โบราณวัตถุชิ้นเด่น เกียรติมุขหรือหน้ากาล
ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี องเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย มอบให้
เกียรติมุขหรือหน้ากาลเป้นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขนมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า
ตามคติในศาสนาฮินดู เกียรติมุขหรือหน้ากาล หมายถึง "เวลา" ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง กาลหรือหน้ากาล มีความหมายเดียวกับเวลา เป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของสาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ
เกียรติมุขหรือหน้ากาลเป้นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขนมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า
ตามคติในศาสนาฮินดู เกียรติมุขหรือหน้ากาล หมายถึง "เวลา" ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง กาลหรือหน้ากาล มีความหมายเดียวกับเวลา เป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของสาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ
(จำนวนผู้เข้าชม 2257 ครั้ง)