...

ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
หีบพระธรรม

๐ สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ วันนี้เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง หีบพระธรรม ค่ะ ๐ หีบพระธรรม หรือ หีบธรรม เป็นหนึ่งในเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สร้างหรือผู้บริจาคทรัพย์ต่างปรารถนาอานิสงส์ผลบุญจากการถวายหีบเก็บคัมภีร์ใบลานไว้เป็นสมบัติพระศาสนา หวังให้ตนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และเป็นปัจจัยส่งผลให้ตนไปสู่สุคติโลกสวรรค์และเข้าถึงพระนิพพาน ๐ ดังนั้นหีบพระธรรมส่วนใหญ่มักจะตกแต่งลวดลายบอกเล่าเรื่องราวชาดกหรือคติทางพระพุทธศาสนาอย่างประณีตบรรจง อาจมีการจารึกชื่อผู้ถวายและข้อความไว้บนฝาของหีบธรรมนั้นนั้นด้วยค่ะ ๐ ทางล้านนาจะออกเสียงเรียกหีบพระธรรม ว่า “หีดธรรม” ๐ หากท่านใดสนใจชมความประณีตงดงามของหีบพระธรรมที่จัดแสดงอยู่ สามารถเข้าชมได้ที่ ณ อาคารจัดแสดง ห้องเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ค่ะ ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ ------------------------------------------ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com

จิตรกรรมล้านนา

ตอน จิตรกรรมล้านนา ๐ สวัสดีค่าาา กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ในวันนี้ เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “จิตรกรรมล้านนา” ๐ จิตรกรรมและภาพลายเส้นของล้านนานั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะการช่างที่มีความสำคัญ และน่าสนใจมากที่สุดแขนงหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ของสังคมล้านนาในอดีตแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงคติความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ อีกด้วย เทคนิคและวิธีการตลอดจนการแสดงออกของศิลปะ บ่งบอกถึงงานช่าง ความรู้สึกนึกคิด และการติดต่อ สัมพันธ์กับสังคม วัฒนธรรมอื่น อีกทั้งยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย ๐ เนื่องจากจิตรกรรมฝาผนังในดินแดนล้านนานั้นมีมากมายหลายแห่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงคัดเลือก “จิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นของล้านนา” จำนวน ๘ แห่ง มานำเสนอให้กับแฟนเพจทุกๆท่านค่ะ โดยเราจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ตอนค่ะ --------------------------------------- (ตอนที่ ๑) - วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ : จิตรกรรมช่วงพุทธศาสนารุ่งเรืองในอาณาจักรล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ - วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง : จิตรกรรมสกุลช่างลำปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ - วิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ : ฝีมือช่างไทใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ---------------------------------------- ๐โปรดติดตามตอนต่อไป... ---------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com

จิตรกรรมล้านนา ตอนที่ ๓

(ตอนที่ ๓) ๐ วิหารวัดม่อนปู่ยักษ์ จังหวัดลำปาง : ฝีมือช่างพม่าในเมืองลำปาง พุทธศักราช ๒๔๔๐-๒๔๗๐ ๐ วิหารวัดกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ : จิตรกรรมพื้นบ้าน กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ๐ วิหารวัดบ้านก่อ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง : จิตรกรรมพื้นบ้าน กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ --------------------------------------- ๐ในครั้งหน้า เราจะมาพูดในหัวข้อ จิตรกรรมล้านนา ตอนสุดท้าย "วิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน : ฝีมือช่างไทใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๕" ฝากติดตามด้วยนะคะ ---------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com

พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๑

เรื่อง พระพิมพ์ล้านนา ตอนที่ ๑ ๐ พระพิมพ์ เป็นประติมากรรมขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ๐ ด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นหนทางที่จะได้รับกุศลผลบุญ และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพิมพ์ขึ้น ๐ ต่อมาการทำพระพิมพ์ได้แพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย และเมื่อพระพุทธศาสนาได้มีการแตกออกไปหลายคติและหลายนิกาย คติและรูปแบบของพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยในแต่ละท้องที่ ๐ พระพิมพ์ดินเผาที่พบในล้านนา มักพบในแหล่งโบราณคดีลุ่มน้ำแม่ปิง อายุของพระพิมพ์เหล่านี้มีตั้งแต่สมัยรัฐหริภุญไชยตอนปลาย (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙) เรื่อยมา จนถึงสมัยอาณาจักรล้านนา --- โปรดติดตามต่อ ตอนที่ ๒ พระพิมพ์ล้านนาที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ --- ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com


Messenger