...

ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๒

เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๒ พระพิมพ์ดินเผาที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ๐ ที่เรานำมาให้ทุกท่านได้ชมเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆเท่านั้นค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถแวะเข้ามาเที่ยวชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ของเรา ยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ทุกๆท่านได้ชม ศึกษาและเรียนรู้อีกมากเลยค่ะ แวะมาหากันได้นะคะ --- โปรดติดตามต่อ ตอนที่ ๓ พระพิมพ์โลหะในล้านนา และ แผงพระพิมพ์ล้านนา --- ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com

เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๓

เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๓ (ตอนจบ) ๐ พระพิมพ์โลหะในล้านนา : พระพิมพ์โลหะดุนนูนในแบบศิลปะหริภุญไชย มีการทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ทำจากแผ่นโลหะมีค่า เช่น แผ่นทองคำ เงิน และ สำริด สำหรับพระพิมพ์โลหะในศิลปะล้านนา นิยมทำรูปพระพุทธรูป ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ประทับใต้ซุ้มโพธิ์ พบในแหล่งโบราณคดีสมัยล้านนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา ๐ แผงพระพิมพ์ : แผงพระพิมพ์ในล้านนา สันนิษฐานว่านิยมสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ โดยได้รับแนวคิดมาจากการสร้างแผงพระพิมพ์ในศิลปะพุกาม ซึ่งแพร่หลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอนิรุธ พบว่ามีการสร้างพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมากและแพร่กระจายเข้ามายังชุมชนโบราณที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับเมียนมา ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com


Messenger