พระพุทธรูป สำริด
พระพุทธรูป
สำริด
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
--ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ขนาดกว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๓ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระเกตุมาลาและพระอุษณีษะ พระกรรณด้านขวา หายไปเหลือเพียงส่วนพระเศียรด้านหน้า พระพักตร์ เรื่อยมาจนถึงพระอังสาและพระอุระ ขมวดพระเกศาและไรพระศกขนาดเล็ก พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระขนงโค้ง พระเนตรเรียวปลายตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาวปลายโค้งงอนออก ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกัน
--ชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่มีความคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะการครองจีวรที่มีชายสังฆาฏิพับทบกันเป็นริ้วซ้อนกัน คล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และในศิลปะล้านนาเองก็มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีชายสังฆาฏิในลักษณะนี้คือ พระเจ้าดวงดี พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดดวงดี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การกำหนดอายุพระพุทธรูปนี้กำหนดไว้อย่างน้อยช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงที่พระยากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา ทำให้เกิดการนำรูปแบบทางศิลปะมาปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๑ หรือราว ๖๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. รายงานการวิจัย เมืองลำพูนจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปะและเอกสารทางประวัติศาสตร์ เสนอต่อ สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.), ๒๕๕๒.
สำริด
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
--ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ขนาดกว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๓ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระเกตุมาลาและพระอุษณีษะ พระกรรณด้านขวา หายไปเหลือเพียงส่วนพระเศียรด้านหน้า พระพักตร์ เรื่อยมาจนถึงพระอังสาและพระอุระ ขมวดพระเกศาและไรพระศกขนาดเล็ก พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระขนงโค้ง พระเนตรเรียวปลายตวัดขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาวปลายโค้งงอนออก ทรงครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกัน
--ชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาที่มีความคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะการครองจีวรที่มีชายสังฆาฏิพับทบกันเป็นริ้วซ้อนกัน คล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และในศิลปะล้านนาเองก็มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีชายสังฆาฏิในลักษณะนี้คือ พระเจ้าดวงดี พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดดวงดี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ การกำหนดอายุพระพุทธรูปนี้กำหนดไว้อย่างน้อยช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงที่พระยากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา ทำให้เกิดการนำรูปแบบทางศิลปะมาปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๑ หรือราว ๖๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. รายงานการวิจัย เมืองลำพูนจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปะและเอกสารทางประวัติศาสตร์ เสนอต่อ สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.), ๒๕๕๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 2120 ครั้ง)