...

ครบรอบ ๓๐ ปี พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ครบรอบ ๓๐ ปี พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
         หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ สังกัดสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีพื้นที่รับผิดชอบ ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีลำดับการก่อตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ดังนี้
         พ.ศ.๒๕๒๖ มีสถานภาพเป็นหน่วยจดหมายเหตุ ตั้งอยู่ ณ ชั้น ๔ อาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
         พ.ศ.๒๕๓๕ มีสถานภาพเป็นหน่วยจดหมายเหตุ ตั้งอยู่ ณ ชั้นล่าง อาคารหอสมุดแห่งชาติ
รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
         พ.ศ.๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
        ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖
         หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุไว้เป็นหลักฐานชั้นต้นในการค้นคว้า อ้างอิงถึงการดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร และเป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นรวมถึงประวัติศาสตร์ของประเทศ ด้วยวิธีการปกป้อง คุ้มครอง สงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุแต่ละประเภทให้ถูกต้องเหมาะสม และได้มาตรฐานตามหลักวิชาการจดหมายเหตุสากล เพื่อยืดอายุเอกสารจดหมายเหตุนั้น ๆ ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ มีอายุยืนยาว คงคุณค่าของความเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มีคุณค่าถาวรตลอดไป  
         เอกสารจดหมายเหตุที่ให้บริการ ค้นคว้า และวิจัย ได้แก่ เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ เปิดให้บริการนักเรียน นักศึกษา ประชาชน และหน่วยงานที่สนใจ ในวันและเวลาราชการ โดยผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการให้บริการแก่ประชาชนของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ การทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุ อัตราค่าทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุและค่าบริการอื่น พ.ศ. ๒๕๖๔
         ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการเอกสารได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ ในวันและเวลาราชการ ปิดให้บริการวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือสามารถใช้บริการสืบค้นได้ในระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้บริการเอกสารจดหมายเหตุ สามารถติดต่อได้ที่  โทร ๐ ๕๓๒๘ ๑๔๒๔ โทรสาร ๐ ๕๓๒๘ ๑๔๒๕


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
6 กุมภาพันธ์ เวลา 12:07 น.  ·
Chiang Mai National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
6 กุมภาพันธ์ เวลา 08:30 น.  ·
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566
ครบรอบ 50 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกในภาคเหนือตอนบน เริ่มก... ดูเพิ่มเติม


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
5 กุมภาพันธ์ เวลา 14:26 น.  ·
#nowadayschiamgmai
#วันนี้ที่เชียงใหม่
#เชียงใหม่ #มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่
๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
         มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ ๔๖ ประจำปี ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๓ - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
3 กุมภาพันธ์ เวลา 10:38 น.  ·
ชุมชนบ้านฮ่อ
         ชุมชนชาวจีนยูนนานที่นับถือศาสนาอิสลามดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่ มากมายด้วยเรื่องราวครั้งอดีต ที่ยังคงอัตลักษณ์มาถึงปัจจุบัน ตามถนน ตรอกซอกซอยประกอบไปด้วยอาคารบ้านเรือน ศาสนสถาน และกาดนัดจีนยูนนาน หรือกาดบ้านฮ่อ ที่ยังคงบอกเล่าเรื่องราวครั้งอดีต ผ่านวัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน รวมทั้งสีสันของชุมชน ถ่ายทอดให้คนภายนอกได้เข้ามาสัมผัสอย่างใกล้ชิด
         เข้าสู่ศูนย์กลางชุมชนครั้งอดีต ณ บ้านขุนชวงเลียง (เจิ้งชงหลิ่ง) หรือบ้านลือเกียรติ คือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวยูนนาน ครั้งมีชาวมุสลิมเพิ่มขึ้นจึงมีการสร้างมัสยิดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งเป็นอาคารมัสยิดหลังแรกของชาวยูนนาน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่รู้จักในนาม มัสยิดเฮดายาตูลอิสลามบ้านฮ่อ และมีการรื้อถอนอาคารหลังเดิมและก่อสร้างอาคารใหม่ (หลังปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙
         จากจุดเริ่มต้นของชาวมุสลิมที่มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ บ้านไม้ของขุนชวงเลียง ชักชวนกันตั้งร้านค้าตลาดชุมชนเล็ก ๆ บอกเล่าปากต่อปาก จนกลายเป็นศูนย์รวมของผู้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชน พ่อค้าแม่ค้าต่างนำสินค้าที่ดูแปลกตา พืชผักผลไม้จากพื้นที่สูง วัตถุดิบการปรุงอาหารหลากหลายชนิด อาหารการกินที่ชวนให้ได้ลิ้มลอง อาทิ ข้าวแรมฟืน ข้าวโพดทอดสูตรยูนนาน ข้าวหมกหลากหลายสีสัน ฯลฯ ปัจจุบันกาดบ้านฮ่อได้กลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนชาวมุสลิมจีนยูนนานที่อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มายาวนานกว่า ๓ ทศวรรษ
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
#กาดบ้านฮ่อ
#เชียงใหม่
อ้างอิง
คณะทำงานฝ่ายรวบรวมประวัติและพัฒนาการของศาสนาในเชียงใหม่. ๒๕๓๙. มรดกศาสนาในเชียงใหม่. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.







(จำนวนผู้เข้าชม 143 ครั้ง)


Messenger