วัตถุ รองเท้า
ทะเบียน ๒๗/๓/๒๕๓๗
อายุสมัย รัตนโกสินทร์
วัสดุ ผ้า และไม้
ประวัติที่มา ได้ตกทอดมาจากนางเอ้กจ๋วน แซ่เตี้ยว ประมาณ ๙๐ ปี
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“รองเท้า”
รองเท้ามีลักษณะเป็นร้องเท้าขนาดเล็ก ตัวรองเท้าทำด้วยผ้า ถักเป็นลายดอกไม้ ส้นรองเท้าทำด้วยไม้ รองเท้าลักษณะนี้เรียกว่า “รองเท้าตีนตุก”(The flower bowl shoues)
รองเท้าตีนตุกเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีนซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในภูเก็ตในช่วงแรก โดยชาวจีนเชื่อว่าการที่มีเท้าเล็กถือว่าหญิงคนนั้นมีวาสนาดี และมีความงามกว่าหญิงที่มีเท้าโต ชาวจีนจึงมีค่านิยมในการรัดเท้าให้มีขนาดเล็ก รองเท้าตีนตุกจะตัดเย็บด้วยผ้าสีดำหรือน้ำเงินเข้ม ด้านนอกนิยมปักลวดลายด้วยด้ายที่มีสีสันต่างๆ สีซึ่งเป็นที่นิยม คือ สีแดง โดยนิยมปักลายดอกไม้และสัตว์ มีส้นที่ทำด้วยไม้ และนิยมแต่งกายคู่กับชุดแบบจีน เช่น กางเกงแพรจีนสีดำ เสื้อแพรจีนแบบมีกระดุมป้ายข้าง เป็นต้น รองเท้าแบบนี้เมื่อสวมใส่จริงจะทำให้เดินลำบากจึงต้องมีคนคอยช่วยจูงหรือพยุง
ร้องเท้าตีนตุกคู่นี้ได้รับตกทอดมาจากนางเอ้กจ๋วน แซ่เตี้ยว ประมาณ ๙๐ ปีแสดงให้เห็นว่าชาวจีนที่อพยพเข้ามาซึ่งเป็นชาวจีนที่เข้ามาในช่วงแรกยังคงมีความยึดมั่นตามธรรมเนียมดั่งเดิม ดังสะท้อนให้เห็นจากการแต่งกายและการมัดเท้าให้มีขนาดเล็ก รองเท้าตีนตุกคู่นี้จึงเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงค่านิยมของชาวจีนในอดีตได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
- ฤดี ภูมิภูถาวร. “ร้องเท้าเข้าชุดสะดุดสายตา,” ภูเก็ตภูมิ ๓,๑ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๒):, ๖๔ – ๖๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 1027 ครั้ง)