โบราณวัตถุชิ้นเด่น: เทวนารี
หินทราย ศิลปะลพบุรี กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่ศาลตาผาแดง เมืองเก่าสุโขทัย
เทวนารี สวมกรองสอเป็นแผ่นใหญ่ ทรงภูษายาวชักชายพกออกมาด้านข้าง เข็มขัดตกแต่งลวดลายดอกไม้ขอบล่างประดับด้วยพู่ห้อยคล้ายขนนก ซึ่งจากลวดลายของเครื่องทรงและเครื่องประดับ ปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน โดยสามารถเปรียบเทียบได้กับลวดลายเครื่องประดับที่พบในปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา เทวนารีองค์นี้พบร่วมกับเทวรูปหินทรายอีก ๓ องค์ ที่พบจากศาลตาผาแดง ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร เทวนารีและเทวรูปเหล่านี้แสดงถึงพัฒนาการของรูปแบบศิลปกรรมในสมัยก่อนจะเป็นเมืองสุโขทัยและสะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาที่ปรากฏในระยะเวลาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
เทวนารี สวมกรองสอเป็นแผ่นใหญ่ ทรงภูษายาวชักชายพกออกมาด้านข้าง เข็มขัดตกแต่งลวดลายดอกไม้ขอบล่างประดับด้วยพู่ห้อยคล้ายขนนก ซึ่งจากลวดลายของเครื่องทรงและเครื่องประดับ ปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน โดยสามารถเปรียบเทียบได้กับลวดลายเครื่องประดับที่พบในปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา เทวนารีองค์นี้พบร่วมกับเทวรูปหินทรายอีก ๓ องค์ ที่พบจากศาลตาผาแดง ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร เทวนารีและเทวรูปเหล่านี้แสดงถึงพัฒนาการของรูปแบบศิลปกรรมในสมัยก่อนจะเป็นเมืองสุโขทัยและสะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาที่ปรากฏในระยะเวลาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
(จำนวนผู้เข้าชม 2018 ครั้ง)