-บรรพแถลง
บรรพแถลง หรือ บันแถลง เป็นซุ้มขนาดเล็กซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์ของอาคารหรือชั้นวิมานของเทวดา และมีการสลักหรือปั้นรูปเทวดาสถิตอยู่ภายในซุ้มนั้น บรรพแถลงมักพบได้ในสถาปัตยกรรมดังนี้
- ปราสาทขอม
- ปรางค์
- มณฑป
- บุษบก สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเจดีย์ขนาดเล็ก และมีเรือนยอดด้านบน
ในปราสาทวัฒนธรรมเขมร บรรพแถลงเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เพื่อใช้ประดับบนชั้นวิมานของหลังคาซ้อนชั้นของปราสาท และเสื่อมความนิยมไปในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ช่วงศิลปะบายนซึ่งนิยมสร้างใบหน้าบุคคลขนาดใหญ่แทนหลังคาแบบซ้อนชั้น ทำให้ไม่เหลือที่ว่างไว้เพื่อประดับบรรพแถลง
สำหรับบรรพแถลงสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ “บรรพแถลงประจำมุม” ซึ่งประดับอยู่ที่มุมรองของปราสาท โดยอยู่ขนาบทั้งสองข้างของนาคปัก หรือปราสาทจำลองตรงมุมหลัก และ“บรรพแถลงประจำทิศ” ซึ่งประดับอยู่เหนือ ซุ้มหน้าบันในแต่ละชั้นวิมานของปราสาทประธานทั้งสี่ทิศ
บรรพแถลงของปราสาทสด๊กก๊อกธม
สำหรับปราสาทสด๊กก๊อกธมพบหลักฐานของบรรพแถลงตามมุมของชั้นวิมาน โดยพบเพียงส่วนฐานและประติมากรรมส่วนล่าง
แท่งหินจั่วรูปสามเหลี่ยมปักอยู่ด้านหน้าซุ้มบัญชรของชั้นเชิงบาตร สันนิษฐานว่าเป็นรูปลักษณ์ของวิมานจึงสลักภาพเทพต่างๆไว้ด้วย บรรพแถลงที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม สลักเป็นรูปเทพธิดา
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า 271.
- กรมศิลปากร. (2565). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ : หน้า 322.
- สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก- บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาสถาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร) หน้า 11,31.
- บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุ. Access 25 April 2023. www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ความรู้สึกทั้งหมด
35
 
 
 

(จำนวนผู้เข้าชม 1520 ครั้ง)