...

วัดคงคาราม

วัดคงคาราม

          วัดคงคาราม  ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ตามประวัติระบุว่า ตั้งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๒๐ โดยเจ้าเมืองรามัญ ๗ เมือง อันได้แก่ พระสมิงสิงหบุรินทร์ เมืองสิงห์ พระนินนะ ภูมินบดี เมืองลุ่มสุ่ม พระชินติฐบดี เมืองท่าตะกั่ว พระนิโครธาภิโยค เมืองไทรโยค พระปนัสติฐบดี เมืองท่าขนุน พระเสลภูมิบดี เมืองทองผาภูมิ และพระผลกติฐบดี เมืองท่ากระดาน พร้อมครอบครัวชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดคงคารามขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของสงฆ์รามัญนิกาย ต่อมาเป็นศูนย์รวมของชาวมอญในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ พระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ขุนนางไทยเชื้อสายมอญได้นิมนต์พระครูรามัญญาธิบดี พระราชาคณะฝ่ายรามัญนิกายมาเป็นเจ้าอาวาส  วัดมีชื่อเรียกเป็นภาษามอญว่า “เภี้ยโต้” แปลว่า วัดกลาง วัดคงคารามเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ ๔  โดยเจ้าจอมมารดากลิ่นในรัชกาลที่ ๔ เป็นผู้อุปถัมภ์และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง จึงทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดคงคาราม”    

          สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ซึ่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยช่างสกุลกรุงเทพฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓  เป็นรูปพระอดีตพุทธเจ้า ภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ และทศชาติชาดก โดยรอบพระอุโบสถมีเจดีย์แบบมอญจำนวน ๗ องค์ อันหมายถึงเมืองรามัญ ๗ เมือง นอกจากนี้ยังมีเรือนไม้สักทรงไทยขนาดใหญ่เป็นพิเศษที่มีงานสลักไม้อย่างวิจิตรที่บานหน้าต่าง คือ กุฏิเจ็ดห้อง และกุฏิเก้าห้อง 

          กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดคงคารามในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๓๖  วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘

 

Wat Khongkharam

          Wat Khongkharam is located in Khlong Ta Khot Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province. The temple was established in 1777 during the Thon Buri period by the governors of seven Mon cities, namely, Phra Saming Singha Burin of Sing City, Phra Ninna Phuminabodi of Lumsum City, Phra Chintithabodi of Tha Takua City, Phra Nikhrothaphiyok of Sai Yok City, 

Phra Panatsatithabodi of Tha Khanun City, Phra Selaphumbodi of Thong Pha Phum City, and Phra Pholkatithabodi of Tha Kradan City, along with Mon people who resettled on the banks of Mae Klong River. The Mon governors and people restored Wat Khongkharam as the central temple for Buddhist monks of Ramanna Nikaya (Mon order). Later, the temple became the center for Mon people in Ratchaburi and neighboring provinces. In the late King Rama II’s reign, Phraya Mahayotha (Cheng Khotchaseni), a Thai lord of Mon ancestry, invited Phra Khru Ramanthibodi, a monk from Ramanna Nikaya, to be an abbot of the temple. The temple was called in Mon language “Phia To,” which means Wat Klang (the central temple). The glory of Wat Khongkharam reached its pinnacle in the reign of King Rama IV when Chao Chom Manda Klin, the King’s consort, became a patron of the temple and offered the temple to become 

a royal temple. Thus, King Rama VI bestowed on the temple a new name “Wat Khongkharam.”

          Important buildings in the monastery are the ordination hall, Mon-style chedis, and traditional Thai-style monk quarters. The ordination hall of Wat Khongkharam is famous for its mural paintings by Bangkok craftsmen during the late King Rama III’s reign. The murals illustrate Buddhas of the past, an assembly of devas (heavenly beings), Buddha’s life events, and some of the Jataka Tales (stories of the previous births of Buddha). The ordination hall is surrounded by seven Mon-style chedis, signifying the seven Mon cities. The temple’s traditional Thai-style monk quarters, the seven-room Kuti and nine-room Kuti, are made of teak wood and are special in their largeness and gorgeously carved wooden windows.

          The Fine Arts Department announced the registration of Wat Khongkharam as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 92, Part 136, dated 21st July 1975.

 

(จำนวนผู้เข้าชม 24 ครั้ง)


Messenger