ช้างบุเงิน
ช้างบุเงิน
ช้างยืนแท่นแกะสลักจากไม้บุด้วยเงิน
ซึ่งการบุ หมายถึงการตี การแผ่ การกดทับ
โดยการเอาโลหะที่มีลักษณะบางๆ ทำการหุ้มของบางสิ่งเข้าไว้
หรือการตีให้เข้ารูป โดยช่างอาจจะเลือกโลหะมีค่าชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเช่น
ทองและเงิน แผ่ให้เป็นแผ่น นำมาหุ้มชิ้นงานที่แกะสลักจากไม้
จากนั้นตกแต่งให้เข้ารูปและสลักเป็นลวดลายตามต้องการ
ตัวช้างมีเครื่องประดับประดอบด้วย
-ปกกระพองคือผ้าปิดด้านหน้าหัวช้าง แขวนกระดิ่ง
-ผ้าคลุมหลังทำจากผ้าตาด ปักประดับด้วยแผ่นเงิน ดิ้น และเลื่อมโลหะ
ชายผ้าห้อยพู่สีเขียวและสีแดง คงจำลองมาจากเครื่องประดับช้างที่มีการใช้จริงในขณะนั้น
ด้านบนมีสัปคับเงินประดิษฐานพระพุทธรูป กางกั้นด้วยฉัตรปรุเงิน ๕ ชั้น
ซึ่งในแต่ละส่วนล้วนมีจารึกระบุปีที่สร้าง ในปี พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๖๘ เมื่อแล้วเสร็จคงนำมาประกอบกันแล้วถวายแก่วัดพระธาตุหริภุญชัยเพื่อเป็นพุทธบูชา
ช้างทรงเครื่องพร้อมสับคัปประดิษฐานพระพุทธรูปเชือกนี้ ปรากฏจารึกอักษรธรรมล้านนาอยู่หลายแห่งที่ระบุถึงผู้สร้างถวาย ในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
แผ่นเงินที่ฐาน มีจารึกความว่า
“จุลสักราชได้ ๑๒๘๖ ตั๋วปี กาบไจ้ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวัน ๑ ไตยรวงเหม้า ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ปะถะมูลศรัทธา แม่เจ้าบัวติ๊บเป๋นเค้า พร้อมกับด้วยลุกหลาน ปี่น้อง จุผู้จุคน ก็ได้สร้างยังรูปจ๊างเงินตั๋ว ๑ มาถวายเปนตานกับพระวิหารวัดหลวงลำพูนตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสาดีหลี ขอจุ่งจักเป็นพระก้ำยังศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ตราบถึงยัง แก้วยอดพระนิปปานเจ้าจิ่ม เต๊อะ
เรียบเรียงเป็นข้อความปัจจุบันได้ว่า
เจ้าแม่บัวทิพย์พร้อมด้วยลูกหลานและพี่น้องทุกคน สร้างช้างเงิน ๑ ตัว
ถวายวัดพระธาตุหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน)
ไว้ตราบเท่าพระพุทธศาสนาได้ ๕,๐๐๐ ปี
และขอเป็นปัจจัยไปสู่ยังพระนิพพาน
สัปคับ ฉลุจากแผ่นเงิน ประดิษฐานพระพุทธรูป จำนวน ๒ องค์ กางกั้นด้วยฉัตรเงิน ๕ ชั้น พระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น มีจารึกดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ ด้านซ้าย ความว่า “ศรัทธาเจ้าสายแก้วเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุคน ก็ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจ๊ะตะกะ ๕,๐๐๐ วัสสา
องค์ที่ ๒ ด้านขวา ความว่า “ศรัทธาเจ้ากาบคำเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุกคน ก้ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจูจ๊ตะกะ ๕,๐๐๐ พระวัสสา ดีหลีแด่เต๊อะ
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ช้างยืนแท่นแกะสลักจากไม้บุด้วยเงิน
ซึ่งการบุ หมายถึงการตี การแผ่ การกดทับ
โดยการเอาโลหะที่มีลักษณะบางๆ ทำการหุ้มของบางสิ่งเข้าไว้
หรือการตีให้เข้ารูป โดยช่างอาจจะเลือกโลหะมีค่าชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเช่น
ทองและเงิน แผ่ให้เป็นแผ่น นำมาหุ้มชิ้นงานที่แกะสลักจากไม้
จากนั้นตกแต่งให้เข้ารูปและสลักเป็นลวดลายตามต้องการ
ตัวช้างมีเครื่องประดับประดอบด้วย
-ปกกระพองคือผ้าปิดด้านหน้าหัวช้าง แขวนกระดิ่ง
-ผ้าคลุมหลังทำจากผ้าตาด ปักประดับด้วยแผ่นเงิน ดิ้น และเลื่อมโลหะ
ชายผ้าห้อยพู่สีเขียวและสีแดง คงจำลองมาจากเครื่องประดับช้างที่มีการใช้จริงในขณะนั้น
ด้านบนมีสัปคับเงินประดิษฐานพระพุทธรูป กางกั้นด้วยฉัตรปรุเงิน ๕ ชั้น
ซึ่งในแต่ละส่วนล้วนมีจารึกระบุปีที่สร้าง ในปี พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๖๘ เมื่อแล้วเสร็จคงนำมาประกอบกันแล้วถวายแก่วัดพระธาตุหริภุญชัยเพื่อเป็นพุทธบูชา
ช้างทรงเครื่องพร้อมสับคัปประดิษฐานพระพุทธรูปเชือกนี้ ปรากฏจารึกอักษรธรรมล้านนาอยู่หลายแห่งที่ระบุถึงผู้สร้างถวาย ในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
แผ่นเงินที่ฐาน มีจารึกความว่า
“จุลสักราชได้ ๑๒๘๖ ตั๋วปี กาบไจ้ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวัน ๑ ไตยรวงเหม้า ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ปะถะมูลศรัทธา แม่เจ้าบัวติ๊บเป๋นเค้า พร้อมกับด้วยลุกหลาน ปี่น้อง จุผู้จุคน ก็ได้สร้างยังรูปจ๊างเงินตั๋ว ๑ มาถวายเปนตานกับพระวิหารวัดหลวงลำพูนตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสาดีหลี ขอจุ่งจักเป็นพระก้ำยังศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ตราบถึงยัง แก้วยอดพระนิปปานเจ้าจิ่ม เต๊อะ
เรียบเรียงเป็นข้อความปัจจุบันได้ว่า
เจ้าแม่บัวทิพย์พร้อมด้วยลูกหลานและพี่น้องทุกคน สร้างช้างเงิน ๑ ตัว
ถวายวัดพระธาตุหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน)
ไว้ตราบเท่าพระพุทธศาสนาได้ ๕,๐๐๐ ปี
และขอเป็นปัจจัยไปสู่ยังพระนิพพาน
สัปคับ ฉลุจากแผ่นเงิน ประดิษฐานพระพุทธรูป จำนวน ๒ องค์ กางกั้นด้วยฉัตรเงิน ๕ ชั้น พระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น มีจารึกดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ ด้านซ้าย ความว่า “ศรัทธาเจ้าสายแก้วเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุคน ก็ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจ๊ะตะกะ ๕,๐๐๐ วัสสา
องค์ที่ ๒ ด้านขวา ความว่า “ศรัทธาเจ้ากาบคำเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุกคน ก้ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจูจ๊ตะกะ ๕,๐๐๐ พระวัสสา ดีหลีแด่เต๊อะ
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 561 ครั้ง)