พระเปิม
พระเปิม
พระเปิม เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน
คำว่าเปิม ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า แบน
พระเปิม ส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างราว ๒.๕- ๓ เซนติเมตร
สูง ๔ เซนติเมตร คล้ายกับพระคงซึ่งเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย
พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัว รองรับด้วยแนวเส้นตรง ๒ - ๓ เส้น เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระเปิม จะแตกต่างไปจากพระคงคือ พระพักตร์จะชัดเจนกว่า และไม่มีเส้นประภาวลี หรือรัศมีรอบพระวรกาย มีชายสบงแผ่ออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลมออกมาระหว่างพระเพลา ลักษณะการประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชรที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีรูปแบบจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะที่ปรากฏในพระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
พระเปิม ข้อมูลส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่าพบที่กรุวัดดอนแก้ว ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่บริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว ตรงข้ามแม่น้ำกวง หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย ปรากฏในตำนานว่าเป็นที่พระนางจามเทวีให้สร้างขึ้น เรียกว่า วัดอรัญญิกรัมการาม ซึ่งพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก อักษรมอญโบราณ และพระพุทธรูปหินทรายศิลปะหริภุญไชย
อ้างอิง
บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗
อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.
พระเปิม เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน
คำว่าเปิม ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า แบน
พระเปิม ส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างราว ๒.๕- ๓ เซนติเมตร
สูง ๔ เซนติเมตร คล้ายกับพระคงซึ่งเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย
พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัว รองรับด้วยแนวเส้นตรง ๒ - ๓ เส้น เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระเปิม จะแตกต่างไปจากพระคงคือ พระพักตร์จะชัดเจนกว่า และไม่มีเส้นประภาวลี หรือรัศมีรอบพระวรกาย มีชายสบงแผ่ออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลมออกมาระหว่างพระเพลา ลักษณะการประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชรที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีรูปแบบจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะที่ปรากฏในพระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
พระเปิม ข้อมูลส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่าพบที่กรุวัดดอนแก้ว ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่บริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว ตรงข้ามแม่น้ำกวง หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย ปรากฏในตำนานว่าเป็นที่พระนางจามเทวีให้สร้างขึ้น เรียกว่า วัดอรัญญิกรัมการาม ซึ่งพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก อักษรมอญโบราณ และพระพุทธรูปหินทรายศิลปะหริภุญไชย
อ้างอิง
บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗
อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 17696 ครั้ง)