เกี่ยวกับหน่วยงาน
แรกเริ่มกรมศิลปากรจัดตั้งเป็นหน่วยศิลปากรที่ ๑ – ๙ เพื่อดูแลงานโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีทั่วประเทศในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบนกำหนดหน่วยงานคือ หน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัย สังกัดกองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘ พระราชกฤษฎีรวมกองโบราณคดีและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรประกาศจัดตั้งสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑ – ๑๒แทน หน่วยศิลปากรที่ ๑ – ๙ในส่วนของหน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัย เปลี่ยนเป็นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๕ สุโขทัย สังกัดสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๔๕ แยกสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดตั้งสำนักงานศิลปากรที่ ๑-๑๕ แทนสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑ - ๑๒ ในส่วนของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที ๕ สุโขทัย เปลี่ยนเป็นสำนักงานศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมฉบับที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๙ ให้จัดตั้งสำนักศิลปากรที่ ๑ – ๑๕ เป็นส่วนราชการภายในกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาค ในส่วนของสำนักงานศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย เปลี่ยนเป็นสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ๖ จังหวัด คือ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลกและอุตรดิตถ์ ยกเว้นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากร ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
ตามประกาศกรมศิลปากร ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ แบ่งส่วนราชการของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กลุ่มโบราณคดี กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายกสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราชพิษณุโลก
คำสั่งกรมศิลปากรที่ ๒๑/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ ให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
ภารกิจและอำนาจหน้าที่
๑) ดำเนินงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในการธำรงรักษาคุณค่าและเอกลักษณ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านโบราณคดี โบราณสถาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี เอกสาร หนังสือ จดหมายเหตุ นาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม๒) กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) ปฏิบัติงานทางวิชาการด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ พัฒนา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด และเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากมรดกทางศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ
๔) ส่งเสริมและประสานการดำเนินงานทางวิชาการของหน่วยงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๕) สร้างความรู้ ความร่วมมือ ให้คำแนะนำ และประสานงานกับจังหวัด หน่วยงานราชการอื่นๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนและประชาชนในการดำเนินงานมรดกทางศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งขยายเครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(จำนวนผู้เข้าชม 460 ครั้ง)
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรคุณภาพด้านการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมไปสู่เป้าหมายที่สังคมพึงพอใจค่านิยมองค์กร
คนสะอาด สถานที่สะอาด ขยัน ซิ่อสัตย์ โปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรมความคาดหวัง
เป็นองค์กรที่ปฎิบัติหน้าที่ตามนโยบายแห่งรัญอย่างเข้มแข็งเต็มความสามารถ ดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายและแผน ยุทธศาสตร์ระดับชาติ กระทรวงและกรม เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน คนในองค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความเป็น มืออาชีพ ซื่อสัตย์ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป้าหมาย
๑). พัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ให้หน่วยงานอื่นๆ ใช้อ้างอิงมาตรฐานในการดำเนินงานด้านมรดกศิลป วัฒนธรรมของชาติ ประชาชนและสังคมได้ประโยชน์จากการทำงาน๒). มีระบบการจัดการและปฎิบัติการที่ดี ให้การสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ประชาชนเข้าถึง ข้อมูลและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓). ส่งเสริมคนในองค์กรทำงานอย่างมีระเบียบวินัย โปร่งใส เป็นธรรม
ผลลัพธ์
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพ พัฒนาองค์กร ประชาชนพึงพอใจ เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม การแบ่งส่วนราชการภายใน๑. ผ่ายบริหารทั่วไป
๒. กลุ่มโบราณคดี
๓. กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน
๔. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย
๕. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก สุโขทัย
๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
๗. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช พิษณุโลก
๘. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
๙. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
๑๐. อุทยานประวิติศาสตร์กำแพงเพชร
(จำนวนผู้เข้าชม 491 ครั้ง)