#ปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา #จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ปรากฏการใช้งานมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สืบเนื่องถึงปัจจุบัน โดย ประเด็นที่จะหยิบยกมาเล่าในวันนี้ คือ จารึกทั้ง 8 หลัก ที่เราพบจากปราสาทพนมวัน ซึ่งกำหนดอายุสมัยอยู่นช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 นั่นเองครับ
.
จากการดำเนินการบูรณะปราสาทพนมวัน ด้วยวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2543 นั้น เราได้ค้นพบ #จารึก ที่ปราสาทพนมวัน จำนวน 8 หลัก โดยปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา 1 หลัก (จารึกหลักที่ 7) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2 หลัก (จารึกหลักที่ 1 และส่วนอีก 5 หลัก ปัจจุบันยังอยู่ที่ตำแหน่งกรอบประตูตัวข้างของปราสาทประธาน (ดูแผนผังประกอบ)
.
ผลการศึกษาวิเคราะห์และการกำหนดอายุจารึกปราสาทพนมวันจารึกปราสาทพนมวัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
#กลุ่มที่1 ได้แก่ จารึกหลักที่ 1 มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1420 – พ.ศ.1432) และพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ.1432 – พ.ศ.1443)
#กลุ่มที่2 ได้แก่ จารึกหลักที่ 2 และหลักที่ 5 มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1545 – พ.ศ.1593) และ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1593 – พ.ศ.1609)
#กลุ่มที่3 ได้แก่ จารึกหลักที่ 3 จารึกหลักที่ 4 จารึกหลักที่ 6 จารึกหลักที่ 7 และจารึกหลักที่ 8 มีอายุอยู่ในช่วงต้น – กลางพุทธศตวรรษที่ 17 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ.1487 – พ.ศ.1511) พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ.1623 – พ.ศ.1650)
.
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างภาพจารึกและข้อความ พี่นักโบ จึงขออนุญาต นำข้อมูลรายละเอียดจารึกทั้ง 8 หลัก แยกใส่ไว้ในรายละเอียดภาพของแต่ละภาพเลยแล้วกันนะครับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ สามารถกดเข้าไปอ่านได้เลยครับ
.
ด้วยช่วงนี้อยู่ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรมศิลปากร จึงสั่งการให้ปิดแหล่งเรียนรู้ ต่างๆ ในสังกัดทั้งหมด อาทิ โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้นแล้ว พี่นักโบ ก็ขอเชิญชวนทุกๆคน มาท่องเที่ยวและเรียนรู้กันโบราณสถานปราสาทพนมวันแห่งนี้ รวมไปถึงแหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากรอื่นๆ กันอีกครั้งครับ
.
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
.
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
พงศ์ธันว์ บรรทม. ปราสาทพนมวัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมา. 2544.(จำนวนผู้เข้าชม 847 ครั้ง)