...

การดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดีภาพสลักผาจันทร์แดง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
การดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดีภาพสลักผาจันทร์แดง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
การสลักรูปรอยลงบนผนังถ้ำและเพิงหินให้เป็นภาพต่างๆ โดยการใช้ของแข็ง ขูดขีด ตอก แกะสลัก นั้น (Petroglyph) เพิงหินภาพสลักผาจันทร์แดง มีความกว้าง 4.8 เมตร สูงจากพื้นดิน 1.06 เมตร โดยพบร่องรอยการสลักจากเครื่องมือโลหะ ทั้งนี้ แบ่ง ภาพสลักที่พบ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ภาพสลัก กลุ่มที่ 1 สลักรูปสามเหลี่ยม คว่ำ และ หงาย จำนวน 6 รูป
ภาพสลัก กลุ่มที่ 2 สลักรูปสามเหลี่ยม คว่ำ และ หงาย จำนวน 3 รูปและพบร่องรอยการใช้เครื่องมือโลหะฝนลับกับเพิงหิน จำนวน 9 จุด
ภาพสลัก กลุ่มที่ 3 สลักรูปสามเหลี่ยม คว่ำ และ หงาย 5 รูป และขูดเป็นเส้น
สันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีประเภทภาพสลัก ที่พบทั้งหมด คงมีอายุ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก เป็นต้นมา (2,500-1,500 ปีมาแล้ว) เพราะเครื่องมือที่ใช้ในการสลักนั้น จะต้องเป็นเครื่องมือเหล็ก เพราะมีความแหลมคม และมีความแข็งแรง ทนทานกว่า เครื่องมือประเภทอื่นๆ
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบ แหล่งโบราณคดีประเภทภาพสลัก พบว่า ภาพสลักจากเพิงหินภูอ่าง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และถ้ำเรขาคณิต อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะคล้ายกับภาพสลักเพิงหินผาจันทร์แดงมากที่สุด เพราะมีองค์ประกอบภาพสลัก เป็นภาพลายเส้นเรขาคณิต คล้ายคลึงกัน
การใช้งานพื้นที่
เนื่องจากพบตาน้ำธรรมชาติอยู่เหนือเพิงหิน จึงสันนิษฐานว่า เป็นการขูดขีดสัญลักษณ์ เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของพื้นที่ตาน้ำแห่งนี้
คณะสำรวจ
1. นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
2. นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
3. นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
4. นายสมศักดิ์ ฉัตรทอง พนักงานจำหน่ายบัตร
5. นายอมรวุฒิ สังข์ศิลปชัย พนักงานขับรถ
6. นายประจิน ลออพงศ์ช สมาชิก อบต.บักดองหมู่ที่ 11
7. นายกิติพงษ์ นิลจำปา ผู้ช่วยนักวิชาการเกษตร อบต.บักดอง
8. นายบุญญฤทธิ์ บูรณ์เจริญ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านภูดินพัฒนา

(จำนวนผู้เข้าชม 2023 ครั้ง)


Messenger