...

การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีหนองบัวลาย"

การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."กุฏิฤาษีหนองบัวลาย"

โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส

กุฏิฤาษีหนองบัวลาย หมู่ที่ ๗ บ้านหนองบัวลาย ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๕๕ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๓ งาน ๗๑ ตารางวา

องค์ประกอบของโบราณสถาน

๑.ปรางค์ เป็นปรางค์ขอมสร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรัสย่อมุม มีขนาดประมาณ ๕x๕ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีซุ้มยื่นออกไปเป็นช่องประตู ขนาดประมาณ ๒.๖๐x๓ เมตร ผนังของซุ้มด้านทิศใต้เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง ส่วนด้านอื่นๆทำเป็นซุ้มประตูหลอก ยอดปรางค์ประธาน ทำเป็นบัวเชิงบาตร ๔ ชั้น แต่ล่ะชั้นมีกลีบขนุนหินทรายจำหลักลวดลาย ส่วนยอดบนสุดเป็นบัวกลุ่ม

๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน ภายในกำแพงแก้ว ปัจจุบันสภาพพังทลาย

๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๕.๗๐x๓๑.๗๐ เมตร มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูเป็นหินทราย ผนังซุ้มประตูด้านทิศเหนือเจาะช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง

๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกกำแพงแก้วของกุฏิฤาษีหนองบัวลาย

(จำนวนผู้เข้าชม 331 ครั้ง)