...

รองเท้า ไม้กำมะหยี


ชื่อวัตถุ รองเท้า

ทะเบียน ๒๗/๒๖/๒๕๓๖

อายุสมัย รัตนโกสินทร์

วัสดุ(ชนิด) ไม้กำมะหยี

ประวัติที่มา เป็นรองเท้าของมารดา คือ นางสิวโง้ยตัณฑวณิช ใช้ในการร่วมมือพิธีสำคัญรวมทั้งใส่กับชุดยะหย่า ซึ่งใช้ในงานต่างๆ

สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

“รองเท้า”

รองเท้ามีลักษณะเป็นร้องเท้าแตะแบบปัก มีส้น ส่วนหัวของรองเท้าปักด้วยกำมะหยี่ ส่วนหัวมีลายปักลักษณะคล้ายดอกไม้บนกำมะหยี่ พื้นและส้นร้องเท้าเป็นกำมะหยี่ ร้องเท้ารูปแบบนี้เรียกภาษามลายูว่า Kasutseretรองเท้ารูปแบบนี้มีพัฒนาการมาจากรองเท้าแบบปักไม่มีส้น เป็นรองเท้าที่ปักด้วยเส้นด้ายซึ่งเป็นไหมสีต่างๆ ลวดลายที่ปักเป็นลายดอกไม้และสัตว์มงคลต่างๆ เช่น ปลา ค้างคาว ผีเสื้อ เป็ด และกวาง เป็นต้น

รองเท้าปักเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงชาวบาบ๋าคำว่า บาบ๋า เป็นคำที่ชาวภูเก็ตใช้เรียกลูกหลานที่เกิดจากพ่อชาวจีนและแม่ชาวพื้นเมืองโดยใช้เรียกทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างจากในแถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีกลุ่มลูกผสมชาวจีนและชาวพื้นเมืองอยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับในเกาะภูเก็ต แต่ในประเทศเหล่านี้ใช้คำว่า บาบ๋า เรียก ลูกชาย และใช้คำว่า ย่าหยา เรียก ลูกสาว

สำหรับรองเท้าปักรูปแบบนี้นิยมทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งหญิงชาวภูเก็ตคงรับความนิยมรองเท้ารูปแบบนี้มาจากแถบมะละกาและปีนัง ทั้งนี้ ในอดีตหญิงสาวที่เตรียมตัวจะออกเรือนต้องเก่งงานเย็บปักถักร้อย “รองเท้า” เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องแต่งกายในวันแต่งงาน ซึ่งหญิงสาวต้องทำร้องเท้าเพื่อใช้สวมในงานมงคลสมรสด้วยตนเอง

ร้องเท้าแตะปักที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางเก็บรักษาเป็นของนางสิวโง้ยตัณฑวณิชใช้สวมใส่ในงานพิธีสำคัญต่างๆ โดยใส่กับชุดยะหย่าร้องเท้าแตะปัก(Kasutseret) จึงเป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวบาบ๋าภูเก็ตในเรื่องของการแต่งกายได้เป็นอย่างดี

(จำนวนผู้เข้าชม 1030 ครั้ง)


Messenger