พระกวาง
พระพิมพ์เมืองลำพูน
พระกวางศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
ดินเผากว้าง ๑๖ ซม. สูง ๑๓ ซม.
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
-พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยมทรงสูง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานสี่เหลี่ยมเป็นชั้นๆ ยกเก็จตรงกลางฐานประดับลายเม็ดปะคำ รอบพระเศียรมีประภามณฑลโค้งแหลม ขนาบข้างด้วยพระสาวกนั่งขัดสมาธิ เบื้องหลังพระพุทธรูปประธานเป็นอาคารทรงปราสาท ขนาบข้างด้วยยอดปราสาทขนาดเล็ก ๒ ข้าง
-ฐานด้านล่างทำเป็นรูปกวางหมอบ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพระพิมพ์ในลักษณะนี้ ของกลุ่มผู้ศึกษาพระพิมพ์ว่า พระกวาง พบทั่วไปในจังหวัดลำพูน เช่น วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้ และเวียงท่ากานในจังหวัดเชียงใหม่ จัดอยู่ในกลุ่มพระพิมพ์ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระกลีบบัว และพระกล้วย
อ้างอิง
ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขตจังหวัดลำพูนก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๖.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๗.
พระกวางศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
ดินเผากว้าง ๑๖ ซม. สูง ๑๓ ซม.
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
-พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยมทรงสูง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานสี่เหลี่ยมเป็นชั้นๆ ยกเก็จตรงกลางฐานประดับลายเม็ดปะคำ รอบพระเศียรมีประภามณฑลโค้งแหลม ขนาบข้างด้วยพระสาวกนั่งขัดสมาธิ เบื้องหลังพระพุทธรูปประธานเป็นอาคารทรงปราสาท ขนาบข้างด้วยยอดปราสาทขนาดเล็ก ๒ ข้าง
-ฐานด้านล่างทำเป็นรูปกวางหมอบ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพระพิมพ์ในลักษณะนี้ ของกลุ่มผู้ศึกษาพระพิมพ์ว่า พระกวาง พบทั่วไปในจังหวัดลำพูน เช่น วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้ และเวียงท่ากานในจังหวัดเชียงใหม่ จัดอยู่ในกลุ่มพระพิมพ์ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระกลีบบัว และพระกล้วย
อ้างอิง
ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขตจังหวัดลำพูนก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๖.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 1173 ครั้ง)