บริหาร EGO ให้โก้สมชื่อ
"อีโก้ (Ego)" เป็นคำที่เรามักใช้เรียกที่พวกมีความมั่นใจสูงปรี๊ด หรือพวกที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล
ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมักจะสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอยู่เสมอ
ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมักจะสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอยู่เสมอ
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว "อีโก้" ไม่ได้สื่อถึงด้านลบเสมอไป เพราะตัวมันเองเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติ
แห่งการมีตัวตนของมนุษย์ ที่มีส่วนสำคัญต่อการทำงานและความสำเร็จของแต่ละบุคคลด้วย
แห่งการมีตัวตนของมนุษย์ ที่มีส่วนสำคัญต่อการทำงานและความสำเร็จของแต่ละบุคคลด้วย
Ego คืออะไร ?
Ego เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างของจิตของนักจิตวิทยาผู้โด่งดัง ซิกมัน ฟรอยด์ ซึ่งประกอบด้วย 3 รูปแบบคือ
- Id คือ จิตไร้สำนึก เช่น สัญชาตญาณและความต้องการต่างๆ
- Ego คือ ตัวตนของเราที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้พฤติกรรมของเราสามารถถูกยอมรับได้ในสังคม ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม
จิตไร้สำนึกหรือสัญชาติญาณของเรา เช่น กาละเทศะ บรรทัดฐาน และ วัฒนธรรม - Superego คือ จิตส่วนที่เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจความถูกและผิด ตามที่เราเรียนรู้ซึมซับมาจากพ่อแม่และ
สังคมรอบตัวของเรา
พูดง่าย ๆ Ego ก็คือตัวตนของเรานี่แหละ เป็นสิ่งที่เรายึดถือและเชื่อมั่นจนกระทั่งสะท้อนออกทางพฤติกรรมของเรา
ถ้าสนใจลองไปศึกษา Structural Model of the Psyche ต่อได้นะ
Ego ส่งผลกับการทำงานยังไง ?
คนที่มี Ego สูง (เชื่อมั่นถือมั่นในตัวเองสูง) จะสามารถต้านทานแรงกดดันของสภาพแวดล้อมและสังคมได้ ไม่ถูกครอบงำ
โดยผู้อื่น และสามารถชี้นำคนอื่นๆ ให้ไปในทางที่ดีหรือไม่ดีได้ คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมั่นใจในความสามารถของตัวเองสูง
ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นเพราะถ้ามี Ego สูงเกินไปจากข้อดีก็อาจกลายเป็นข้อเสียได้ เช่น กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว
ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง จนทำให้มีปัญหาในการสื่อสารและรับฟังผู้อื่น มีปัญหาในการทำงานเป็นทีม กดขี่ผู้อื่น
ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ไม่ดี เพราะจิตใจที่เป็นเด็กน้อยมันบอกว่า "เราเป็นคนที่ถูกเสมอ"
จนคนรอบข้างอาจจะตั้งคำถามว่า "โตมายังไง ?"
ในทางกลับกัน ถ้าไม่มี Ego หรือมีในระดับที่ต่ำเกินไปก็จะกลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจ
ไม่สามารถลงมือทำสิ่งต่าง ๆ และถูกบงการและกดขี่ได้ง่าย
ดังนั้นคนที่สามารถบริหาร Ego ได้จึงเป็นผู้ที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน
วิธีบริหาร Ego เบื้องต้น
แม้ว่าเราจะมั่นใจว่าเราเป็นคนที่มี Ego อยู่ในระดับที่พอดีอยู่แล้ว แต่เราสามารถบริหารให้มันดียิ่งขึ้นได้โดย
- พูดให้น้อยลง ตั้งใจรับฟังผู้อื่นให้มากขึ้น
- ตั้งใจทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง มากกว่าที่พูดไปเรื่อย
- ยอมรับความรับผิดชอบและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นด้วยตนเอง
- หัดอ่อนน้อมถ่อมตน ยืดหยุ่น และทบทวนพฤติกรรมที่แสดงออกอยู่เสมอ แม้ว่าเราจะมีอายุมากกว่าผู้ร่วมงาน
หรือมีตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ร่วมงาน - เรียนรู้อยู่เสมอ อย่ายึดติดกับความสำเร็จ ความรู้ และประสบการณ์ในอดีต เพราะปัจจัยต่าง ๆ ในโลก
ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความทะนงตนจะขัดขวางการเรียนรู้ชีวิตของเรา
สุดท้ายนี้ต้องบอกว่า...
"เรามี Ego สูงได้นะ แต่ต้องเก่งให้เท่า Ego ที่มีด้วย"
อ้างอิง: https://www.britannica.com/topic/ego-philosophy-and-psychology
ขอขอบคุณบทความตั้งต้น https://blog.cariber.co/post/what-is-ego
(จำนวนผู้เข้าชม 34 ครั้ง)