ลูกปัดหินสีฟ้าและสีน้ำเงิน
ลูกปัดหินสีฟ้าและสีน้ำเงิน
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
พบจากการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
_____________________________________________________
++ลูกปัด วัตถุที่มีการเจารูไว้สำหรับร้อยด้ายหรือเชือก ส่วนใหญ่ ใช้เป็นเครื่องประดับ มีทั้งที่เป็นรูปทรงกลม เหลี่ยม และทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น หิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย โลหะ พบควบคู่กับหลักฐานทางโบราณคดีชนิดอื่นๆ ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
++แก้วคือผลิตภัณฑ์จากอนินทรีวัตถุที่ได้มาจากการหลอม ซึ่งเมื่อเย็นจะอยู่ในสภาพแข็ง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน หินฟันม้า และเติมออกไซด์ของโลหะต่างๆ เพื่อให้เกิดสี โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันเพื่อให้ได้นำแก้วที่เป็นของเหลว และปรับอุณหภูมิลดลงจนมีความหนืดและสามารถขึ้นรูปได้
++ลูกปัดแก้วส่วนใหญ่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคกลาง ราว ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล หรือเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มีหลายสี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีดำ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอินเดีย ศรีลังกา อียิปต์ และจีน
++จากการศึกษาของนักโบราณคดีได้กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือสมัยหริภุญไชย ลูกปัดแก้วกลุ่มสีฟ้า สีน้ำเงิน ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อาจเป็นสิ่งของที่รับมาจากชุมชนภายนอก ผ่านการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าในดินแดนที่ไกลออกไป อย่างเช่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทสไทยที่ตำนาน เอกสารสมัยหลังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรับวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีบริเวณล่มแม่น้ำปิงตอนบน ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง
++จากการศึกษาเกี่ยวกับลูกปัดที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลาง ได้พบลูกปัดหลายสี หลายขนาด จัดอยู่ในกลุ่มลูกปัดแบบ Indo -Pacific ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในการแลกเปลี่ยนค้าขายกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การศึกษาจากการทางวิทยาศาสตร์พบว่าลูกปัดแก้วสีฟ้าและสีน้ำเงินนี้ เป็นกลุ่มที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียม ร้อยละ ๑๕ ขึ้นไป พบการผลิตแพร่หลายในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านพรมทินใต้ จ.ลพบุรี แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชบูรณ์ แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด จ.สุโขทัย นอกจากพื้นที่ภาคกลางแล้ว ในภาคเหนือ ที่แหล่งโบราณคดีวัดพระธาตุจอมปิง จ.ลำปาง พบโครงกระดูกมนุษย์และลูกปัดหินสีชนิดต่างๆ รวมถึงสีฟ้า สีน้ำเงิน เป็นจำนวนมาก อาจเป็นชุมชนในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอก จนทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขนาดใหญ่ถึงแม้ว่าจะช้ากว่ากลุ่มเมืองโบราณในสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคกลาง ในขณะที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮยังคงอยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย
++ลูกปัดแก้วสีฟ้า สีน้ำเงิน จากแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ที่พบในหลุมฝังศพปะปนร่วมกับลูกปัดและเครื่องประดับชนิดอื่นๆ เช่น กำไล ตุ้มหู ล้วนเป็นสิ่งของที่รับมาจากวัฒนธรรมภายนอก อันเกิดจากการติดต่อค้าขายกันในชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป เมื่อนำมาฝังร่วมกับศพอาจแสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางสังคมของผู้ตายที่เริ่มมีการจัดระเบียบที่ซับซ้อนมากขึ้นก่อนที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ในสมัยหริภุญไชย
อ้างอิง
ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย ." วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ ๗, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๗: ๕๗๑-๕๘๑.
บัญชา พงษ์พานิช, “ไขความจากรอยลูกปัดในพื้นที่ภาคเหนือ.” เมืองโบราณ ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓: 140-150.
วิชัย ตันกิตติกร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
พบจากการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
_____________________________________________________
++ลูกปัด วัตถุที่มีการเจารูไว้สำหรับร้อยด้ายหรือเชือก ส่วนใหญ่ ใช้เป็นเครื่องประดับ มีทั้งที่เป็นรูปทรงกลม เหลี่ยม และทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น หิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย โลหะ พบควบคู่กับหลักฐานทางโบราณคดีชนิดอื่นๆ ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
++แก้วคือผลิตภัณฑ์จากอนินทรีวัตถุที่ได้มาจากการหลอม ซึ่งเมื่อเย็นจะอยู่ในสภาพแข็ง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน หินฟันม้า และเติมออกไซด์ของโลหะต่างๆ เพื่อให้เกิดสี โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันเพื่อให้ได้นำแก้วที่เป็นของเหลว และปรับอุณหภูมิลดลงจนมีความหนืดและสามารถขึ้นรูปได้
++ลูกปัดแก้วส่วนใหญ่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคกลาง ราว ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล หรือเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มีหลายสี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีดำ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอินเดีย ศรีลังกา อียิปต์ และจีน
++จากการศึกษาของนักโบราณคดีได้กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือสมัยหริภุญไชย ลูกปัดแก้วกลุ่มสีฟ้า สีน้ำเงิน ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อาจเป็นสิ่งของที่รับมาจากชุมชนภายนอก ผ่านการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าในดินแดนที่ไกลออกไป อย่างเช่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทสไทยที่ตำนาน เอกสารสมัยหลังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรับวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีบริเวณล่มแม่น้ำปิงตอนบน ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง
++จากการศึกษาเกี่ยวกับลูกปัดที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลาง ได้พบลูกปัดหลายสี หลายขนาด จัดอยู่ในกลุ่มลูกปัดแบบ Indo -Pacific ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในการแลกเปลี่ยนค้าขายกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การศึกษาจากการทางวิทยาศาสตร์พบว่าลูกปัดแก้วสีฟ้าและสีน้ำเงินนี้ เป็นกลุ่มที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียม ร้อยละ ๑๕ ขึ้นไป พบการผลิตแพร่หลายในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านพรมทินใต้ จ.ลพบุรี แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชบูรณ์ แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด จ.สุโขทัย นอกจากพื้นที่ภาคกลางแล้ว ในภาคเหนือ ที่แหล่งโบราณคดีวัดพระธาตุจอมปิง จ.ลำปาง พบโครงกระดูกมนุษย์และลูกปัดหินสีชนิดต่างๆ รวมถึงสีฟ้า สีน้ำเงิน เป็นจำนวนมาก อาจเป็นชุมชนในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอก จนทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขนาดใหญ่ถึงแม้ว่าจะช้ากว่ากลุ่มเมืองโบราณในสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคกลาง ในขณะที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮยังคงอยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย
++ลูกปัดแก้วสีฟ้า สีน้ำเงิน จากแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ที่พบในหลุมฝังศพปะปนร่วมกับลูกปัดและเครื่องประดับชนิดอื่นๆ เช่น กำไล ตุ้มหู ล้วนเป็นสิ่งของที่รับมาจากวัฒนธรรมภายนอก อันเกิดจากการติดต่อค้าขายกันในชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป เมื่อนำมาฝังร่วมกับศพอาจแสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางสังคมของผู้ตายที่เริ่มมีการจัดระเบียบที่ซับซ้อนมากขึ้นก่อนที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ในสมัยหริภุญไชย
อ้างอิง
ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย ." วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ ๗, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๗: ๕๗๑-๕๘๑.
บัญชา พงษ์พานิช, “ไขความจากรอยลูกปัดในพื้นที่ภาคเหนือ.” เมืองโบราณ ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓: 140-150.
วิชัย ตันกิตติกร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 5787 ครั้ง)