...

แผงพระพิมพ์
แผงพระพิมพ์
ศิลปะล้านนา
พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
สูง ๑๒๐  ซม. ฐานกว้าง ๔๓ ซม.
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
-พระพิมพ์ ประติมากรรมพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ มีขนาดเล็ก สร้างโดยการนำวัตถุเช่น ดิน โลหะ มากดหรือหล่อลงแม่พิมพ์สร้างขึ้นสำหรับผู้แสวงบุญเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถาน ๔ นำกลับไปบูชา ต่อมาได้นิยมสร้างขึ้นสำหรับบรรจุกรุเพื่อเป็นการสืบพระศาสนา การสร้างพระพิมพ์ถือเป็นการสร้างบุญกุศลอย่างมหาศาลและไม่สิ้นเปลืองทุนทรัพย์ในการสร้างมากมาย หากเป็นบุคคลมีฐานะมักสร้างด้วยโลหะมีค่า เช่น เงิน ทอง หากเป็นบุคคลทั่วไปก็มักสร้างด้วยดิน และโลหะที่มีค่าน้อย นอกจากนี้ในคติของทางภาคเหนือยังเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุที่ต่างกัน ก็ได้รับบุญกุศลมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัสดีที่ใช้สร้างนั้นด้วย
-แผงพิมพ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย  
แผงไม้ทำเป็นทรงปราสาท ทาชาดปิดทอง กรอบซุ้มลดหลั่นกัน ๓ ชั้น มียอดแหลม
ขอบแกะสลักเป็นรูปนาค แผงด้านล่าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ทำจากรักสมุกรวมที่ประดิษฐานในชั้นหลังคากรอบซุ้ม รวมทั้งสิ้น ๑๘ องค์
แต่ละองค์แทรกด้วยด้วยลายดอกไม้ ๘ กลีบประดับอยู่  
การประดับพระพุทธรูปจำนวน ๑๘ องค์นี้ยังไม่พบคติความเชื่อในการสร้างที่แน่ชัด
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นจำนวนของพระอดีตพุทธเจ้าที่มีเป็นจำนวนมาก
หรือหมายถึงจำนวนของเจ้าศรัทธาที่ร่วมกันสร้างแผงพระพิมพ์นี้
ซึ่งเป็นงานพุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นทางเชิงช่างเมืองลำพูน
แสดงถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา
อ้างอิง
กรมศิลปากร: ศัพทานุกรมโบราณคดี กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐.
บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.
ยุทธภูมิ มั่นตรง. “การศึกษาพระพิมพ์แผงไม้ในล้านนา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๘





(จำนวนผู้เข้าชม 469 ครั้ง)


Messenger