วันคล้ายวันถึงแก่พิราลั เจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐
๕ พฤศจิกายน
วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐
มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ นามเดิม เจ้าน้อยจักรคำ
สมภพ ณ วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ที่คุ้มหลวงนครลำพูน เป็นโอรสองค์ที่ ๓
ของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๙
กับเจ้าแม่รถแก้ว
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมาโดยลำดับ ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งพระยาวังขวา เจ้าบุรีรัตน ตามลำดับ
เมื่อเจ้าอินทยงยศโชติถึงแก่พิราลัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
พระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔
มีราชทินนามว่า
"เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้านครลำพูน"
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลในจังหวัดลำพูนมากมาย เช่น ได้ประทานที่ดินสำหรับสร้างโรงเรียนจักรคำคณาทร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประทานเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างสนามบินลำพูน จำนวน ๑๕๖ ไร่
ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ได้เตรียมการรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ เลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาทรงสักการะพระธาตุหริภุญชัยและพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก(เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก) แก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานมณฑลพายัพ ร่วมกับพระยาราชนุกูลวิบูลย์ภักดี
(อวบ เปาโรหิตย์) นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือ ภายหลังได้ย้ายออกมาตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยในปัจจุบัน)
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้เริ่มประชวรด้วยโรคเนื้องอกในประเพาะปัสสาวะ
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ (โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่) ได้รักษาจนสุดความสามารถ
จึงได้ถวายคำแนะนำให้เสด็จไปรักษาพระอาการที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการดูแลจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และคณะรัฐมนตรี ต่างไปเยี่ยมอาการประชวรอยู่เสมอ
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทราบว่าอาการประชวรนี้ไม่อาจรักษาหายได้
จึงมีความประสงค์จะกลับมารับการรักษาที่คุ้มหลวงลำพูน แ
ละได้ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ สิริชันษาได้ ๖๘ ปี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้ใหสำนักพระราชวังจัดเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และพระราชทานเพลิง ณ สุสานบ้านหลวย จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ นับว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือองค์สุดท้ายที่ถึงแก่พิราลัย
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล ณ ลำภูน (ปัจจุบันใช้คำว่า ณ ลำพูน) เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า na Lambhun เมื่อ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
อ้างอิง
จ ค นะ ลำพูน ตัวตายดีกว่าชื่อตาย. พิมพ์แจกไนงานพระราชทานเพลิงสพ พลตรี เจ้าจักรคำขจรสักดิ เจ้าผู้ครองนครลำพูน นะ เมรุสุสาน นะ บ้านหลวย ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๖. พระนคร: พระจันท, ๒๔๘๖.
พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.
วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐
มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ นามเดิม เจ้าน้อยจักรคำ
สมภพ ณ วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ที่คุ้มหลวงนครลำพูน เป็นโอรสองค์ที่ ๓
ของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๙
กับเจ้าแม่รถแก้ว
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมาโดยลำดับ ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งพระยาวังขวา เจ้าบุรีรัตน ตามลำดับ
เมื่อเจ้าอินทยงยศโชติถึงแก่พิราลัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
พระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔
มีราชทินนามว่า
"เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้านครลำพูน"
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลในจังหวัดลำพูนมากมาย เช่น ได้ประทานที่ดินสำหรับสร้างโรงเรียนจักรคำคณาทร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประทานเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างสนามบินลำพูน จำนวน ๑๕๖ ไร่
ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ได้เตรียมการรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ เลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาทรงสักการะพระธาตุหริภุญชัยและพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก(เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก) แก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานมณฑลพายัพ ร่วมกับพระยาราชนุกูลวิบูลย์ภักดี
(อวบ เปาโรหิตย์) นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือ ภายหลังได้ย้ายออกมาตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยในปัจจุบัน)
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้เริ่มประชวรด้วยโรคเนื้องอกในประเพาะปัสสาวะ
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ (โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่) ได้รักษาจนสุดความสามารถ
จึงได้ถวายคำแนะนำให้เสด็จไปรักษาพระอาการที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการดูแลจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และคณะรัฐมนตรี ต่างไปเยี่ยมอาการประชวรอยู่เสมอ
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทราบว่าอาการประชวรนี้ไม่อาจรักษาหายได้
จึงมีความประสงค์จะกลับมารับการรักษาที่คุ้มหลวงลำพูน แ
ละได้ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ สิริชันษาได้ ๖๘ ปี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้ใหสำนักพระราชวังจัดเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และพระราชทานเพลิง ณ สุสานบ้านหลวย จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ นับว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือองค์สุดท้ายที่ถึงแก่พิราลัย
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล ณ ลำภูน (ปัจจุบันใช้คำว่า ณ ลำพูน) เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า na Lambhun เมื่อ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
อ้างอิง
จ ค นะ ลำพูน ตัวตายดีกว่าชื่อตาย. พิมพ์แจกไนงานพระราชทานเพลิงสพ พลตรี เจ้าจักรคำขจรสักดิ เจ้าผู้ครองนครลำพูน นะ เมรุสุสาน นะ บ้านหลวย ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๖. พระนคร: พระจันท, ๒๔๘๖.
พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 1718 ครั้ง)