ปราสาททามจาน
ปราสาททามจาน
ปราสาททามจาน องค์ปราสาทประธานสร้างด้วยศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันออกเป็นประตูทางเข้า ส่วนอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย ทับหลังเหนือกรอบประตูทางทิศใต้สลักลวดลายเสร็จเพียงครึ่งเดียว เป็นรูปหน้ากาลกำลังคายท่อนพวงมาลัย โดยใช้มือยึดจับพวงมาลัยลายใบไม้ม้วน เหนือหน้ากาลมีรูปบุคคลนั่งสมาธิ ลักษณะเป็นพระพุทธรูป มีบุคคลสองคนนั่งพนมมืออยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีอาคารวิหารหรือบรรณาลัย 1 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก แนวกำแพงแก้ว สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบปราสาทประธานและอาคารหรือบรรณาลัยไว้ โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางด้านหน้าปราสาทประธาน ระหว่างโคปุระกับปราสาทมีแนวทางเดินต่อเนื่องถึงกัน สร้างด้วยศิลาแลง ที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของโคปุระมีแนวทางเดินสร้างออกจากโคปุระยาวต่อเนื่องไปถึงบริเวณหนองน้ำใหญ่ ด้านนอกของโบราณสถานที่บริเวณมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือนอกแนวกำแพง มีสระน้ำ 1 สระ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเรียงขอบสระด้วยศิลาแลงโดยรอบทั้งสี่ด้าน
จากลักษณะรูปแบบและแผนผังดังที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ปราสาททามจาน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยาศาลา หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 ดังปรากฏหลักฐานในจารึกที่กล่าวถึงพระองค์ทรงโปรดให้สร้าง อโรคยาศาลา ขึ้นทั้งหมด 102 แห่ง ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์เพื่อบำบัดทุกข์ของประชาชน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน
1. ปราสาทประธาน เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.90 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีฐานของส่วนห้องมุขเชื่อมต่อออกไปด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ส่วนฐานทั้งหมดตกแต่งขอบฐานเป็นบัวคว่ำ-หน้ากระดาน-บัวหงาย และก่อเรียงเป็นขั้นบันไดทั้งสามด้าน (ทิศเหนือ, ทิศตะวันตกและทิศใต้) กว้าง 0.90 เมตร มีขั้นบันได 3 ขั้น ฐานนี้รองรับชั้นเรือนธาตุของปราสาทประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร สูง 4.5 เมตร ก่อลักษณะเพิ่มมุม ผนังด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก ก่อเรียงเป็นประตูหลอก ไม่เห็นหลักฐานหินที่ก่อเรียงเป็นส่วนกรอบประตู แต่ประกอบด้วยเสาประดับกรอบประตูทั้งสองข้างและทับหลังที่วางเหนือเสาประดับกรอบประตู ส่วนบานประตูหลอกก่อด้วยศิลาแลงแล้วสลักเป็นสันฝาผิดบานประตู ส่วนทับหลังเหนือกรอบประตูของปราสาทประธานมีภาพสลักเฉพาะที่ด้านทิศใต้เท่านั้น เป็นภาพหน้ากาลอยู่ตรงกึ่งกลางภาพ และมีภาพบุคคลนั่งพนมมืออยู่ทางด้านขวาของหน้ากาล ส่วนทางซ้ายของหน้ากาลยังไม่สลักภาพ ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งเป็นห้องมุขนั้น เป็นประตูทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะที่อยู่ด้านในของปราสาทประธาน ผนังห้องมุขด้านทิศใต้ก่อเรียงหินเป็นช่องหน้าต่างและกรอบหน้าต่างทำจากหินทรายเช่นกัน ส่วนผนังมุขด้านทิศเหนือไม่มีข่องหน้าต่าง ด้านบนของห้องมุขทำเป็นหลังคาโค้งโดยการก่อเรียงหินแบบซ้อนเหลื่อมกันจนถึงสันหลังคา ส่วนเรือนยอดหรือชั้นยอดของปราสาทประธาน ก่อเรียงหินในลักษณะเป็นชั้นลดเรียงซ้อนหลั่นกันขึ้นไปอีกสี่ชั้นเป็นชั้นหลังคาขององค์ปราสาทประธาน หลักฐานชั้นบัวยอดของปราสาทประธานที่พบจากการขุดแต่ง ซึ่งได้ทดลองประกอบและนำขึ้นไปติดบนยอดของปราสาทประธานเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทที่สมบูรณ์
2. ศาลาจัตุรมุข บริเวณด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบจัตุรมุข ก่อเรียงหินเชื่อมติดกับส่วนฐานของห้องมุขด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.50 เมตร ย่อมุมทั้งสี่มุมเข้าไปด้านละ 0.50 เมตร ที่ขอบโดยรอบก่อเรียงหินสูงกว่าพื้นด้านใน 0.25 เมตร มีหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 0.30 เมตร ที่มุมทุกมุม พื้นด้านในก่อเรียงด้วยหินทรายสลับกับศิลาแลง
3. โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าสู่โบราณสถาน ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบประตูและหน้าต่างทำจากหินทราย แผนผังเป็นรูปกากบาท ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 4.5 เมตร ผนังของโคปุระทั้งสี่ด้านมีสภาพสมบูรณ์แต่ส่วนหลังคาพังทลายลงเกือบทั้งหมดคงเหลือเฉพาะด้านทิศใต้เท่านั้น ประตูทางเข้ามีสองด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งเป็นช่องประตูตรงกัน ประตูด้านทิศตะวันออกเป็นประตูที่ใช้เป็นทางเข้าสู่ภายในซุ้มประตู ก่อเป็นมุขยื่นออกไป ขนาดกว้าง 2 เมตร และประดับหน้าต่างหลอกไว้ที่ผนังทั้งสองข้าง ส่วนประตูด้านทิศตะวันตกเป็นประตูที่เข้าสู่พื้นที่ภายในโบราณสถาน อยู่ภายในกำแพงแก้ว ประตูด้านทิศนี้เป็นประตูติดผนัง ไม่มีมุขยื่นออกมา ลักษณะแผนผังรูปกากบาทของโคปุระ ที่มีแนวยาวในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ทำให้แบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้องตรงกลาง ห้องด้านทิศเหนือ และห้องด้านทิศใต้ ห้องตรงกลางมีขนาด 4x4 เมตร ผนังด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ของห้องตรงกลางนี้มีช่องประตูไปยังห้องด้านทิศเหนือและห้องด้านทิศใต้ ซึ่งมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ส่วนพื้นภายในห้องโคปุระทั้งหมดวางเรียงด้วยศิลาแลง
4. บรรณาลัย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 3.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังของบรรณาลัยด้านทิศตะวันออก มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ยังคงเหลือตั้งแต่ส่วนฐานถึงผนังรับหลังคา และมีการสลักเป็นประตูหลอกไว้ด้วย ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันตกคงสภาพอยู่ได้ด้วยรากไม้ขนาดใหญ่โอบรัดไว้ และผนังด้านทิศใต้พังทลายเกือบหมดเนื่องจากรากไม้ขนาดเล็กแผ่ขยายปกคลุมไปทั่วบริเวณ ทางด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัยยังพบหลักฐานศาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 0.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ฐานศาลานี้ก่อเรียงหินเชื่อมต่อไปยังศาลาจัตุรมุขที่อยู่ด้านหน้าของปราสาทประธาน
5. กำแพงแก้ว ล้อมรอบโบราณสถาน แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 48 เมตร สูง 2 เมตร หนา 0.5 เมตร มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งก่อสร้างเชื่อมต่อออกมาจากโคปุระ ทำให้แบ่งแนวกำแพงแก้วออกเป็นสองส่วน คือ ด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ ซึ้นด้านนี้ยังได้พบหลักฐานการก่อเรียงหินเป็นช่องประตูทางเข้าขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร การก่อสร้างกำแพงแก้ว ก่อเรียงจากชั้นฐานเป็นชั้นฐานบัวแผ่ลดหลั่นกันสามชั้นแล้วจึงก่อเรียงเป็นส่วนกำแพงขึ้นไปจนถึงส่วนสันกำแพง แล้วจึงก่อเรียงเป็นบัวกลุ่มยาวตลอดแนวกำแพง
6. สระน้ำ ตั้งอยู่ด้านนอกโบราณสถาน ห่างจากมุมกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3 เมตร ก่อเรียงศิลาแลงเป็นของสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 18 เมตร ลึก 4 - 5 เมตร โดยก่อศิลาแลงลดหลั่นเป็นขั้นบันไดลงไปสู่ก้นสระ จำนวน 13 - 15 ขั้น แต่ละขั้นสูงประมาณ 25 -30 เซนติเมตร
7. ทางเดินหรือชาลา ด้านทิศตะวันออกของโบราณสถาน ก่อเรียงหินเป็นทางเดินรูปกากบาทสองชั้นที่ด้านทิศตะวันออกของโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้า ทางเดินนี้เป็นแนวตรงไปถึงถนนลูกรังติดกับกุดปราสาทหนองน้ำใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและแทรกสลับหินทราย บริเวณติดกับโคปุระ ก่อเรียงหินเป็นทางเดินขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเรียงหินเป็นชาลารูปกากบาท กว้างด้านละ 7 เมตร จากนั้นลดขนาดทางเดินให้แคบลงจนกว้างเพียง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเป็นชาลารูปกากบาทชั้นที่สอง กว้างด้านละ 7 เมตร ยาวไปจนถึงบริเวณถนน
จากลักษณะรูปแบบและแผนผังดังที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ปราสาททามจาน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยาศาลา หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 ดังปรากฏหลักฐานในจารึกที่กล่าวถึงพระองค์ทรงโปรดให้สร้าง อโรคยาศาลา ขึ้นทั้งหมด 102 แห่ง ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์เพื่อบำบัดทุกข์ของประชาชน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน
1. ปราสาทประธาน เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.90 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีฐานของส่วนห้องมุขเชื่อมต่อออกไปด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ส่วนฐานทั้งหมดตกแต่งขอบฐานเป็นบัวคว่ำ-หน้ากระดาน-บัวหงาย และก่อเรียงเป็นขั้นบันไดทั้งสามด้าน (ทิศเหนือ, ทิศตะวันตกและทิศใต้) กว้าง 0.90 เมตร มีขั้นบันได 3 ขั้น ฐานนี้รองรับชั้นเรือนธาตุของปราสาทประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร สูง 4.5 เมตร ก่อลักษณะเพิ่มมุม ผนังด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก ก่อเรียงเป็นประตูหลอก ไม่เห็นหลักฐานหินที่ก่อเรียงเป็นส่วนกรอบประตู แต่ประกอบด้วยเสาประดับกรอบประตูทั้งสองข้างและทับหลังที่วางเหนือเสาประดับกรอบประตู ส่วนบานประตูหลอกก่อด้วยศิลาแลงแล้วสลักเป็นสันฝาผิดบานประตู ส่วนทับหลังเหนือกรอบประตูของปราสาทประธานมีภาพสลักเฉพาะที่ด้านทิศใต้เท่านั้น เป็นภาพหน้ากาลอยู่ตรงกึ่งกลางภาพ และมีภาพบุคคลนั่งพนมมืออยู่ทางด้านขวาของหน้ากาล ส่วนทางซ้ายของหน้ากาลยังไม่สลักภาพ ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งเป็นห้องมุขนั้น เป็นประตูทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะที่อยู่ด้านในของปราสาทประธาน ผนังห้องมุขด้านทิศใต้ก่อเรียงหินเป็นช่องหน้าต่างและกรอบหน้าต่างทำจากหินทรายเช่นกัน ส่วนผนังมุขด้านทิศเหนือไม่มีข่องหน้าต่าง ด้านบนของห้องมุขทำเป็นหลังคาโค้งโดยการก่อเรียงหินแบบซ้อนเหลื่อมกันจนถึงสันหลังคา ส่วนเรือนยอดหรือชั้นยอดของปราสาทประธาน ก่อเรียงหินในลักษณะเป็นชั้นลดเรียงซ้อนหลั่นกันขึ้นไปอีกสี่ชั้นเป็นชั้นหลังคาขององค์ปราสาทประธาน หลักฐานชั้นบัวยอดของปราสาทประธานที่พบจากการขุดแต่ง ซึ่งได้ทดลองประกอบและนำขึ้นไปติดบนยอดของปราสาทประธานเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทที่สมบูรณ์
2. ศาลาจัตุรมุข บริเวณด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบจัตุรมุข ก่อเรียงหินเชื่อมติดกับส่วนฐานของห้องมุขด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.50 เมตร ย่อมุมทั้งสี่มุมเข้าไปด้านละ 0.50 เมตร ที่ขอบโดยรอบก่อเรียงหินสูงกว่าพื้นด้านใน 0.25 เมตร มีหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 0.30 เมตร ที่มุมทุกมุม พื้นด้านในก่อเรียงด้วยหินทรายสลับกับศิลาแลง
3. โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าสู่โบราณสถาน ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบประตูและหน้าต่างทำจากหินทราย แผนผังเป็นรูปกากบาท ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 4.5 เมตร ผนังของโคปุระทั้งสี่ด้านมีสภาพสมบูรณ์แต่ส่วนหลังคาพังทลายลงเกือบทั้งหมดคงเหลือเฉพาะด้านทิศใต้เท่านั้น ประตูทางเข้ามีสองด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งเป็นช่องประตูตรงกัน ประตูด้านทิศตะวันออกเป็นประตูที่ใช้เป็นทางเข้าสู่ภายในซุ้มประตู ก่อเป็นมุขยื่นออกไป ขนาดกว้าง 2 เมตร และประดับหน้าต่างหลอกไว้ที่ผนังทั้งสองข้าง ส่วนประตูด้านทิศตะวันตกเป็นประตูที่เข้าสู่พื้นที่ภายในโบราณสถาน อยู่ภายในกำแพงแก้ว ประตูด้านทิศนี้เป็นประตูติดผนัง ไม่มีมุขยื่นออกมา ลักษณะแผนผังรูปกากบาทของโคปุระ ที่มีแนวยาวในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ทำให้แบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้องตรงกลาง ห้องด้านทิศเหนือ และห้องด้านทิศใต้ ห้องตรงกลางมีขนาด 4x4 เมตร ผนังด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ของห้องตรงกลางนี้มีช่องประตูไปยังห้องด้านทิศเหนือและห้องด้านทิศใต้ ซึ่งมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ส่วนพื้นภายในห้องโคปุระทั้งหมดวางเรียงด้วยศิลาแลง
4. บรรณาลัย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 3.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังของบรรณาลัยด้านทิศตะวันออก มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ยังคงเหลือตั้งแต่ส่วนฐานถึงผนังรับหลังคา และมีการสลักเป็นประตูหลอกไว้ด้วย ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันตกคงสภาพอยู่ได้ด้วยรากไม้ขนาดใหญ่โอบรัดไว้ และผนังด้านทิศใต้พังทลายเกือบหมดเนื่องจากรากไม้ขนาดเล็กแผ่ขยายปกคลุมไปทั่วบริเวณ ทางด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัยยังพบหลักฐานศาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 0.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ฐานศาลานี้ก่อเรียงหินเชื่อมต่อไปยังศาลาจัตุรมุขที่อยู่ด้านหน้าของปราสาทประธาน
5. กำแพงแก้ว ล้อมรอบโบราณสถาน แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 48 เมตร สูง 2 เมตร หนา 0.5 เมตร มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งก่อสร้างเชื่อมต่อออกมาจากโคปุระ ทำให้แบ่งแนวกำแพงแก้วออกเป็นสองส่วน คือ ด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ ซึ้นด้านนี้ยังได้พบหลักฐานการก่อเรียงหินเป็นช่องประตูทางเข้าขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร การก่อสร้างกำแพงแก้ว ก่อเรียงจากชั้นฐานเป็นชั้นฐานบัวแผ่ลดหลั่นกันสามชั้นแล้วจึงก่อเรียงเป็นส่วนกำแพงขึ้นไปจนถึงส่วนสันกำแพง แล้วจึงก่อเรียงเป็นบัวกลุ่มยาวตลอดแนวกำแพง
6. สระน้ำ ตั้งอยู่ด้านนอกโบราณสถาน ห่างจากมุมกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3 เมตร ก่อเรียงศิลาแลงเป็นของสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 18 เมตร ลึก 4 - 5 เมตร โดยก่อศิลาแลงลดหลั่นเป็นขั้นบันไดลงไปสู่ก้นสระ จำนวน 13 - 15 ขั้น แต่ละขั้นสูงประมาณ 25 -30 เซนติเมตร
7. ทางเดินหรือชาลา ด้านทิศตะวันออกของโบราณสถาน ก่อเรียงหินเป็นทางเดินรูปกากบาทสองชั้นที่ด้านทิศตะวันออกของโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้า ทางเดินนี้เป็นแนวตรงไปถึงถนนลูกรังติดกับกุดปราสาทหนองน้ำใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและแทรกสลับหินทราย บริเวณติดกับโคปุระ ก่อเรียงหินเป็นทางเดินขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเรียงหินเป็นชาลารูปกากบาท กว้างด้านละ 7 เมตร จากนั้นลดขนาดทางเดินให้แคบลงจนกว้างเพียง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเป็นชาลารูปกากบาทชั้นที่สอง กว้างด้านละ 7 เมตร ยาวไปจนถึงบริเวณถนน
ปราสาททามจาน ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
(จำนวนผู้เข้าชม 218 ครั้ง)