จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ. ๑๓
จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ. ๑๓
จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ.๑๓ ตามประวัติกล่าวว่าพบที่วัดแสนข้าวห่อ (ร้าง) เป็นบริเวณด้านหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยอันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ในปัจจุบัน ลักษณะจารึกเป็นแท่งสี่เหลี่ยมทำจากหินทรายสีแดง สูง ๑๒๘ ซม. กว้าง ๔๐ ซม. หนา ๔๐ ซม. สภาพชำรุด ข้อความจารึกไม่สมบูรณ์ ปรากฏจารึกอักษรฝักขาม ภาษาไทย เพียง ๒ ด้าน ด้านที่แรก มีจำนวน ๑๔ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓ บรรทัด
เนื้อหาจารึกหลักนี้แตกต่างจากจารึหลักอื่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการพระศาสนากล่าวถึงเรื่องราวของการสร้างวัดวาอาราม สร้างพระพระพุทธรูปและถวายผู้คน สิ่งของ แก่พระอาราม ในเนื้อหาได้กล่าวถึงการกระทำสัตย์ปฏิญาณ ที่พระมหากษัตริย์ทรงรับสั่ง และทรงรับคำสั่งจากพระเชษฐาเกี่ยวกับราชสมบัติ และมีข้อความตอนท้ายที่กล่าวถึงหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน และด้านที่ ๒ ที่มีตอนท้ายกล่าวขอให้เทวดามาอนุโมทนาในการกระทำวรสัตยาธิษฐาน ลักษณะและรูปแบบอักษรที่ใช้จารึกนั้น กำหนดอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
อ้างอิง
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
จารึกหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน ลพ.๑๓ ตามประวัติกล่าวว่าพบที่วัดแสนข้าวห่อ (ร้าง) เป็นบริเวณด้านหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยอันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ในปัจจุบัน ลักษณะจารึกเป็นแท่งสี่เหลี่ยมทำจากหินทรายสีแดง สูง ๑๒๘ ซม. กว้าง ๔๐ ซม. หนา ๔๐ ซม. สภาพชำรุด ข้อความจารึกไม่สมบูรณ์ ปรากฏจารึกอักษรฝักขาม ภาษาไทย เพียง ๒ ด้าน ด้านที่แรก มีจำนวน ๑๔ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓ บรรทัด
เนื้อหาจารึกหลักนี้แตกต่างจากจารึหลักอื่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการพระศาสนากล่าวถึงเรื่องราวของการสร้างวัดวาอาราม สร้างพระพระพุทธรูปและถวายผู้คน สิ่งของ แก่พระอาราม ในเนื้อหาได้กล่าวถึงการกระทำสัตย์ปฏิญาณ ที่พระมหากษัตริย์ทรงรับสั่ง และทรงรับคำสั่งจากพระเชษฐาเกี่ยวกับราชสมบัติ และมีข้อความตอนท้ายที่กล่าวถึงหงสาวดีศรีสัตยาธิษฐาน และด้านที่ ๒ ที่มีตอนท้ายกล่าวขอให้เทวดามาอนุโมทนาในการกระทำวรสัตยาธิษฐาน ลักษณะและรูปแบบอักษรที่ใช้จารึกนั้น กำหนดอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
อ้างอิง
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 780 ครั้ง)