...

เฟิ่งหวง : นกมงคลในความเชื่อของวัฒนธรรมจีน
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
เฟิ่งหวง : นกมงคลในความเชื่อของวัฒนธรรมจีน
จานลายครามสมัยราชวงศ์หมิงใบหนึ่ง ที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดหนานช้าง ในเขตเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีการเขียนภาพ ซาน เฟิ่งหวง หั่วจู หรือ ราชาแห่งนกทั้งสามกับไข่มุกไฟ ซึ่งมีความหมายมงคล ดังนี้
.
เฟิ่งหวง (凤凰)  หรือ ราชาแห่งนกทั้งปวงในวัฒนธรรมจีน มักปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะและวรรณกรรมของจีนการปรากฏตัวของเฟิ่งหวงเป็นลางบอกถึงสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ความเมตตา คุณธรรม ความยั่งยืน ความเป็นอมตะ
เฟิ่งหวง เกิดขึ้นประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว วาดเป็นนกตัวผู้  (เฟิ่ง) และ นกตัวเมีย (หวง) ต่อมาถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็น “เฟิ่งหวง” นกเพศเมีย ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนจักรพรรดินี
เมื่อแปลคำว่า เฟิ่งหวง เป็นภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า ฟีนิกซ์ (Phoenix) เนื่องจากฟีนิกซ์มีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงและมีคุณสมบัติหลายอย่างใกล้เคียงกับเฟิ่งหวง โดยเฉพาะการฟื้นคืนชีพจากความตาย หรือ ความเป็นอมตะ
.
หัวจู่ (火珠) หรือ ไข่มุกไฟ เป็นสัญลักษณ์มงคลในวัฒนธรรมจีน ที่รวมแสงสว่างและความอบอุ่นสาดส่องทั่วแผ่นดิน ไม่มีวันดับสูญสลายตลอดกาลนาน
.
ซานเฟิ่งหวง (三凤凰)  ราชานก 3 ตัว เลข 3 ในวัฒนธรรมจีนเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตมนุษย์ใน 3 สถานะคือ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หรือ การเกิด การแต่งงาน การสิ้นสุดของชีวิต) และคำว่า 3 (ซาน) พ้องเสียงกับคำว่า เซิง ที่หมายถึงการเกิด
.
ภาพ ซาน เฟิ่งหวง หั่วจู จึงมีความหมายมงคลครอบคลุมชีวิตมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดให้มีความสุข ความเจริญในทุก ๆ ด้านตลอดไป
.
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้จัดทำยาดมสมุนไพรไม้หอม* ลายภาพซาน เฟิ่งหวง หัวจู่ อันมงคลนี้ (จำนวนจำกัด) มอบให้แทนความรักและความปรารถนาดี ส่งเป็นความสุขปีใหม่แด่ท่านที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
-----------------------------------------------------------
*รับฟรี ! ยาดมสมุนไพรไม้หอมเมื่อ check-in และกด liked เพจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (รับได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร)



(จำนวนผู้เข้าชม 590 ครั้ง)