ข่าวประชาสัมพันธ์
จำนวนผู้เข้าชม 546
(วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564)
(วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564)
จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดภูมินทร์ เขียนขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๒๔๑๐-๒๔๑๗ ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน (ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนรองพื้นดินสอพอง มีความสวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแต่งกาย วิถีชิวิต ภาพเขียนบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน เขียนเล่าเรื่องราว ๓ เรื่องหลักๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เขียนเรื่อง "คัทธนกุมารชาดก"หนึ่งในปัญญาสชาดก (ชาดกนอกนิบาต) กล่าวถึงพระโพธิสัตว์คัทธนกุมารผู้ทรงมีพลังเปรียบดังพญาช้างสาร สร้างคุณงามความดี และความกตัญญูรู้คุณ เรื่องที่สองเขียนเรื่อง"เนมิราชชาดก"ชาดกชาติที่ ๔ หนึ่งในทศชาติชาดก เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลที่มีขนาดเท่าจริง ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจิตรกรรมแห่งนี้ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่ ภาพปู่ม่านย่าม่าน (ปู่ใช้เรียกแทนผู้ชาย ย่าใช้เรียกแทนผู้หญิง ม่านเรียกชาวพม่า) เป็นภาพหญิงชายแต่งกายแบบพม่า แสดงท่าทางกระซิบกัน หรือที่รู้จักกันใน"ภาพกระซิบรัก" ซึ่งเป็นภาพที่มีความโดดเด่น และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลชายหญิงแต่งกายเหมือนชนชั้นสูงอีกด้วย เรามาดูการจัดวางภาพเพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายในพระอุโบสถกัน วัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
จำนวนผู้เข้าชม 1674
(วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564)
(วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564)
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สำคัญแห่งหนึ่งพบอยู่ภายในหอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ประสานขอความร่วมมือกับทางวัดในการจัดระเบียบการจัดวางวัสดุสิ่งของภายในหอไตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ในการเข้าชมความงามของจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่และหาดูยากในปัจจุบัน และประทับใจในคุณค่าทางศิลปกรรมของฝีมือช่างชั้นครูในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เดิมหอไตรหลังนี้เป็นเรือนประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อคราวดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ต่อมา พ.ศ. ๒๓๓๑ พระองค์ทรงมีพระประสงค์ปฏิสังขรณ์เรือนหลังเดิมนี้ให้เป็นหอพระไตรปิฎกแก่วัด
ในพ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เคลื่อนย้ายหอไตรจากตำแหน่งเดิมซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำหลังพระอุโบสถนอกกำแพงกั้นเขตพุทธาวาส มายังเขตพุทธาวาสในตำแหน่งปัจจุบัน
ลักษณะของหอไตร เป็นเรือนไทยสามหลังแฝด มีชานด้านหน้า ประกอบด้วยหอนั่ง หอกลาง และหอนอน จิตรกรรมภายในหอไตร เป็นฝีมือช่างครูสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน “สาส์นสมเด็จ” ได้กล่าวไว้ว่าภายในหอกลางนั้นจิตรกรรมเขียนเรื่องราวรามเกียรติ์เป็นฝีมือพระอาจารย์นาค ครูช่างผู้มีฝีมือเป็นเลิศในยุคสมัยนั้น และรวมทั้งครูช่างอื่นๆอีกหลายท่าน ที่ได้เขียนจิตรกรรมไว้ภายในหอทั้ง ๓
เรื่องราวจิตรกรรมภายใน"หอกลาง" ผนังด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ผนังด้านทิศใต้ประดับลวดลายทองฉลุลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง
จิตรกรรมภายใน"หอนอน" ผนังด้านทิศเหนือ เขียนเรื่องไตรภูมิ เรื่องพระเวสสันดรชาดก เรื่องพระมาลัย เหล่าวิทยาธร เทวดาเหาะถืออาวุธ และท้าวสักกะเทวราช ผนังด้านทิศตะวันออก เขียนเรื่องท้าวสักกะเทวราช ทิศตะวันตกและทิศใต้ เขียนเรื่องเหล่ากองทัพอสูรขี่สัตว์เป็นพาหนะ
เรื่องราวจิตรกรรมภายใน"หอนั่ง" ผนังทิศตะวันออก ผนังทิศเหนือและผนังทิศตะวันตกตอนบนเหนือกรอบหน้าต่างเขียนรูปเทพชุมนุม และผนังตอนล่างระหว่างช่องหน้าต่างเขียนรูปพันธ์พฤกษาและสรรพสัตว์
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ได้ให้ความสนใจหอไตรแห่งนี้ โดยได้คัดลอกลายเส้นจิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรก่อนหน้าที่จะปฏิสังขรณ์อาคาร และต่อมาอาจารย์เฟื้อได้ดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังโดยเน้นการรักษาความเป็นของแท้ดั้งเดิมของจิตรกรรมไว้ การดำเนินงานแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๕๒๕
ปัจจุบัน กองโบราณคดีได้สำรวจสภาพความชำรุดของจิตรกรรมและได้ตั้งของบประมาณในการอนุรักษ์ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดทำคำบรรยายภาพจิตรกรรมเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป
เรียบเรียงโดย : นางสาวกนกวรรณ สุนทรวิภาต นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน
จำนวนผู้เข้าชม 1620
(วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564)
(วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564)
จำนวนผู้เข้าชม 705
(วันอังคารที่ 19 มกราคม 2564)
(วันอังคารที่ 19 มกราคม 2564)
จำนวนผู้เข้าชม 586
(วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563)
(วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563)