ชาติพันธุ์วิทยา
กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์(Ethnic groups in Surin)
จะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ๓ กลุ่มใหญ่ คือ
๑. กลุ่มชาติพันธุ์กวย(Kuay)เป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง และพิธีกรรมการรักษาการเจ็บป่วย เรียกว่า แกลมอ (Healing ceremony)
๒. กลุ่มชาติพันธุ์เขมร(Khmer)เป็นกลุ่มชนที่ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยในจังหวัดสุรินทร์มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ เป็นอย่างช้า มีการจัดแสดงพิธีการ์แซน(การแต่งงาน) Weddingแบบดั้งเดิม
๓. กลุ่มชาติพันธุ์ลาว(Lao)เป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาในจังหวัดสุรินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีการจัดแสดงพิธีบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว
นอกจากนี้ ยังได้จำลองให้เห็นวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน เครื่องมือการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อุปกรณ์การจับปลา อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ หุ่นจำลองการประกอบพิธีแกลมอ (Healing ceremony) ของกลุ่มชาติพันธุ์กวย(Kuay)หุ่นจำลองการประกอบพิธีการ์แซน(การแต่งงาน) Wedding ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร(Khmer)และภาพถ่ายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญ สภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว(Lao)ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน และยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touch Screen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด
Ethnology
Displays here focus on the population of Surin province, which can be divided into three groups: the Kuay, who excelled at catching and training elephants, the Khmer, the original inhabitants of Surin province, and the Laos, a later group who immigrated to Surin province. Models depict the houses, ceremonies, photographs and paintings, daily tools, and objects reflecting the lives and cultures of the three groups. A computer touch screen provides additional information.
(จำนวนผู้เข้าชม 4469 ครั้ง)