โบราณวัตถุชิ้นเด่น: พระพุทธบาทสี่รอย
สลักจากหินชนวน ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ย้ายมาจากวัดเขาพระบาทน้อย เมืองเก่าสุโขทัย
พระพุทธบาทสี่รอย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยแสดงเส้นขอบพระบาทซ้อนลดหลั่นกันสี่รอย รอยพระบาทบนสุดมีร่องรอยการจารเป้ฯลวดลาย ปรากฎรูปธรรมจักรบริเวณกลางฝ่าพระบาท อันเป็นพุทธลักษณะหรือมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ซึ่งรอยพระบาททั้งสี่รอยหมายถึงรอยพระบาทของอดีตพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมะ หรือ สมณโคดม
คติการจำลองรอยพระพุทธบาท ประกอบด้วยเครื่องหมายมงคลสำหรับสักการะบูชาในสุโขทัยเริ่มขึ้นเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยรับคตินิยมนี้มาจากลังกา ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งจากหลักฐานศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดฯให้จำลองรอยพระพุทธบาท ตามแบบรอยพระบาทจากลังกามาประดิษฐานไว้บนภูเขาในเมืองสำคัญ ๔ แห่ง ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย บางพานและพระบาง
พระพุทธบาทสี่รอย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยแสดงเส้นขอบพระบาทซ้อนลดหลั่นกันสี่รอย รอยพระบาทบนสุดมีร่องรอยการจารเป้ฯลวดลาย ปรากฎรูปธรรมจักรบริเวณกลางฝ่าพระบาท อันเป็นพุทธลักษณะหรือมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ซึ่งรอยพระบาททั้งสี่รอยหมายถึงรอยพระบาทของอดีตพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมะ หรือ สมณโคดม
คติการจำลองรอยพระพุทธบาท ประกอบด้วยเครื่องหมายมงคลสำหรับสักการะบูชาในสุโขทัยเริ่มขึ้นเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยรับคตินิยมนี้มาจากลังกา ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งจากหลักฐานศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดฯให้จำลองรอยพระพุทธบาท ตามแบบรอยพระบาทจากลังกามาประดิษฐานไว้บนภูเขาในเมืองสำคัญ ๔ แห่ง ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย บางพานและพระบาง
(จำนวนผู้เข้าชม 1839 ครั้ง)