีไว้ ๒ ช่วง คือ กลุ่มแรกเชื่อว่าสร้างในช่วงพุทธศตวรรษ ๑๖ – ๑๘ ช่วงที่ภาคกลางอยู่ภายใต้อิทธิพลอาณาจักรเขมร ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าสร้างเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียด เรียงลำดับตามพัฒนาการของแนวความคิดต่อไป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๕๑) ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” เมื่อครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ ทรงมีความเห็นในแนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณีเป็นของมีอยู่แต่เดิม ก่อนที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะมาปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมา ดังนี้
“...ในเวลานี้ในวัดจุฬามณียังมีที่ดูได้มาก ของควรดูล้วนอยู่ในลานอันหนึ่ง กว้าง ๑ เส้น ๔ วา ยาว ๒ เส้น ๑๗ วา มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐสูงประมาณ ๒ ศอก กลางลานมีพระปรางค์ใหญ่ก่อด้วยแลงทางด้านตะวันตกมีอุโบสถก่อด้วยอิฐ ด้านตะวันออกมีวิหารใหญ่ ผนังอิฐแต่เสาเป็นแลง ต่อวิหารออกไปทางมุมลานด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีมณฑป ที่ผนังหลังมณฑปมีแผ่นศิลาจารึที่กล่าวถึงแล้วข้างบนนี้ มีซุ้มและกรอบสำหรับศิลานั้นด้วย สังเกตดูสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้เป็นวัดโบราณ มีอยู่แต่ก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๆ ได้มาทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น และทำพระวิหารเพิ่มเติมขึ้น พระเจดีย์กลางนั้นคงเป็นของมีอยู่แต่เดิม...”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๔๖๔) ทรงเสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณีเดิมเป็นเทวสถานของขอม ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้เปลี่ยนจากเทวสถานมาเป็นพระปรางค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน รายละเอียดตามที่ปรากกฎในหนังสือเรื่อง “เที่ยวตามทางรถไฟ” ดังนี้
“วัดจุฬามณีอยู่ริมน้ำฝั่งตะวันออก ใต้เมืองพิษณุโลกลงไปทางเรือสัก ๘ กิโลเมตร วัดนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ทรงสร้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๗ สร้างตรงที่เมืองเดิมแต่ครั้งขอมแปลงเทวสถานของขอมเป็นพระปรางค์ ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง”
ภาพถ่ายเก่าพระปรางค์วัดจุฬามณีเท่าที่สืบค้นได้ น่าจะเป็นภาพฟิล์มกระจกที่ถ่ายเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๕๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จที่วัดจุฬามณี จากนั้นจึงได้ตีพิมพ์ภาพลงในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ส่วนภาพฟิล์มกระจกอื่น ๆ ไม่สามารถระบุปีได้ แต่น่าจะถ่ายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน จากภาพจะเห็นได้ว่า พระปรางค์แต่เดิมนั้นส่วนยอดพังลงมากองอยู่บนพื้นดินด้านทิศใต้ขององค์ปรางค์
ในส่วนของชุดภาพฟิล์มเนกาทีฟขาวดำที่ถ่ายโดย Bernard-Philippe Groslier นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสแห่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นภาพถ่ายหลังจากพระปรางค์วัดจุฬามณี ได้รับการขุดแต่งบูรณะเสริมความมั่นคงโดยกรมศิลปากรแล้ว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙ จะเห็นว่าดินและเศษอิฐที่ทับถมอยู่บริเวณฐานด้านทิศใต้ของปรางค์ได้ขุดแต่งออกไปแล้ว แต่ส่วนยอดที่หักพังลงมายังไม่รับการบูรณะนำขึ้นไปติดตั้งไว้ยังตำแหน่งเดิมแล้วดังสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง:
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2451). เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2484). เที่ยวตามทางรถไฟ. พระนคร:
โรงพิมพ์ออมสิน. [พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางแพ สุขสุภา และนายสมนึก สุขสุภา ณ วัดไตรมิตต์
วิทยาราม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2484]
ที่มาของภาพ:
- ภาพฟิล์มกระจก ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
https://archives.nat.go.th/th-th/
- Bernard-Philippe Groslier photo collection
https://collection.efeo.fr/ws/web/app/report/les-fonds.html
#วัดจุฬามณี #พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า #ภาพฟิล์มกระจก
(จำนวนผู้เข้าชม 1008 ครั้ง)